วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง (ตอนที่ 2/2)


ต่อเนื่องจาก ตอนที่แล้ว ที่เราได้ทำความรู้จักกับคำจำกัดความของไฟฟ้าแรงสูง ประโยชน์ และโทษกันไปพอสมควรแล้ว ต่อไปในตอนที่ 2 นี้ เราลองมาดูข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง ที่มีทั้งสถิติการเกิดอุบัติเหตุ อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง และอื่นๆ สามารถอ่านได้จากบทความนี้เลยครับ

8. เราจะทราบได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีระดับแรงดันเท่าใด?
เรามีวิธีสังเกตง่ายๆ ว่าสายไฟฟ้าแรงสูงที่เราเห็นนั้นมีระดับแรงดันเท่าไหร่ ด้วยการนับจำนวนชั้นของลูกถ้วยที่ใช้ยึดจับสายไฟฟ้าอยู่ โดยสามารถเทียบกับตารางได้ดังนี้




9. ในพื้นที่จ่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง มีสถิติของอุบัติภัยเนื่องจากไฟฟ้าแรงสูง มากน้อยเพียงใด?
สถิติการเกิดอุบัติภัยอันมีสาเหตุมาจากไฟฟ้าแรงสูง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่การจ่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวงในปีที่ผ่านมามีดังนี้

10. อุบัติภัยเนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอะไร?
จากสถิติที่ผ่านมา อุบัติเหตุจากไฟฟ้าแรงสูง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง โดยมีสาเหตุมาจากความประมาท หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถึงภัยอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง ทำให้ขาดความระมัดระวังระหว่างการทำงาน จนเกิดอุบัติเหตุขึ้น

11. ลักษณะงานที่เสี่ยงต่ออันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงมีอะไรบ้าง?
ลักษณะงานที่มีโอกาสเกิดอุบัติภัยจากไฟฟ้าแรงสูง ก็ได้แก่ งานประเภทก่อสร้าง เช่น งานก่อสร้างอาคาร สะพานลอย ทางด่วน งานซ่อมและปรับปรุงสาธารณูปโภคต่างๆ งานตอกเสาเข็ม ปั้นจั่น รถเครน

นอกจากนี้ยังมีงานประเภทการติดตั้ง เช่น งานติดตั้งสายสื่อสาร งานติดตั้งป้ายโฆษณา เสาอากาศ ทีวี เหล็กดัด กระจก อะลูมิเนียม ไฟประดับ เป็นต้น



ขอบคุณภาพประกอบจาก thaidphoto

12. ข้อควรระวังในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง
มาจนถึงข้อนี้ หลายท่านคงอยากทราบว่า ถ้าเราต้องทำงานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้าแรงสูง เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร ลองอ่านข้อควรระวัง 15 ข้อนี้ได้เลยครับ

12.1 ห้ามทำนั่งร้านค้ำหรือคร่อมใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่มีฉนวนปิดคลุมขณะที่ทำการก่อสร้างหรือติดตั้งป้ายโฆษณา
12.2 ห้ามทำงานใกล้สายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง ในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง
12.3 ห้ามฉีด พ่น เทหรือราดน้ำใดๆ ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง เช่น การรดน้ำต้นไม้ การฉีดน้ำด้วยสายยาง การต่อท่อน้ำทิ้งไหลออกจากระเบียงหรือกันสาด
และสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ละอองน้ำมักจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ทำให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วที่ฉนวนไฟฟ้า อาจเป็นเหตุทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ในบางกรณีอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดได้ด้วย
12.4 ห้ามสอยสิ่งใดๆ ทุกชนิดที่ติดอยู่ที่สายไฟฟ้าแรงสูง เช่น ว่าว สายป่าน ลูกโป่งสวรรค์ เป็นต้น
12.5 ห้ามจับ ดึง หรือแกว่งลวดสลิงเหล็กที่ใช้ยึดเสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณโคนเสาไฟฟ้าเพราะอาจจะไปกระทบสายไฟฟ้าแรงสูง หรือทำให้มีไฟฟ้ารั่วลงมาได้
12.6 ห้ามไต่หรือขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าทุกชนิดทุกกรณี
12.7 ห้ามยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือนำวัสดุอื่นใดเข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงมากกว่าระยะที่กำหนด
12.8 ไม่ควรติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะนอกจากจะทำให้รับสัญญาณได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากมีสัญญาณรบกวนแล้ว ยังอาจเกิดอุบัติเหตุถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดในระหว่างทำการติดตั้งอีกด้วย
และในวันข้างหน้า หากเสาอากาศล้มลงมาแตะสายไฟฟ้าแรงสูงด้วยลมพายุหรือด้วยเหตุอื่นใดก็ตาม นอกจาก เครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านจะชำรุดแล้ว บุคคลภายในบ้านอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง และยังทำให้มีไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างอีกด้วย
12.9 ผู้เป็นเจ้าของป้ายชื่อสถานที่ประกอบการที่ติดตั้งตามอาคาร และผู้ดำเนินการติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่บนดาดฟ้าอาคาร หรือริมถนนใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ต้องหมั่นดูแลตรวจสอบความแข็งแรงของฐาน และโครงเหล็กที่ใช้ติดตั้งป้ายโฆษณา
12.10 การก่อสร้างอาคาร บ้านพักอาศัย และปลูกต้นไม้ต้องห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูง ตามระยะที่กำหนด เพื่อป้องกันมิให้สัมผัสสายไฟ หรืออุปกรณ์
12.11 ควรระมัดระวังเครื่องมือกลทุกชนิดที่ใช้งานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ งานปรับปรุงหรือก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าระยะที่กำหนด
12.12 ควรระมัดระวังผ้าคลุมกันฝุ่น ระหว่างทำการก่อสร้าง มิให้ปลิวมาสัมผัส สายไฟฟ้า
12.13 กิ่งไม้ที่แตะสายไฟฟ้า จะทำให้มีไฟรั่วลงมาตามกิ่งไม้ ทำให้อาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้ารั่วได้จึงต้องระมัดระวัง คอยดูแลตัดแต่งกิ่งไม้ ไม่ให้เข้าใกล้สายไฟฟ้าเกินระยะที่กำหนด ทางที่ดีที่สุด ควรติดต่อการไฟฟ้านครหลวงเมื่อมีเหตุดังกล่าว



