วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มารู้จักกับปืนใหญ่อัตตาจรของกองทัพบกไทย



ปืนใหญ่อัตตาจร (Self-propelled artillery) หมายถึงพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ และติดตั้งปืนใหญ่ ปืนฮาวอิตเซอร์ หรือเครื่องยิงจรวด สามารถเคลื่อนย้ายไปตามภูมิประเทศทุรกันดาร โดยอาจเป็นพาหนะล้อสายพานหรือล้อยาง ทำการยิงแล้วเคลื่อนย้ายที่ตั้งอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการตรวจจับสถานที่ตั้งและถูกโจมตีกลับ



 

 

ปืนใหญ่อัตตาจรจะประจำการอยู่ในกองพันทหารปืนใหญ่ มีหน้าที่ยิงสนับสนุนทหารราบในแนวหน้าจากระยะไกล ปืนอัตตาจรสมัยใหม่อาจมีลักษณะคล้ายรถถัง และหุ้มเกราะขนาดกลาง บางรุ่นอาจติดตั้งปืนกลเพื่อป้องกันตนเองจากทหารราบของฝ่ายตรงข้าม

ทหารกองทัพภาคที่ ๓ เคลื่อนกำลังเข้าสู่พื้นที่การรบบ้านร่มเกล้า

ปืนใหญ่แบบ M-46 ของรัสเซียหรือ Type-59 ของจีนที่copyจากรัสเซีย ขนาด 130 mm.

พัฒนาการของปืนใหญ่อัตตาจรของกองทัพบกไทยเกิดจากประสบการณ์รบในกรณีพิพาทไทย-ลาว บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑ ซึ่งกองทัพบกได้เรียนรู้ถึงปัญหาของการรบด้วยปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพด้วยกว่าฝ่ายตรงข้าม ซึ่งใช้ปืนใหญ่แบบ M-46 ของรัสเซียหรือ Type-59 ของจีนที่copyจากรัสเซีย ขนาด 130 mm. ซึ่งมีระยะยิงไกลสุดถึง ๒๗ กิโลเมตรกับอีก ๑๕๐ เมตร เมื่อทำการยิงแล้วใช้เฮลิคอปเตอร์หิ้วย้ายเปลี่ยนตำแหน่งยิง ป้องกันการถูกยิงโต้ตอบโดยปืนใหญ่ฝ่ายไทย ทำให้การโต้ตอบโดยปืนใหญ่ไทยไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

ปืนใหญ่ แบบ M114 ขนาด 155 mm

กองทัพบกไทยในขณะนั้นใช้ปืนใหญ่ แบบ M114 ขนาด 155/25 mm ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ใช้ในกองทัพสหรัฐฯตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยกองทัพบกได้รับมอบจากรัฐบาลอเมริกันตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร และมีระยะยิงไกลสุดเพียง ๑๔.๖ กิโลเมตรเท่านั้น และปืนใหญ่แบบ M-198 ขนาด 155/39 mm ซึ่งมีระยะยิงเพิ่มขึ้นเป็น ๒๔ กิโลเมตร และ ๓๐ กิโลเมตรเมื่อใช้กระสุนต่อระยะการรบครั้งนั้นว่ากันว่า เรายิงกระสุนไปจนหมดคลังกว่าสองหมื่นนัด ถึงกับต้องขอยืมกระสุน 155 mm จากอินโดนีเซียขนส่งโดย C-130 มารบกันต่อเลยทีเดียว
ปืนใหญ่แบบ M-198 ขนาด 155/39 mm

จากบทเรียนดังกล่าวกองทัพบกจึงสั่งซื้อปืนใหญ่อัตตาจรแบบ M-109 A5 เข้าประจำการจำนวน ๒๐ ระบบ
ปืนใหญ่อัตตาจรแบบ M109A5 (ปกค.๓๗)
คูณลักษณะของปืนใหญ่อัตตาจรแบบ M109A5 (ปกค.๓๗) ขนาด 155 mm. ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ความเร็วสูงสุด ๕๕ กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ ๓๕๔ กม.
ระยะยิงไกลสุด ๓๐ กม.
บรรทุกกระสุน ๓๖ นัด
ลุยน้ำลึก ๑.๐๗ ม.
อัตราเร็วในการยิง
- ปกติ ๑ นัด/นาที
- สูงสุด ๔ นัด/นาที
พลประจำปืน ๖ นาย
และต่อมากองทัพบกไทยได้สั่งซื้อ ปืนใหญ่อัตราจร Caesar ขนาด 155/52 mmจำนวน ๖ ระบบ จากฝรั่งเศส ซึ่งมีระยะยิงเพิ่มขึ้นเป็น ๔๑ กิโลเมตร
ปืนใหญ่อัตราจร ซีซาร์ (Caesar)

