แหลมทองที่คนไทยเข้ามาครอบครองอยู่นี้เป็นถิ่นน้ำท่วม ถึงปลายฤดูฝนจะมีอีกฤดูหนึ่งก่อนจะเข้าหน้าแล้ง เรียกว่าฤดูน้ำหลาก เดี๋ยวนี้เขาไม่สอนกันเสียแล้ว มีแต่เด็กที่สนใจด้านประวัติศาสตร์เท่านั้นที่พอจะทราบว่า ฤดูน้ำหลากเป็นไม้ตายของกรุงศรีอยุธยาที่ทำให้พม่าข้าศึกพ่ายแพ้ ต้องถอยทัพกลับบ้านทุกครั้ง
คนไทยสมัยก่อน จึงต้องรู้จักสร้างบ้านเมืองแปงเมืองเพื่อจะหนีน้ำในฤดูน้ำหลากได้พ้น ฝรั่งเอง เมื่อมาเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยายังสังเกตุลักษณะจำเพาะตัวของบ้านคนไทยได้ ดูจากภาพเขียนของลาลูแบร์ข้างล่าง
สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันก็มีดังนี้
น้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็ง พ.ศ.2328 ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จนั้นเอง ได้เกิดอุกทกภัยครั้งใหญ่ ปรากฏว่าระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว
น้ำท่วมเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2362 ในรัชกาลที่ 2 ข้าวยากหมากแพงเหมือนครั้งแรก
น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2374 ในรัชกาลที่ 3 คราวนี้น้ำท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง
น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2402 ในรัชกาลที่ 4 และเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 อีกคราวหนึ่งแต่เสียหายไม่มาก เพียงท่วมภายนอกกำแพงพระราชวังเท่านั้น
น้ำท่วมเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 น้ำท่วมเพียงประตูพิมานไชยศรี
น้ำท่วม พ.ศ. 2460 ในรัชกาลที่ 6 น้ำท่วมลานพระบรมรูปทรงม้าถึงกับมีการแข่งเรือกันได้
น้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2485 เริ่มท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 น้ำท่วมมากกว่าปี พ.ศ.2460 เกือบเท่าตัว เนื่องจากฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำตลอดแนว โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
น้ำท่วม พ.ศ.2518 เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร
น้ำท่วม พ.ศ. 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร
น้ำท่วม พ.ศ. 2523เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง
น้ำท่วม พ.ศ. 2526 น้ำท่วมในปีนี้มีสภาพรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม โดยวัดปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ 2119 มม.
น้ำท่วม พ.ศ. 2529 ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่
น้ำท่วม พ.ศ. 2533 ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง 617 มม.
น้ำท่วม พ.ศ. 2537ได้เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 และ 8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนได้มากที่สุด คือ เขตยานนาวาได้ 457.6 มม. โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพมหานคร
น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ "โอลิส" ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 - 100 ซ.ม.
น้ำท่วม พ.ศ. 2539 มีระยะเวลาท่วมขังตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม 2539 ตั้งแต่หลังปี 2539 เป็นต้นมา ยังไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร มีเพียงน้ำท่วมขังในเวลาไม่นานก็ระบายออกได้สู่ภาวะปกติ
น้ำท่วม พ.ศ. 2541 น้ำท่วมเกิดจากฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วัดน้ำฝนได้สูงสุดที่สถานีดับเพลิงพญาไท 2451 มม. จุดที่น้ำในถนนแห้งช้าที่สุดที่ถนนประชาสงเคราะห์(จากแยกดินแดงยาวตลอดสาย) เขตดินแดงท่วมสูง 20 ซม. นาน 19 ชม. โดยท่วมสูงสุดที่ถนนเพลินจิต และถนนราชดำริ เขตปทุมวัน ท่วมสูง 20 - 40 ซม. นาน 11 ชม.