12.14 เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้ที่จะใช้เครื่องมือดับเพลิง ควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือดับเพลิง ว่าเป็นชนิดที่ใช้ดับเพลิงซึ่งเกิดกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหรือไม่ และควรมีระยะห่างเท่าใด
12.15 ควรติดตั้งป้าย หรือสัญญานเตือนภัย แสดงเขตอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงเสมอ

13. ข้อควรระวังอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงขาด
13.1 หลีกเลี่ยงการยืนอยู่ที่โคนเสาไฟฟ้า หรือใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและสายไฟฟ้าแรงสูงขาด
13.2 เมื่อพบว่าสายไฟฟ้าแรงสูงขาด ควรหลีกเลี่ยงอย่าเข้าใกล้และพยายามกันคนไม่ให้เข้าใกล้สายไฟฟ้า และโทรศัพท์แจ้งการไฟฟ้านครหลวง หรือหน่วยงานสาธารณภัยที่สะดวกที่สุด
13.3 ถ้าสายไฟฟ้าแรงสูงขาด และพาดอยู่กับรถยนต์ที่ขับ หรือจอดอยู่ มีข้อแนะนำดังนี้คือ อย่าพยายามลงจากรถจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูง พาดอยู่กับรถหรือมีสายไฟฟ้าพาดอยู่กับพื้นดินที่เปียกอยู่ หรือขับรถให้พ้นสายไฟฟ้าแรงสูงที่พาดอยู่นั้นถ้าสามารถทำได้
13.4 หากสายไฟฟ้าแรงสูงขาดตกน้ำ ให้หลีกให้พ้นจากบริเวณที่มีน้ำให้มากที่สุด แล้วแจ้งการไฟฟ้านครหลวง พร้อมกับกันคนไม่ให้เข้าใกล้น้ำในบริเวณนั้น
13.5 หากพบว่ามีเสียงดังคล้ายเสียงผึ้งบินบริเวณอุปกรณ์ หรือสายไฟฟ้าแรงสูงบนเสาไฟฟ้า ให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงที่ใกล้ที่สุด เพื่อดำเนินการแก้ไข



14. สายไฟฟ้าแรงสูงที่ได้รับการหุ้มหรือคลุมสายจากการไฟฟ้านครหลวงแล้ว จะมีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่?
การหุ้มหรือคลุมสาย จะช่วยทำให้สามารถทำงานในระยะที่ใกล้มากขึ้นเท่านั้น มิได้หมายความว่ามีความปลอดภัยเพียงพอที่จะสัมผัสได้ คุณยังคงต้องระมัดระวังในการทำงานเช่นเดิม

15. การบริการของการไฟฟ้านครหลวงเกี่ยวกับสายไฟฟ้าแรงสูง
การไฟฟ้านครหลวงยินดีที่จะบริการผู้ใช้ไฟฟ้าทุกท่านให้ใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย หากท่านพบเห็นสภาพผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นกับเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ลูกถ้วยรับสาย สายโยงยึดเสา และอื่นๆ หรือต้องการให้การไฟฟ้านครหลวงหุ้มสายไฟฟ้าในกรณีที่ต้องการทำงานใกล้สายไฟฟ้า ท่านสามารถติดต่อได้ที่การไฟฟ้านครหลวงเขตต่างๆ ดังนี้









http://talk.mthai.com/topic/413568

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น