ปืนใหญ่อัตราจร ซีซาร์เป็นปืนใหญ่อัตราจรขนาด 155 mm. ติดตั้งบนรถบรรทุกล้อยาง 6×6 ล้อ ซึ่งจัดเป็นปืนใหญ่เคลื่อนที่แบบนึงที่ดีที่สุดในโลกเลยทีเดียว และก่อให้เกิดปืนใหญ่อัตราจรแบบที่คล้ายกันในหลายประเทศ โดยมีข้อดีคือมีความคล่องตัวสูงกว่าปืนใหญ่ที่ใช้รถสายพาน ซึ่งเหมาะกับประเทศมีถนนเข้าถึงหลายจุด จึงเข้าที่ตั้งยิงได้รวดเร็ว
ซีซาร์นั้นผลิตโดยความร่วมมือ ๒ บริษัทคือ ตัวปืนใหญ่พัฒนาโดย เกียต ( GIAT)และ Lohr Industrie (ผู้ผลิตรถยนต์ Renault) ของประเทศฝรั่งเศส โครงการทดแทน ปืนใหญ่อัตราจรรุ่นเก่าแบบ F3 self-propelled howitzer 155 mm. ที่ใช้งานมานาน

ซีซาร์เริ่มพัฒนาในปี 1996 ตามแผนพัฒนาอาวุธยิงสนับสนุนเคลื่อนที่เร็วตามความต้องการของกองทัพบก ฝรั่งเศส ซึ่งมีแผนส่งมอบ 5 ระบบแรกให้กองทัพในปี 2003 เพื่อทำการประเมินผล ได้รับสัญญาจ้างผลิตในเดือนธันวาคม ปี 2004 และเข้าสู่สายการผลิตในเดือนมิถุนายน 2006 ซึ่ง ๗๒ ระบบผลิตให้กับกองทัพบกฝรั่งเศสเพื่อทดแทนปืนใหญ่ TRF-1 รุ่นเก่า ในเดือนเมษายนปี 2007
ซีซาร์ระบบแรกถูกนำไปทดลองยิงและปฏิบัติงานงานและอีก ๗ ระบบถูกผลิตในปี 2008 และจะส่งมอบให้ครบ ๗๒ ระบบภายในปี 2011 และส่งออกให้กับกองทัพบกไทยเป็นชาติแรก ๖ ระบบและซาอุดิอาราเบีย ๘๐ ระบบ โดยสั่งซื้อพร้อมกันในปี 2006 และได้รับการส่งมอบภายในปี 2009-2011
ซีซาร์ใช้พลประจำรถ ๖ นาย ตัวรถสามารถนำกระสุนไปได้ ๑๖ นัดด้วยกัน ปืนใหญ่ขนาด 155/52 mm. อัตรายิงสูงสุดคือ ๖ นัด/นาที (สามารถยิง ๓ นัดในเวลาเพียง ๑๕ วินาที) ยิงได้ไกลถึง ๔๒ ก.ม. ปืนมีมุมยิงที่ ๐-๖๐ องศา มุมส่าย ๓๐ องศา (๑๕ องศาซ้าย-ขวา) และมีระบบการคำนวณเตรียมการยิงที่รวดเร็ว
ซึ่งระบบควบคุมการยิงด้วย FAST-Hit คอมพิวเตอร์ ระบบแผนที่ดาวเทียม SAGEM Sigma 30 ระบบควบคุมการยิง/ค้นหาเป้าหมายด้วยเรดาห์ ROB4 muzzle สำหรับโจมตีเป้าหมายในทะเล ทำการรบได้ทุกสภาพพื้นที่
ซีซาร์มีระบบสั่งการรวมที่เรียกว่า C4I ( command, control, communications and intelligence) ระบบการทำงานที่เรียกว่า onboard terminals ใช้การสื่อสารแบบเรียล์ไทม์ จัดลำดับเป้าหมายที่ต้องการทำการยิงที่ตั้งไว้และการยิงตามการร้องขอตามเป้า หมายที่หลากหลาย การควบคุมตัวปืนด้วยระบบไฮโดรลิคและระบบการยิงกึ่งอัตโนมัติ สามารถเตรียมการยิงได้น้อยกว่า ๑ นาที
ตัวปืนสามารถใช้กระสุนยิงได้หลายแบบตามแต่ชนิดของเป้าหมาย เช่น กระสุนแบบ EFP ยิงได้ไกล ๓๔ ก.ม. ซึ่งจะแตกออกกระจายสู่เป้าหมายสำหรับทำลายกลุ่มยานเกราะ (เจาะด้านบนของหลังคา) หากใช้กระสุนส่งสำหรับหัวระเบิดแรงสูงยิงได้ไกล ๔๒ ก.ม.
ตัวรถซีซาร์ สามารถลำเลียงทางอากาศด้วยเครื่องบินลำเลียงขนาดหนักเช่น C-130 ได้ด้วย ซึ่งในรุ่นที่ต้องการลำเลียงทางอากาศจะลดน้ำหนักเหลือ ๑๖.๒ ตัน ในรุ่นมาตราฐานนั้นหนัก ๑๘.๕ ตัน
SH-1จีน
DANA-152เชคฯ
ATMOS-2000 อิสราเอล
Semser คาซัคสถาน
ATROM
ATROM โรมาเนีย
NORA B-52เซอร์เบีย
G-6/6 52 แอฟริกาใต้
T-5-52 แอฟริกาใต้
Archerสวีเดน

