เฮ! รัฐจ่ายช่วยน้ำท่วม 2 เด้ง เพิ่มค่าซ่อมบ้านตามความเสียหาย
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยพีบีเอส
เงินเยียวยาน้ำท่วมได้ 2 ต่อ ส่วนแรกรับ 5,000 ทุกครัวเรือน ส่วนที่สองรับเงินตามความเสียหายของสภาพบ้าน ไม่รวมเฟอร์นิเจอร์ วงเงินไม่เกิน 30,000 เสียหายทั้งหลังได้ 240,000 บาท
วานนี้ (24 พฤศจิกายน) นายศุภชัย แสนยุติธรรม ผอ.สำนักงานส่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูมิภาค ได้เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ที่จะรับเงินเยียวยาผู้ประสบภัยว่า เงินดังกล่าวจะแยกเป็น 2 ส่วน ได้แก่...
ส่วนที่ 1 ผู้ประสบภัยจะได้รับการเยียวยาเบื้องต้น 5,000 บาท ซึ่งกรณีนี้จะได้รับ 1 ครัวเรือนต่อ 1 สิทธิ โดยคนที่เป็นเจ้าของบ้านสามารถเข้าไปยื่นเรื่องได้ด้วยตัวเอง หรือหากไม่สามารถยื่นได้ก็ต้องมอบอำนาจให้คนในครัวเรือนไปดำเนินการแทน ทั้งนี้ ถ้าหากเจ้าของบ้านอยู่ต่างประเทศไม่สะดวกในการดำเนินการ ก็ต้องติดต่อให้ผู้นำท้องถิ่นเซ็นรับรองว่า ใครที่เป็นผู้ดูแลครอบครัวอยู่ในปัจจุบัน และไปดำเนินการขอเงินช่วยเหลือ ส่วนถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ก็ให้ไปยื่นเรื่องที่สำนักงานเขตประสบภัยแทน สำหรับครที่อยู่ต่างจังหวัดให้ไปยื่นเรื่องที่อำเภอ หรือท้องถิ่นที่ตัวเองมีบ้านพักอยู่จริง
ส่วนที่ 2 คือ เงินที่ได้นอกเหนือจาก 5,000 บาท เจ้าหน้าที่จะจ่ายตามความเสียหายของตัวบ้านว่าเสียหายมาก หรือน้อย ซึ่งจะต้องไปตรวจสอบสภาพบ้านก่อนที่จะมีการอนุมัติจ่าย โดยการจ่ายเงินนั้นจะไม่เกิน 30,000 บาท โดยจะประเมินตามจริง ในส่วนที่เป็นตัวบ้าน โครงสร้างของบ้าน ไม่เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ และช่วยเหลือกรณีเสียหายทั้งหลัง 240,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิต หากเป็นหัวหน้าครอบครัวจะจ่ายให้รายละ 50,000 บาท บุคคลทั่วไปรายละ 25,000 บาท
ทั้งนี้ นายศุภชัย ยังกล่าวว่า การจ่ายเงินเพื่อเยียวยานั้นเป็นตามหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 โดยมอบหมายให้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้ดูแลในส่วนนี้ และเมื่อตรวจสอบเสร็จจะส่งเรื่องให้กับทางธนาคารออมสิน ซึ่งทางธนาคารออมสินบอกแล้วว่า หากได้อนุมัติแล้วสามารถเบิกจ่ายได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ประสบภัยนำบัตรประจำตัวประชาชน ไปเบิกเงินตามธนาคารออมสินได้เลยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดซึ่งอาจจะมีการอำนวยความสะดวกในการนัดจุดจ่ายเงิน หากไม่ได้ไปรับเงินตามนัดภายใน 1 ปี เงินส่วนนั้นจะถูกส่งเข้าคลังต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไขข้อข้องใจขอรับเงินช่วยเหลือ 5,000
ไขข้อข้องใจขอรับเงินช่วยเหลือ 5,000
ไขข้อข้องใจขอรับเงินช่วยเหลือ 5,000
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพมหานคร
ไขข้อข้องใจ การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในเขตกทม. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2223-1835
ถาม-ตอบเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5,000 บาท
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ดร ธีระชน มโนมัยพิบูลย์
จากเหตุอุทกภัย 54 ได้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมาก ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นการนำถุงยังชีพไปแจกจ่าย หรือการให้ความช่วยเหลือในการเดินทาง ที่พักพิง และอีกหนึ่งของการให้ความช่วยเหลือนั่นคือ เงินช่วยผู้ประสบภัยจำนวน 5,000 บาท แต่ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือดังกล่าวขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ทางรัฐบาลและจังหวัดได้กำหนดไว้ ซึ่งอาจทำให้หลายคนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือ หรือการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือ ... วันนี้ทีมงานกระปุกดอทคอม จึงขอรวมข้อสงสัย และหาคำตอบมาเฉลยค่ะ
1. ถ้าบ้านน้ำท่วมต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน?
