วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อุทกภัยในฤดูร้อน ที่สุราษฎร์ธานีก็เผชิญปัญหาเดียวกัน



วิกฤตการณ์ 2012 น้ำท่วมโลก ผมนะอ่านดูมาบ่างก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง แต่พอมาเห็นปีนี้น้ำท่วมเยอะมาก เกือบทุกจังหวัดของประเทศไทยเราเลย ความคิดที่ว่าน้ำจะท่วมโลกนั้นอาจจะมีจริงก็เป็นได้
รูปแผนที่ประเทศไทยข้างล่าง น่าจะโดนน้ำท่วมจนเหลือประเทศไทยเท่ากับแผนที่ข้างล่างนี้ก็ได้ เพราะว่าจังหวัดที่หายไปในแผนที่นั้นตอนนี้น้ำท่วมกันทุกจังหวัดเลยใช่หรือเปล่าละครับ


เข้าไปหยิบพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ เปิดออกมาอ่านอีกครั้งเรื่อง "น้ำมากข้าวแพง"

"ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ อสนีบาตลงต้องซุ้มประตูฉนวนพระราชวังบวร ฯ และลงยอดพระมหาปราสาทพระบรมมหาราชวังวันเดียวกัน

ในเดือน ๑๒ ปีนั้น น้ำมากลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว ข้าวกล้าในท้องนาเสียหายเป็นอันมาก บังเกิดทุพภิกขภัย ข้าพแพงถึงเกวียนละชั่ง ประชาราษฎรทั้งหลาย

ได้ความขัดสนดวยอาหารกัดดารนัก จึงมีพระราชโองการให้กรมนาจำหน่ายข้าวเปลือกในฉางหลวงออกแจกจ่ายราษฎรเป็นอันมาก"


เดือน ๑๑ ปรากฎฟ้าผ่า ควรอยู่ช่วงมรสุมกว่ามวลน้ำจะหลากมาก็เดือน ๑๒ ระบบการไหลหลากของน้ำมาจากทุ่งทิศเหนือ ได้เร็วกว่าปัจจุบันเนื่องจากไม่มีอุปสรรค์เรื่องถนน บ้านเรือนขวางทางน้ำ และออกทะเลไปในที่สุด



นำข้อมูลจากอุตุนิยมวิทยา อธิบายเส้นทางการเกิดพายุ จัดให้จุดสีแดงของปี ๒๕๒๑ พายุเบส (Bess) ซึ่งก่อตัวขึ้นเป็นตาพายุก่อนวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๑ และเริ่มมุ่งหน้าสู่เกาะใต้หวัน แทนที่ลมจะพัดพาพายุพัดไปยังมณฑลฟูเจี้ยนของประเทศจีน ลมเหนือคงมีประสิทธิภาพแรงพอดู ผลักพายุเบสให้เลือนลงกลับทะเลจีนใต้ไปใหม่ พายุก็พยายามจะวิ่งเข้าไปยังแผ่นดินใหญ่อีกระรอก ก็ถูกลมเหนือตีผลักลงมาอีกระรอกสอง จะเห็นว่าเส้นทางการเดินของพายุเบสนั้นวกวนเต็มที

สถานภาพพายุแบบนี้ทำให้ศูนย์กลางพายุได้โอบอุ้มดื่มน้ำสะสมไว้ปริมาณมากแน่นอน จะเห็นว่าพายุอยู่ในทะเลจีนใต้ถึง ๓ วัน (๙-๑๒ สิงหาคม) คงจะอิ่มกับน้ำเต็มที่แล้วก็มุ่งหน้าพัดถล่มกรุงฮานอย ของเวียตนามและตอนเหนือของประเทศไทยบางส่วนก่อนที่จะสลายตัวไป

แต่แน่นอนว่าอิทธิพลหางพายุคงปั่นป่วนบริเวณภาคอีสานไม่มากก็น้อย


และพายุต่อมาคือ "คิท" (Kit) ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๙ กันยายน ๒๕๒๑ พายุลูกนี้คงสร้างอิทธิพลที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพได้มากพอสมควร พายุก่อตัวตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์มุ่งหน้าทะเลจีนใต้ อันเป็นที่คลาสสิกของพายุและเริ่มก่อตัว จะขึ้นเหนือหรือลงใต้ก็แล้วแต่มวลอากาศร้อนหรือมวลอากาศเย็นที่จะผลักพายุ

แต่แล้วพายุก็เลือกที่จะเข้ากรุงฮานอย เวียดนามอีกครั้งแต่แทนที่จะเลยผ่านภาคเหนือไป พายุกลับถูกเลื่อนลงมาตีนครพนม ลงโคราช พัดออกไปทางจังหวัดตาก แบบนี้ทั้งตาพายุ ทั้งหางพายุ กลงคลุมพื้นที่ประเทศไทยอย่างเต็ม ๆ ครับ


ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ ปีแรกที่สร้างกรุงเทพฯ เรียบร้อย พอกำแพงและพระราชวังเสร็จเรียบร้อย ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่

สนามหลวงสมัยนั้น คงยังไม่ถมดินให้สูงเหมือนสมัยนี้ มีคนวัดได้ว่าระดับน้ำลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว

ในพระบรมมหาราชวัง น้ำท่วมพื้นที่่ท้องพระโรง พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน น้ำลึกวัดได้ ๔ ศอก ๘ นิ้ว ถึงกับเสด็จออกขุนนางไม่ได้ ต้องเสด็จย้ายไปว่าราชการบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพราะพื้นที่สูงกว่าน้ำถึง ๕ ศอกเศษ