เป็นปืนใหญ่อัตตาจรในระดับเดียวกัน SH-1จีน, DANA-152เชคฯ, ATMOS-2000 อิสราเอล, Semser คาซัคสถาน, ATROM โรมาเนีย, NORA B-52เซอร์เบีย, G-6/6 52 และ T-5-52 แอฟริกาใต้, Archerสวีเดน
ปืนใหญ่แบบ GHN-45 ขนาด 155/45 mm.

ผลจากการนำปืนใหญ่อัตราจร ซีซาร์ (Caesar) ปืนใหญ่ลากจูงแบบ M-198 ขนาด 155/39 mm. และ แบบ GHN-45 ขนาด 155/45 mm. ซึ่งมีระยะยิง 39.6 กิโลเมตร กอปรกับการนำอากาศตรวจการณ์ไร้คนขับหรือ UAV มาใช้ ปรากฏในการรบกรณีพิพาทไทย-กัมพูชาจากข้อขัดแย้งเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร ทำให้กองทัพกัมพูชาสูญเสียทหารประมาณ ๔๐๐ นาย จรวด BM-21 อีกหลายระบบ ยานยนต์อีกจำนวนหนึ่ง ด้วยอำนาจการยิง (Fire Power) ที่เหนือกว่า การดวลกันด้วยการใช้ปืนใหญ่กับสภาพที่กองทัพเขมรมีปืนใหญ่นั้นเป็นเรื่องที่คิดผิด อาจเป็นเพราะว่า น่าจะไม่เข้าใจเรื่องการวางแผนและสั่งการในการรบ เพราะทหารปืนใหญ่ นั้นมีชื่อเรียกกันว่าราชาแห่งสนามรบ (King of the Battle) การระดมยิงด้วยปืนใหญ่ในสนามรบเป็นเรื่องที่น่าสพรึงกลัว เพราะอำนาจทำลายล้างสูงมาก ถ้ามีอำนาจการยิงจากอาวุธยิงสนับสนุน (เครื่องยิงลูกระเบิด ปืนใหญ่ ขีปนาวุธ และระเบิดจากเครื่องบิน) ไม่เพียงพอแล้ว กัมพูชาซึ่งมีน้อยกว่าจึงเสียเปรียบในทันที
และปืนใหญ่อัตตาจรแบบล่าสุดของกองทัพบกไทยคือ ATMOS-2000 อิสราเอล โดยการนำปืนใหญ่ M-71 SOLTAM ซึ่งซื้อมาจากอิสราเอลเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ไปดัดแปลงจำนวน ๖ ระบบ

ATMOS-2000
โดยปืนใหญ่อัตตาจรและปืนใหญ่ขนาด 155 mm. ของกองทัพไทยถูกจัดเป็นอาวุธสนับสนุนการรบร่วมในอัตราของกองพลทหารปืนใหญ่ โดยปืนใหญ่อัตตาจร CAESAR และ ปืนใหญ่อัตตาจร ATMOS 2000 ประจำการในกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗๒๑
ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้พัฒนาปืนใหญ่อัตตาจรด้วยการปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในกองทัพไทย
พัฒนาโดยใช้ปืนใหญ่แบบ M-71 SOLTAM ขนาด 155/39 mm. ซึ่งใช้กองทัพบกมากว่า ๓๗ ปีแล้ว

ปืนใหญ่เบา 105mm. (M425) แบบอัตตาจรล้อยาง
แม้ว่าปืนใหญ่อัตตาจรที่พัฒนาโดย ศอว.ศอพท. จะยังคงใช้งานด้วยระบบ Manual แต่ก็เป็นนิมิตรหมายและทิศทางอันดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศของไทยให้มีความเข้มแข็งและเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศในโอกาสต่อไป

ขอขอบคุณมาของข้อมูลและภาพ
http://th.wikipedia.org
http://pantip.com/topic/31538657
http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538623449
http://thaidefense-news.blogspot.com/2013/09/m109a5-721.html
http://www.thaifighterclub.org/
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=685832
http://panzahahaha.wordpress.com
http://www.vigothailand.com/board/index.php?topic=148013.0
http://thepumpkinbig.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

 

http://chaoprayanews.com/blog/yotin/2014/10/21/%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%9b%e0%b8%b7%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%95/


 


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น