ตอบ : ผู้ประสบภัยน้ำท่วมสามารถยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานเขต ในเขตที่พักอาศัยที่ถูกน้ำท่วมเท่านั้น ไม่สามารถยื่นข้ามเขตได้ ในกรณีอยู่ต่างจังหวัด ให้ยื่นที่ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้วแต่พื้นที่
2. ในกรณีที่บ้านอยู่ในพื้นที่เขตน้ำท่วม จะต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน หรือสามารถรอจนกว่าน้ำจะลดจึงไปขอยื่นเรื่องได้
ตอบ : ในกรณีที่อยู่ในบริเวณน้ำท่วมสามารถโทรสอบถามกับสำนักงานเขต ว่าเขตเปิดทำการหรือไม่ ถ้าสำนักงานเขตนั้นน้ำท่วม จะมีการย้ายที่ทำการชั่วคราวไปเขตอื่น โดยสามารถไปยื่นเรื่องตามเขตที่ทำการชั่วคราวได้
3. มีกำหนดระยะในการยื่นเอกสารหรือไม่ และถ้ามีถึงเมื่อไหร่
ตอบ : ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดปิดการยื่นเอกสาร หรือกำหนดระยะการช่วยเหลือ แต่ทั้งนี้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยงวดแรกจะออกวันที่ 20 ธันวาคม 2554 หากเขตไหนที่มีผู้ยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก อาจจะทำให้จำเป็นต้องจ่ายเงินในงวดถัดไป ซึ่งขึ้นอยู่กับการดำเนินเรื่องของเขตที่อาศัย ทั้งนี้ หากมีการดำเนินการยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร ภายใน 45 วัน
4. เอกสารและหลักฐานในการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือน้ำท่วม
ตอบ : 1.สำเนาทะเบียนบ้าน 2.สำเนาบัตรประชาชน 3.รูปถ่ายบ้านที่ถูกน้ำท่วม โดยให้เจ้าบ้านเป็นผู้ไปยื่น ถ้าเจ้าบ้านไม่สะดวกให้เขียนใบมอบอำนาจ ให้ญาติ หรือลูกหลาน ไปยื่นแทนได้ หลักฐานเพิ่มเติมการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือแยกเป็นกรณี ๆ ดังนี้
1. กรณีบ้านเช่า ให้ใช้สัญญาเช่า หรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. บ้านพักอาศัยที่ประสบอุทกภัยนอกเหนือจากบ้านเช่าและบ้านที่มีทะเบียนบ้าน
- ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่นร่วมกับผู้นำชุมชนตรวจสอบข้อเท็จจริง
- ให้ (1) กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน (2) ผู้บริหารท้องถิ่น
และ (3) ผู้นำชุมชน ลงนามรับรองความเป็นผู้ประสบภัย อย่างน้อย 2 ใน 3
3. กรณีอื่น ๆ เช่น บ้านพักคนงานให้ดำเนินการและใช้หนังสือรับรอง เช่นเดียวกับข้อ 2 การรับรองการเช่าบ้านตามข้อ 1 หรือที่อยู่อาศัยตามข้อ 2 และ 3 ให้พิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่หรือตามข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็นหนังสือและมีผู้รับรองตามที่กำหนด จัดเก็บไว้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นหลักฐานพร้อมรับการตรวจสอบ
5. กรณีที่ไม่มีหลักฐาน หรือเอกสารมาแสดง สามารถไปกรอกแบบฟอร์มการรับเงินก่อนได้หรือไม่