พวกขุนนางและพระบรมวงศานุวงศ์ต้องลอยเรือเข้าเฝ้า จอดเทียบถึงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเข้าประชุมขุนนาง

ราชสำนักยุ่งยากลำบากขนาดนี้ ราษฎรยิ่งเดือดร้อนหนักกว่า ข้าวเสียสวนจม ก่อให้เกิดข้าวยากหมากแพง

ปรากฏในจดหมายเหตุว่า วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ น้ำมากข้าวแพง ราคาเกวียนละ ๘๐ บาท ถึง ๑๐๐ บาท พลเมืองได้รับความอดอยาก โปรดฯให้กรมนาขนข้าวเปลือกในฉางหลวงออกจำหน่ายจ่ายแจกราษฎร

ข้าวแพงอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๙

จากบทความ "กรุงเทพน้ำท่วม" โดย กิเลน ประลองเชิง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

มาดูพายุที่แปลกอยู่ ๑ ลูก เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๔ ก่อตัวขึ้นที่ปลายแหลมญวน เข้าอ่าวไทย ซัดเข้ากรุงเทพ ฯ เต็ม ๆ เพียง ๓ วันเท่านั้น

ใคร่สนใจดูข้อมูลข้อมูลพายุหมุนเขตร้อน ๒๔๙๔ - ๒๕๕๓ ในคาบ ๖๐ ปีครับ


ในรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๗๔ นั้น เกิดน้ำท่วมมากกว่าในรัชกาลที่ ๑ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า

ในปีเถาะนั้น...ปีนั้นน้ำมาก ทั่วพระราชอาณาจักร มากกว่าปีมะเส็งสัปตศก (พ.ศ.๒๓๒๘) แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คืบ ๑ บางคนก็สังเกตว่าที่หน้าพื้นวัดพนางเชิง (วัดพนัญเชิง) น้ำพอเปี่ยมตลิ่ง ไม่ท่วมขึ้นไปบนลานหน้าพระวิหาร ว่าเสมอกันกับน้ำปีมะเส็ง และประเทศทั้งพม่าทั้งญวนได้ข่าวว่ามากเหมือนกัน น้ำครั้งนั้นจะไปข้างไหนก็ลัดไปได้ ในกำแพงพระนครก็ต้องไปด้วยเรือ เล่นผ้าป่า มีเรือผ้าป่าตามธรรมเนียมสนุกมาก ข้าวปีนั้นน้ำท่วมเสีย ๖ ส่วนได้ ๔ ส่วน ราษฎรซื้อขายกันข้าวนาทุ่งเกวียนละ ๕ ตำลึงบ้าง เกวียนละ ๖ ตำลึงบ้าง เกวียนละ ๗ ตำลึงบ้าง ข้าวสารถังละ ๖ สลึง ๗ สลึง

อีก ๑๓ ปีต่อมา พ.ศ.๒๓๘๗ ในรัชกาลที่ ๓ นี้ เกิดข้าวแพงอยู่ ๕ วัน เพราะข้าวเก่าหมด ครั้งนี้ถึงเกวียนละ ๑ ชั่ง ปรากฏว่าข้าวแพงปี พ.ศ.๒๓๘๗ นี้ แพงชนิดราษฎรยากจนไม่มีเงินจะซื้อข้าว ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า ข้าวกำลังแพงอยู่นั้น โปรดให้จ่ายข้าวในฉางหลวงออกมาขายให้ราษฎรที่ยากจนถังละ ๑ สลึง

จากบทความเรื่อง เวียงรัตนโกสินทร์ โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์
นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๗๓๖ ปีที่ ๕๓ ประจำวันอังคารที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ผมจะยังไม่ไปถึงบันได๔ขั้นของคุณตั้ง แต่จะย้อนไปขยายต้นเหตุวิบัติ ตั้งแต่เรื่องErosion หรือดินกร่อน ที่ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากน้ำ โดยเฉพาะฝน จะกร่อนด้วยลมบ้างก็เป็นส่วนน้อย

ในธรรมชาตินั้น ดินกร่อน เป็นเหตุนำให้เกิด ดินพัง Landslide แล้วดินก็จะละลายลงมาเป็นตะกอน Silt ใหลไปยังต้นน้ำลำธาร ออกสู่แม่น้ำและทะเลตามลำดับ ดินตะกอน Sediment ที่ละลายลงจากภูเขานี้ จะไปทับถมอยู่ที่บริเวณแม่น้ำชนกับทะเล เกิดเป็นสันดอนขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปร้อยปี พันปี หมื่นปี สันดอนก็ทับทมสูงขึ้นกลายเป็นแผ่นดิน ว่ากันว่าสุวรรณภูมิเมื่อสองพันปีที่แล้ว สมัยที่คนอินเดียนั่งเรือมาขึ้นฝั่งเพื่อแผยแผ่อารยธรรมสมัยทวาราวดีนั้น นครปฐมยังเป็นทะเลอยู่เลย ผมเคยไปดูเขาขุดบ่อดินขายแถวหัวหมาก ลึกลงไปแค่ยี่สิบเมตรก็เจอเปลือกหอยแครงเต็มไปหมด ไม่ต้องสงสัยว่าบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน

เริ่มต้นอย่างนี้เพื่อจะได้ไม่สงสัยว่า ชาวบ้านชาวเมืองที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางจะชาชินกับสภาพน้ำท่วมขนาดไหน และอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น