ในปี 2493 มีน้ำท่วมทั้งกรุงเทพ และจังหวัดทางเหนือ
ภาพน้ำท่วมเชียงใหม่
น้ำท่วมอุตรดิตถ์
น้ำท่วมกรุงเทพในพ.ศ. 2493
ปัญหาของน้ำท่วม มันเกิดมากอะไรลองดูภาพนี้ได้ครับ
เป็นภาพเก่าในจังหวัดลำปาง
หลวงกำจรวานิช ได้บันทึกว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2463 น้ำนองใหญ่ (น้ำแม่วังท่วมใหญ่) ไม้ซุงไหลลอยมาติดอยู่ที่สะพานรัษฎาภิเศกและติดลามขึ้นไปถึงห้างหลุยส์เลียว โนเว็น ต้านน้ำขึ้นท่วมถนนตลาดจีนและท่วมถึงคุ้มเจ้าผู้ครองนครลำปาง จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2463 น้ำจึงแห้งทำเอาถนนตลาดจีนเสียหายไปมากจนรถมาเดินไม่สะดวก
เมื่อช่วงเช้าวันที่ 14 ต.ค. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ได้ออกแถลงการณ์แจ้งว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้ออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 17 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก และเขตลาดกระบัง เนื่องจากเขตพื้นที่ดังกล่าวประสบกับเหตุอุทกภัย และได้รับผลกระทบด้านต่างๆ เป็นวงกว้างและภัยพิบัติยังไม่สิ้นสุด
ดังนั้น อาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16(1) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วน ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 3 เดือน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกาศ
อย่างไรก็ตาม หลังจากมีเอกสารดังกล่าวเผยแพร่ไป ในบ่ายวันเดียวกัน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)ได้เดินตรวจเยี่ยมการทำงานภายใน ศปภ.โดยเฉพาะฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศปภ.ที่รายงานสถานการณ์อุทกภัย การประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยจัดทำเป็นเอกสารข่าวแจกจ่ายให้สื่อมวลชนภายในศูนย์ ศปภ. เมื่อ พล.ต.อ.ประชา เห็นข่าวที่วางแจกให้กับสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก จึงได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานพิจารณาดูว่าข่าวใด ยังมีปัญหา ไม่เหมาะสมหรือยังไม่ผ่านการตรวจกรองของ ศปภ.ก็ให้เก็บออกไป ซึ่งข่าวสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเตือนภัย การแจ้งภัย การให้ความช่วยเหลือกับประชาชนที่เป็นเรื่องสำคัญจำเป็นจะต้องสอบถามไปยังศูนย์เพื่อให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน และเอกสารใดๆที่เป็นคำประกาศของ ศปภ.จะต้องมีลายเซ็นของ พล.ต.อ.ประชา กำกับอยู่เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวได้ซักถาม พล.ต.อ.ประชา กรณีที่มีข่าวออกจาก ศปภ.ว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติเป็นกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในเขต กทม.จำนวน 17 เขต พล.ต.อ.ประชา ได้ตอบว่า ยังไม่มีเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องสอบถามไปที่ ปภ.ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร ทั้งนี้ หากเป็นเรื่องสำคัญภายใน กทม.จะต้องมีการแถลงร่วมกันระหว่าง ศปภ.กับ กทม. แต่ขณะนี้จะมีทั้งทางข่าวจาก ศปภ.และ กทม.ซึ่งประชาชนต้องฟังจากทั้งสองส่วนประกอบกับข้อเท็จจริง เบื้องต้น กทม.จะดู กทม.ชั้นใน ส่วนศปภ.จะดูภาพรวม หากมีการแถลงข่าวที่ออกมาไม่สอดคล้องกัน ข้อเท็จจริงจะเป็นตัวชี้วัดว่าอันใดถูกต้อง สำหรับการทำงานร่วมกันนั้น ยืนยันว่ามีการประสานงานกันตลอด ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม.ก็ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย แต่หากวันใดไม่มา รองผู้ว่าราชการ กทม.จะมาร่วมประชุมแทน จึงถือว่าการประชุมสมบูรณ์
“กรณีข่าวที่ถูกเผยแพร่ออกจาก กทม.หากไม่เป็นเรื่องจริง กทม.จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เช่นเดียวกับ ศปภ.หากแถลงออกไปแล้วไม่เป็นความจริงก็จะต้องรับผิดชอบเหมือนกัน”พล.ต.อ.ประชา กล่าว
ต่อมาในเวลา 14.19 น. วันเดียวกัน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ ศปภ.ได้ส่งอีเมล์ถึงสื่อมวลชนเพื่อขอความร่วมมือในการยุติการเผยแพร่ข่าวแจก จาก ศปภ.เรื่องกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่17 เขต กทม.เนื่องจากเกิดความผิดพลาด
แถลงข่าวแบบนี้ ใครหนอควรหลาบจำ?