ตอบ : สอบถามรายละเอียดได้ที่เขตที่ท่านอาศัยอยู่ได้โดยตรง ว่าสามารถแก้ไขปัญหาอย่างไรได้บ้าง
6. ในส่วนของรูปถ่าย ถ้าไม่มีเนื่องจากไม่ได้ทำการถ่ายไว้ก่อนอพยพ หรือในช่วงน้ำท่วม จะได้รับเงินช่วยเหลือหรือไม่
ตอบ : กรณีที่ไม่มีรูปถ่ายบ้านน้ำท่วม เจ้าบ้านสามารถมากรอกเอกสารที่เขตไว้ก่อน โดยทางเจ้าหน้าที่จากเขตจะลงพื้นที่สำรวจถ่ายรูปความเสียหายเพิ่มเติมให้ ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เขตที่อาศัยของท่านได้โดยตรง
7. สำนักงานเขตสามารถให้ยื่นเรื่องในเวลาทำการเท่านั้นหรือไม่ หรือสามารถยื่นนอกเวลาทำการได้
ตอบ : ยื่นในเวลาทำการเท่านั้น
8. ในกรณีถ้าอยู่หอพัก และพักอยู่ชั้น 1 และน้ำท่วมห้องพัก กรณีนี้จะได้เงินชดเชยหรือไม่
ตอบ : หอพักที่อาศัยต้องจดสัญญาห้องเช่า หากน้ำท่วมห้องพักไม่ว่าจะอยู่ชั้นใดก็ตาม ก็สามารถรับเงินช่วยเหลือได้ แต่ถ้าในกรณีที่ห้องพัก หรือห้องเช่านั้นไม่ได้จดทะเบียน ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือแค่อาคารนั้น 1 สิทธิ์ เท่านั้น ไม่สามารถแยกขอเป็นกรณีห้องพักได้
9. กรณีที่หอหัก หรืออพาร์ทเมนท์น้ำท่วม แต่ที่ห้องน้ำไม่ท่วม แต่เดือดร้อนเหมือนกัน จะได้รับเงินชดเชยหรือไม่
ตอบ : กรณี้นำท่วมหอพัก แต่ไม่ท่วมห้องพัก จะไม่ได้รับเงินชดเชย ต้องน้ำท่วมเท่านั้นถึงสามารถทำเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า หอพักนั้นได้จดสัญญาเป็นห้องเช่าหรือไม่ (ดังข้อ 7 ค่ะ)
10. พื้นที่น้ำท่วมในแต่ละจังหวัดได้เงินชดเชยเท่ากันหรือไม่ ทั้งนี้เห็น กทม. ได้ 6,500 บาท แล้วกรณีต่างจังหวัดอย่างนครสวรรค์ อยุธยา ปทุมธานี หรือจังหวัดอื่น ๆ จะได้เงินชดเชยเท่าไหร่
ตอบ : ในกรณีของ กทม. ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็น 6,500 บาท เพราะเงินส่วนต่างที่ได้มากกว่าต่างจังหวัดเป็นงบประมาณของ กทม. เอง ซึ่งจะช่วยผู้ประสบภัยเพิ่มสิทธิ์ละ 1,500 บาท แต่ทั้งนี้ ทาง กทม. เองก็ต้องรอผ่านการประชุมของผู้บริหาร กทม. ว่าจะอนุมัติเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ในส่วนของต่างจังหวัดก็จะได้รับเงินช่วยเหลือตามเกณฑ์ที่ระบุไว้คือ 5,000 บาท
11. พื้นที่ประสบภัยจังหวัดไหนบ้าง ที่ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท
ตอบ : บ้านเรือนของราษฎรและทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย ตาก น่าน นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร พะเยา เพชรบูรณ์ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย บึงกาฬ สกลนคร หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครปฐม สระบุรี จันทบุรี ระยอง สระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และ กทม.
12. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมมีอะไรบ้าง
ตอบ : หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยต้องเป็นบ้านเรือนที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ใน 3 กรณี ดังนี้
1. น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- บ้านพักอาศัยจะต้องถูกน้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน
- บ้านพักอาศัยจะต้องทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- บ้านพักอาศัยจะต้องอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
2. บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- บ้านพักอาศัยจะต้องถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน
- บ้านพักอาศัยจะต้องทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- บ้านพักอาศัยจะต้องอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
3. บ้านพักอาศัยได้รับความเสียหายจากอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม
- บ้านพักอาศัยจะต้องได้รับความเสียหายจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม
- อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
ทั้งนี้ 3 กรณี ต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่ท้องถิ่นออกให้เท่านั้น
หมายเหตุ : กรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้าซ้อนทั้ง 3 กรณี ให้ได้รับการช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว
13. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยเป็นประจำที่จะได้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีลักษณะอย่างไร
ตอบ : ลักษณะของบ้านพักที่ผู้ประสบภัยจะได้รับเงินช่วยเหลือมีดังนี้
1. บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและถูกน้ำท่วม
2. บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ ในกรณีบ้านพักอาศัย / บ้านเช่ามีหลายชั้น ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเฉพาะชั้นที่น้ำท่วมถึงเท่านั้น โดยบ้านเช่านั้นอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้องหรือเช่าทั้งหลัง มีทะเบียนบ้าน หรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้
3. อื่น ๆ เช่น ที่พักอาศัยซึ่งประสบอุทกภัยนอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 เช่น ที่อยู่อาศัยที่เป็นสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีลักษณะถาวรหรือชั่วคราวที่ครัวเรือนใช้เป็นที่พักอาศัยอยู่เป็นประจำโดยไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน
14. รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือผ่านทางธนาคารออมสิน ในกรณีที่ไม่มีบัญชีที่ธนาคารออมสินผู้ประสบภัยต้องไปทำเรื่องเปิดบัญชีก่อนหรือไม่
ตอบ : ประชาชนสามารถรับเป็นเงินสดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชี โดยการยื่นสำเนาบัตรประชาชนแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารในวันรับเงิน
15. อยากทราบเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยของธนาคารออมสินว่ามีขั้นตอนการจ่ายเงินอย่างไร
ตอบ : เมื่อมีการโอนเงินให้ธนาคารออมสินในสาขาจังหวัดใดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดนั้น ๆ จัดทำแผนการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยด่วนที่สุด หลังจากได้รับการโอนเงิน และธนาคารออมสินจะทาการจ่ายเงิน ณ ที่ทำการสาขา และจัดหน่วยเคลื่อนที่เพื่อไปจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิ โดยผู้รับเงินจะต้องนาเอกสารไปแสดง ดังนี้
1. กรณีมารับด้วยตนเอง ให้นำบัตรประจาตัวประชาชนฉบับจริงไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน และให้ลงลายมือชื่อรับเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน ประกอบกันด้วย กรณีไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง
2. หนังสือมอบฉันทะ (ผู้รับมอบฉันทะสามารถรับมอบได้เพียงรายเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถมอบฉันทะต่อได้)
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ กรณีบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ให้ไปขอสำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชนที่สำนักทะเบียนทุกแห่ง เพื่อใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน หรือใช้หลักฐานการแจ้งความกรณีบัตรประจำตัวประชาชน สูญหายมาแสดงได้ หากผู้มีสิทธิไม่สามารถมารับเงินช่วยเหลือได้ในวันที่กำหนด ให้ไปยื่นขอรับเงินได้ ณ ที่ทำการธนาคารออมสินทุกสาขาในวันและเวลาเปิดทาการ
หมายเหตุ : ในการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามแผนการจ่ายเงินที่จังหวัดได้ประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสินสาขาจังหวัดและตำรวจภูธรจังหวัด และให้ธนาคารออมสินจัดทำรายงานการจ่ายเงินที่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในแต่ละวันส่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อรายงาน คอส. ต่อไป
16. การจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม มีการสัดสรรหรือแบ่งการให้ความช่วยเหลืออย่างไร แล้วผู้ประสบภัยสามารถติดตามเรื่องการรับเงินช่วยเหลือได้ที่ไหน อย่างไร
ตอบ : การจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จะมีการจ่ายตามทะเบียนบ้าน โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร การให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านของท่าน
17. กรณีที่เช่าเปิดเป็นกิจการ หากน้ำไม่ท่วม เเต่ผู้เช่าไม่สามารถเปิดกิจการได้ ทำให้ขาดรายได้ ผู้เช่าจะสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5,000 บาทได้หรือไม่?
