วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปอดบวม ภัยเงียบจากกระแสน้ำ




นอกจากสายนทีจะสร้างความเสียหายให้กับสิ่งของ แต่ยังนำโรคร้ายต่างๆ มาบั่นทอนสุขภาพด้วย



ความแรงของกระแสน้ำยังคงไม่มีท่าทีที่จะหยุดลงง่าย ซึ่งนอกจากสายนทีจะสร้างความเสียหายให้กับสิ่งของเครื่องใช้แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อาจเกิดปัญหาตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งนั้นก็คือ โรคร้ายต่างๆ ที่จะมาบั่นทอนสุขภาพของผู้ประสบภัย

สำหรับโรคที่เราจะนำมาแชร์กันในวันนี้ เป็นเรื่องของโรคปอดบวม ที่หากผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องสำลักน้ำ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปในปอด ก็มีโอกาสจะเป็นโรคได้

โรคปอดบวม?

โรคปอดบวมหมายถึง ภาวะปอดที่เกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โดยในสภาวะที่ผิดปกติ อาจจะเกิดจาก เชื้อราและพยาธิ เมื่อเป็นปอดบวมอาจมีหนองและสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจน และส่งผลให้ทำใหขาดอากาศอาจถึงแก่ชีวิตได้

สาเหตุของโรค
สำหรับสาเหตุหรือที่มาของโรคปอดบวมมีมากมายหลายอย่าง แต่สามารถแบ่งได้ดังนี้

-Bacteria
-Viruses
-Mycoplasma
-เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา
-สารเคมี

ทั้งนี้ เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ซึ่งสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอหรือจาม นอกจากนี้ ยังเกิดจากการดมสาร เคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลาย เศษอาหาร และน้ำย่อย

ปอดบวมติดต่อได้

โรคปอดบวมสามารถติดต่อได้ ถ้าได้รับเชื้อจากการไอหรือจามของผู้ป่วย บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกัน หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้ออาจจะเกิดอาการใน 1-3 วัน อาการของโรคปอดบวม

* ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน
* บางรายอาจจะเริ่มด้วยไข้สูง หนาวสั่น
* หายใจหอบเหนื่อย
* อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ
* อาการไอ ในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาจะมีจำนวนเสมหะเพิ่มมากขึ้น เสมหะเหนียว

สำหรับการรักษา ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละ 2 ครั้ง รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดเพื่อให้การรักษาในขั้นต่อๆ ไป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรคปอดบวมอาจไม่น่ากลัวมากนัก แต่ก็สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้ ดังนี้

- น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด จำนวนน้ำมีได้ตั้งแต่เล็ก น้อยจนถึงขนาดมาก ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้อง ทำการรักษา โดยการ เจาะดูดเอาน้ำออก
- หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาพถ่ายรังสีเหมือนกับน้ำในช่องหุ้มปอดแต่จะมีไข้สูงและหอบเหนื่อย
- ปอดแตกและมีลมในช่องปอด มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอกและหายใจหอบเหนื่อย
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- หัวใจวาย มักพบในรายที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน

การป้องกัน

* ใช้วัคซีนสามารถป้องกันปอดบวมได้บางเชื้อ เช่น H.influenza, Pertussisไอกรน, ปอดบวม Pneumococcal
* ให้หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นปอดบวม
* หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นหอบหืดให้แยกถ้วย และชาม สมาชิกในครอบครัวให้ล้างมือบ่อยๆ

โรคปอดบวมเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป เกิดได้กับคนทุกวัย และเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยระยะสุดท้าย ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคปอดบวมแล้ว อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์โรคว่า ผู้ป่วยมีโอกาสหายดีหรือไม่อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคปอดบวม ดังนั้น การรักษาที่เหมาะสม ภาวะแทรกซ้อน และสุขภาพพื้นฐานของตัวผู้ป่วยเองก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม การดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำที่สกปรกจะช่วยให้คุณรอดพ้นจากโรคปอดบวมที่อาจมาพร้อมกับช่วงน้ำท่วมได้อย่างสบายๆ

Article by Nan

ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.infoติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน

ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น