ตามสถิติที่คุณหนุ่มรัตนะเอามานำเสนอไว้นั้น จาก๒๔๘๕ ก็ข้ามมาปี ๒๕๑๘เลย อาจจะเป็นเพราะว่า ถึงฤดูน้ำหลากทีไร เมืองไทยโดยเฉพาะกรุงเทพก็ท่วมทุกปี สมัยผมเป็นเด็กอยู่โรงเรียนประจำตั้งแต่๒๕๐๐ถึง๒๕๐๗ น้ำจะท่วมสนามสักครึ่งน่องอยู่ร่วมเดือน ไม่เว้นสักปี แต่ก็เป็นช่วงที่สนุกมาก พวกผู้ใหญ่อาจไม่สนุกเพราะน้ำท่วมถนน แต่รถก็ผ่านไปมาได้ สักเดือนหนึ่งก็หายไปเป็นปกติ จึงไม่ค่อยจะบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ นอกจากคนมีกล้องจะถ่ายไว้แล้วบันทึกปีที่ถ่าย ผมรวบรวมมาจากเน๊ตได้พอประมาณแต่ไม่หมด ถ้าท่านผู้ใดเจออีกก็กรุณาเอามาลงไว้ด้วยเป็นหลักฐานด้วย
ปีฉลอง๒๕พุทธศตวรรษ และไม่นานจอมพลสฤษดิ์ก็ปฏิวัติจอมพลป.
น้ำท่วมเชียงใหม่ เมื่อ 2493 ค่ะ
ปี๒๕๑๔ แม่น้ำโขงน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมหัวเมืองริมน้ำทั้งหมด ที่ราบลุ่มภาคกลางก็รับน้ำฝนไว้แยะ กรุงเทพจึงน้ำท่วมถนนบางสายอยู่นับเดือน
ถ้าเชียงใหม่ท่วม กรุงเทพก็รอดยาก
๒๕๒๑ น้ำท่วมใหญ่ที่ลพบุรี และกรุงเทพทางฝั่งธน
น้ำท่วมในยุค 2500 กว่าๆ เป็นน้ำท่วมชนิดลุย ไม่ถึงกับพาย ในร.ร.พอถึงหน้าฝน น้ำจะท่วมถนนขึ้นมาถึงขอบสนาม แต่สองสามวันน้ำก็ลด ถนนแห้งเหมือนเดิม ตามถนนรถราก็ยังวิ่งลุยน้ำไปได้ คนกรุงเทพก็เลยไม่ค่อยจะรู้สึกว่าน้ำท่วมเป็นพิเศษ จนเดือดร้อน
แต่ถ้าอย่างภาพข้างล่างนี้ เป็นท่วมชนิดพาย มีคำบรรยายว่าเป็นบางซื่อ แต่ไม่ทราบว่าพ.ศ.ไหน
คิดว่าเคยลงในกระทู้่ภาพเก่าเล่าเรื่องมาแล้วค่ะ แต่หาไม่เจอ
ภาพนี้ท่วมชนิดพาย ไม่ทราบพ.ศ. และสถานที่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.reurnthai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น