วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ลำดับชั้นพระภรรยา พระเจ้าแผ่นดิน | พระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี พระอรรคชายา



ตามโบราณราชประเพณี เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศพระภรรยา ให้มีพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดลำดับพระเกียรติยศแห่งพระภรรยาเจ้าและบาทบริจาริกา ดังนี้
ลำดับชั้นพระภรรยา พระเจ้าแผ่นดิน

พระภรรยาเจ้า

หมายถึง ภรรยาของพระเจ้าแผ่นดิน ที่มีพระกำเนิดเป็นเจ้า ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยพระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ได้กำหนดไว้ว่ามี 4 ขั้น คือ พระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี และพระอรรคชายา

พระอัครมเหสีเป็นพระอิสริยยศพระภรรยาเอกในพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นพระมารดาขององค์รัชทายาท ในอดีตนั้นพระอัครมเหสีมีคำนำพระนามแตกต่างกันแล้วแต่รัชสมัย อาทิ กรมหลวงบาทบริจาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎบรมอัครราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

บาทบริจาริกา

หมายถึง ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์ พระมหาอุปราช และเจ้าฟ้า คือ มีฐานันดรตั้งแต่ “หม่อมราชวงศ์หญิง” ลงไป โดยมีคำนำหน้านามว่า เจ้าจอม …. โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จว่า

… เมื่อแรกใช้นำหน้าประกอบการเรียกพระสนมที่เป็นคนโปรดว่า จอมพระสนม หรือ เจ้าจอมพระสนม แต่เวลาพุดจะย่อตัดคำว่า พระสนม ออก เหลือเพียง จอม หรือ เจ้าจอม และหากรับราชการจนมีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาจะได้เลื่อนเป็น เจ้าจอมมารดา โดยบาทบริจาริกามีลำดับชั้น 4 ชั้น คือ พระสนมเอก พระสนม เจ้าจอม และนางอยู่งาน

ลำดับชั้นภรรยาเจ้า

1.พระอัครมเหสี
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระราชินี
สมเด็จพระบรมราชเทวี
สมเด็จพระอัครราชเทวี

2.พระมเหสี
พระนางเจ้า พระวรราชเทวี

3.พระราชเทวี
พระนางเจ้า พระราชเทวี

4.พระนางเธอ
พระนางเธอ

5.พระอรรคชายาเธอ
พระอรรคชายาเธอ

6.พระราชชายา
พระวรราชชายา
พระราชชายา

7.พระสนมเอก
เจ้าคุณพระ
เจ้าคุณจอมมารดา
เจ้าจอม
พระ

8.พระสนม
เจ้าจอมมารดา
เจ้าจอม
จอมมารดา

ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



พระอิสริยยศของพระภรรยาเจ้า ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีด้วยกัน 5 ตำแหน่ง แจกแจงได้ดังนี้

(1.) พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง ตำแหน่ง “พระบรมราชินีนาถ”
– สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง / สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี)

(2.) พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง ตำแหน่ง “พระบรมราชเทวี”
– สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า /สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา)
– สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์)

(3.) พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง ตำแหน่ง “พระราชเทวี”
– สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี / พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี)

(4.) พระภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวง ตำแหน่ง “พระอรรคชายา”
– พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา / พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ (หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์)
– พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์)
– พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์)

(5.) พระภรรยาเจ้า ตำแหน่งพระราชชายา

– เจ้าดารารัศมี พระราชชายา (พระนามเดิม เจ้าดารารัศมี)

เคยทราบมาว่าอันที่จริงแล้ว ตำแหน่งพระภรรยาเจ้าที่ได้รับการสถาปนานั้นจะมีเพียง 4 ตำแหน่ง คือ “พระบรมราชินีนาถ” “พระบรมราชเทวี” “พระราชเทวี” “พระอรรคชายา” เท่านั้น ตำแหน่งสุดท้ายคือ “พระราชชายา” เพิ่งมีสถาปนาในรัชกาลนี้นี่เอง ซึ่งเป็นไปได้ว่า ตำแหน่งนี้น่าจะมีเพียงพระองค์เดียว คือ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา เพราะในรัชกาลต่อๆ มาเห็นว่าไม่มีสถาปนาพระภรรยาเจ้าครบทุกตำแหน่งข้างต้นอีกเลย / ที่มา beauvajirakorn.wordpress.com , emuseum.treasury.go.th

ราชนิกุลและสายสัมพันธ์

บุคคลนับเนื่องในราชสกุล ลำดับรองลงมาจากหม่อมเจ้า แม้มีคำนำหน้านามเป็นพิเศษอยู่ แต่ก็ถือเป็นสามัญชน