ตอบ : กรณีที่เช่าเปิดเป็นกิจการ หากน้ำไม่ท่วม ตอนนี้ทางรัฐบาลยังไม่มีนโยบายช่วยเหลือเรื่องการขาดรายได้จากน้ำท่วม และการที่จะได้รับเงินช่วยเหลือนั้น ภายในบ้าน อาคารจะต้องถูกน้ำท่วม หากตัวอาคารน้ำไม่เข้าก็ไม่สามารถขอเงินช่วยเหลือได้
18. บริเวณบ้านที่น้ำท่วมถึง ทำให้ทรัพย์สินส่วนนึงของเจ้าของบ้านเสียหาย หากเจ้าของบ้านยื่นขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5,000 บาท ผู้เช่าจะสามารถยื่นเรื่องด้วยได้หรือไม่?
ตอบ : ถ้าเป็นบ้านเช่า จะให้สิทธิ์ผู้ที่อยู่อาศัยและได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ไม่ว่าอาคารนั้นจะมีกี่ห้องก็ตาม หากมีสัญญาเช่าถูกต้อง โดยเจ้าบ้านที่เป็นผู้ให้เช่า ไม่สามารถขอรับเงินเพิ่มเติม ยกเว้น เจ้าบ้านจะอาศัยอยู่ในบ้านเช่าด้วย ถึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ
ทั้งนี้ สามารถสอบถามเกี่ยวกับความช่วยเหลือเงินช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่สายด่วน ศปภ. 1111 กด 5 หรือ สายด่วน มหาดไทย 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง
คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 5,000 บาท
คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท สำหรับอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 จัดทำโดย ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554
1. เหตุผลความจำเป็นการช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท
เนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ได้ก่อให้เกิดปริมาณน้ำก้อนใหญ่ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครและแผ่ ขยายไปตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 จนถึงปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำเหนือไหลบ่าเข้าในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร โดยเหตุภัยพิบัติในครั้งนี้เป็นสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง มีปริมาณน้ำเหนือสะสมมาก ทำให้ประชาชนในพื้นเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบและทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำของราษฎรและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัยและเป็นการบำบัดทุกข์บำรุง สุขในเบื้องต้นจึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือน ผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวนนี้จะเป็นเงินที่ผู้ประสบภัยนำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย ยังไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว
2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ
2.1 หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำใน ๒ กรณี ดังนี้
2.1.1 น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
2.1.2 บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
คำอธิบาย หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือให้ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยที่มีที่อยู่อาศัยประสบภัยจะต้องเป็น ไปตามกรณี ดังนี้
กรณีตามข้อ 2.1.1 บ้านพักอาศัยจะต้อง...
