วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

พระอิสริยยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี



8940

ภาณุมาศ ทักษณา

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้จัดพิมพ์เรื่อง พระอิสริยยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ออกเผยแพร่พร้อมภาพจำนวน 9 ภาพ

ผมขอนำมาเผยแพร่ในบล็อกใต้ร่มธงไทย ของสำนักข่าวเจ้าพระยา เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านอีกครั้งหนึ่ง – ดังนี้
.
ในอภิลักขิตสมัย วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ ประชาชนชาวไทยต่างมีความยินดีที่ได้ทราบข่าวจากหมายกำหนดการ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ว่า นอกเหนือจากการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จออกมหาสมาคม ดั่งเช่นเป็นพระราชกิจที่ทรงกระทำตามราชประเพณีทุกปีแล้ว ยังปรากฎข้อความอื่นเพิ่มเติมอีก คือ การสถาปนาพระอิสริยศักดิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ให้ทรงดำรงพระอิสริยฐานันดรศักดิ์เสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชินี หรือสมเด็จพระบรมราชชนนี

11026189_601146773319846_6608421582849440434_n

17192_601146786653178_2222106998811681672_n

1908399_601146846653172_8799384448517553127_n (1).
จากข้อความในหมายกำหนดการว่า “…อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงพระเจริญเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ปฏิบัติพระองค์ตามขัตติยราชกุมารี สนองพระเดชพระคุณในพระราชภารกิจที่ทรงมอบหมายแทนพระองค์ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี กอปรทั้งมีพระหฤทัยเปี่ยมไปด้วยความรักชาติ ศาสนา และมีพระหฤทัยจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง ในมหามงคลสมัยการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราชอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติตามโบราณราชประเพณี ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษานี้… “
.
พระอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระ… ฝ่ายในนี้ เป็นพระอิสริยศักดิ์ที่มีมาแต่โบราณกาล สืบไปได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี โดยแต่เดิมเป็นพระยศที่เรียกว่า “ทรงกรม” อันหมายถึงการจัดข้าราชการให้เป็นหมวดหมู่ เป็น “กรม” ต่างๆ คำว่า”กรม”นี้ มีหลายกรม ตั้งแต่กรมที่ใหญ่ที่สุดคือ คือ ในกรมพระราชวังหลวง หมายถึง สังกัดในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาคือ ในกรมพระราชวังบวร หมายถึง สังกัดในกรมพระราชวังบวร พระมหาอุปราช และเป็นกรมต่างๆลงมาตั้งแต่ กรมพระ (เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เป็นพระ) กรมหลวง(เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง) กรมขุน(เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เป็นขุน) และกรมหมื่น (เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เป็นหมื่น)โดยกำหนดว่า สำหรับตำแหน่งพระบรมราชชนนี จะทรงสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์ เป็นกรมสูงสุดสำหรับพระบรมวงศ์ฝ่ายใน
.

11012498_601146916653165_1153034806074237405_n

11115727_601147013319822_910128390620013028_n

11108868_601146943319829_3523675670720674277_n
ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสถาปนากรมให้สูงขึ้น มีตำแหน่ง กรมพระยา ให้สูงกว่า กรมพระ โดยเรียกว่า กรมสมเด็จพระ โดยในสมัยรัตนโกสินทร์ มีเจ้านายที่ทรงเป็นกรมสมเด็จพระ ฝ่ายในที่สำคัญ (โดยสังเขป) คือ
.
๑. สมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารี พระราชชนนีในกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์
๒. กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๑ และเป็นพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๒
๓. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๒ และเป็นพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๔
๔. กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๒ และเป็นพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๓
๕. กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๔ และเป็นพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๕
๖. กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓ เป็นพระบรมวงศ์ที่ทรงอภิบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ ทรงพระเยาว์ (กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์สวรรคตตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว พระชนมายุ ๘ พรรษา)
.
ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ จะทรงสถาปนาตำแหน่งกรมสมเด็จพระบรมราชชนนี โดยทรงตั้งคำนำหน้าพระนามาภิไธยพระบรมวงศ์ฝ่ายในที่เป็นกรมสมเด็จพระยา(พระ บรมราชชนนี)ใหม่ เป็น สมเด็จพระ…
.
ดังนั้นทรงตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ เป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำนำหน้าพระนามาภิไธยพระบรมวงศ์ฝ่ายในที่ทรงกรมเป็น “กรมสมเด็จพระ” แต่เดิม ให้เป็น สมเด็จพระ….หากเป็นพระอัครมเหสี ให้ลงท้ายว่า บรมราชินี เช่น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ให้ออกพระนามาภิไธยใหม่เป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นต้น

17087_601147069986483_1883796633992216111_n

11081322_601147113319812_4086191572865488681_n

11076246_601146626653194_239682373477366323_n (1)

.
๗. สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
๘. สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า (พระบรมราชเทวี พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๕ ต่อมารัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนายกย่องพระมาตุจฉาเป็นพิเศษ และในรัชกาลที่ ๘ ได้เปลี่ยนคำว่า มาตุจฉา เป็นอัยยิกาเจ้า เพราะทรงเป็นพระอัยยิกา)
๙. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (เดิมทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ในรัชกาลที่ ๙)
๑๐. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์)



About blogger

สำนักข่าวเจ้าพระยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น