หม่อมราชนิกุล คือ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ที่รับราชการ มีความดีความชอบ กระทั่งได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น

หม่อมราชวงศ์ (ม.ร.ว.) คือ ฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากหม่อมเจ้า เป็นคำนำหน้านามสำหรับโอรสธิดาในหม่อมเจ้า เรียกโดยลำลองว่า คุณหญิง คุณชาย ฐานันดรศักดิ์นี้ บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

หม่อมหลวง (ม.ล.) คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์ เป็นคำนำหน้านามขั้นสุดท้ายของเชื้อพระวงศ์ ในการเรียกโดยลำลอง ให้ใช้คำนำหน้าว่า “คุณ” ฐานันดรศักดิ์นี้ บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

ณ อยุธยา คือ สร้อยที่ต่อท้ายนามสกุล บุตรธิดาของหม่อมหลวง และหม่อมเช่น หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา และภรรยาของหม่อราชวงศ์ และหม่อมหลวงด้วย


พระภรรยาของเจ้าชาย

มีทั้งหมด 4 ฐานันดร ได้แก่

พระวรชายา คือ พระอิสริยศ ของพระภรรยา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี , พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์

พระชายา คือพระภรรยาของ เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ซึ่งเป็นเจ้าหญิงมาตั้งแต่กำเนิด เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ “พระชายา” ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ชายา คือพระภรรยาของหม่อมเจ้า ซึ่งมีกำเนิดเป็นเจ้าเหมือนกัน เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา “ชายา” ในหม่อมเจ้าธานีเศิกสงัด ชุมพล

หม่อม คือคำนำหน้านามสำหรับภรรยาที่เป็นหญิงสามัญชนของเจ้าชาย เช่น หม่อมแจ๊กเควลิน จิตรพงศ์ ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยาในหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมอัญวิดา ยุคล ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล

สมเด็จพระบรมราชินี กับ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ต่างกันอย่างไร

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เขียนเต็มว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” มาจาก “พระนาม” + “พระอิสริยยศ”

กล่าวคือ พระนาม “สิริกิติ์” + “พระบรมราชินีนาถ” ซึ่งในความหมายของพระอิสริยยศ คือ พระบรมราชินี ที่เคยสำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ จึงได้รับการสถาปนาเลื่อนจาก “สมเด็จพระบรมราชินี” ขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมราชินีนาถ” (สมเด็จ แปลว่า ผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ ใช้นำหน้าผู้ที่สมควรรับการยกย่อง เป็นต้นว่า สมเด็จพระราชินี, สมเด็จเจ้าฟ้า, สมเด็จเจ้าพระยา)

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

เป็นตำแหน่งหรือพระอิสริยยศดังที่กล่าวมา เมื่อใด ที่เห็นคำนี้ อย่าเข้าใจผิดคิดว่า สื่อมวลชนเขียนผิด เช่น คำว่า “ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ” แต่ก็มีสื่อมวลชนบางฉบับ ซึ่งอาจจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่เข้าใจ มักคิดว่าเขียนผิด จึงเติมว่า “ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ตัวอย่างเช่น ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ แต่มักเขียนผิดเป็น ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งการเขียนแบบนี้ผิดธรรมเนียม ผิดวัตถุประสงค์การใช้ และความหมายผิดครับ

ย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชประสงค์จะเสด็จฯ ออกผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช

ต่อมา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 มีพระบรมราชโองการประกาศว่า ตามราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เคยมีประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ”

นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ที่ 2 ในประเทศไทย โดยพระองค์แรก คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง)

ที่มา oknation.nationtv.tv

พระยศเจ้านาย

คือพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

1 พระภรรยาของพระเจ้าแผ่นดิน
1.1พระภรรยาเจ้า
1.2บาทบริจาริกา
1.3ลำดับชั้นพระภรรยาของพระเจ้าแผ่นดิน

2 พระบรมวงศานุวงศ์
2.1ลำดับชั้นพระบรมวงศานุวงศ์
2.2 สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นเอก (ทูลกระหม่อม)
2.3 สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นโท (ชั้นสมเด็จ)
2.4 เจ้าฟ้าชั้นตรี (ชั้นเจ้าฟ้า)
2.5 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ชั้นพระองค์)
2.6 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ชั้นองค์)
2.7 รพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ชั้นองค์วังหน้า)

3 ราชนิกุลและสายสัมพันธ์
4 พระภรรยาของเจ้าชาย
5 การสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าในพระราชวงศ์

ที่มา Wikipedia/พระยศเจ้านายไทย lifestyle.campus-star.

ภาพจาก https://www.pinterest.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น