- ถูกน้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน
- ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
- อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
กรณีตามข้อ 2.1.2 บ้านพักอาศัยจะต้อง
- ถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน
- ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
- อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำ
2.2.1 ทั้ง 2 กรณีต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและมี
หนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่สำนักงานเขตออกให้เท่านั้น
2.2.2 กรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนทั้ง 2 กรณี ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว ทั้งนี้การดำเนินการช่วยเหลือทุกขั้นตอนครั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน
3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน
3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่ามีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือ
เฉพาะชั้นที่มีน้ำท่วมถึงเท่านั้น
คำอธิบายลักษณะที่อยู่อาศัยของครัวเรือนที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจะต้องเป็น
1. บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและถูกน้ำท่วมถึง หรือ
2. เช่าบ้านอยู่อาศัยและอยู่อาศัยในชั้นที่ถูกน้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้อง
หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้านหรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้
4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ
4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจขอหนังสือรับรองจาก
สำนักงานเขตเพื่อเป็นหลักฐานการใช้สิทธิ
4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองจากเจ้าของบ้านเพื่อขอหนังสือรับรองจาก
สำนักงานเขต
คำอธิบาย หลัก ฐานการแจ้งสิทธิ ได้แก่ หนังสือรับรองจากสำนักงานเขตโดยการรับรองการเช่าบ้านตามข้อ 4.2 ให้พิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่หรือตามข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็นหนังสือและมีผู้รับรองตามที่กำหนดจัดเก็บไว้ที่สำนักงานเขต เพื่อเป็นหลักฐานพร้อมรับการตรวจสอบ
5. การตรวจสอบที่อยู่อาศัยที่ต้องตามหลักเกณฑ์ตามหลักวิทยาศาสตร์และตามหลักความเป็นจริง
ให้สำนักงานเขตแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 5 คน ตรวจสอบคำร้องเพื่ออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิขอรับการช่วยเหลือจริง ในพื้นที่ประสบอุทกภัยและเร่งรัดการจ่ายเงินให้เป็นไปอย่างรวดเร็วเป็นธรรม และทั่วถึง ตลอดจนสร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้กับผู้ปฏิบัติในระดับ
พื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
คำอธิบาย ใน การตรวจสอบผู้ประสบอุทกภัย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน-Gristda) ได้ถ่ายภาพและจัดทำรายละเอียดของพื้นที่ที่ประสบภัยไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่นำมาตรวจสอบความถูกต้องและการตรวจสอบสภาพข้อ เท็จจริงในพื้นที่ที่ขอรับความช่วยเหลือ เพื่อนำมาประกอบหลักฐานการตรวจสอบต่อไป
6. ขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6.1 ศปภ.กทม. จัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการเขตและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ
แนวทางการดำเนินการ
6.2 ศปภ.กทม. ทำรายละเอียดเป็นคู่มือการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกพื้นที่เขต
6.3 ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 สำรวจข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย) ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อออกหนังสือรับรองของ สำนักงานเขต
6.4 ให้สำ นักงานเขตจัดพิมพ์รายชื่อผู้มีสิทธิตามหนังสือรับรองที่สำ นักงานเขตออกให้ลงในแบบ ข.1 และ ข.2 และให้ผู้อำนวยการเขตลงนามรับรองในแบบฟอร์มข้อมูลก่อนนำส่งให้ศูนย์อำนวยการ เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจะจัดทำรายละเอียดแบบฟอร์มและชี้แจงขั้นตอน การดำเนินการในภายหลัง
6.5 ศปภ.กทม. ตรวจสอบความถูกต้องแล้วนำเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อลงนามรับรองว่าเป็น ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม. นำส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมกับส่งข้อมูล รายละเอียดจำนวนหลังคาเรือนที่ขอรับการช่วยเหลือทาง E-mail Address : bkk5000@hotmail.comทั้ง นี้ ให้ ศปภ.กทม. ทยอยส่งข้อมูลและเอกสารตัวจริงส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยด่วนที่สุด โดยสำนักงานเขตต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบต่อไป
6.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตรวจสอบข้อมูลรายชื่อที่ได้รับจากกรุงเทพมหา นครแล้วส่งให้ธนาคารออมสินเพื่อจ่ายเงินโดยด่วนที่สุด หลังจากที่ได้รับรายชื่อจากกรุงเทพมหานครและให้ธนาคารออมสินดำเนินการจ่าย เงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
6.7 ในระหว่างที่มีการอนุมัติเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือนั้น ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) จะมอบหมายให้คณะกรรมการอำ นวยการและกำ กับดูแลการจัดทำ ข้อมูลผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ร่วมด้วยข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จ จริงความถูกต้องของการเสนอรายชื่อครัวเรือนและกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือ ต่าง ๆ หากพบความผิดปกติประการใด จะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายต่อไป
7. การจ่ายเงินของธนาคารออมสิน
เมื่อมีการโอนเงินให้ธนาคารออมสินสาขาใดแล้ว ให้ ศปภ.กทม. ประสานงานและดำเนินการจัดทำแผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขตให้แล้ว เสร็จโดยด่วนที่สุด หลังจากได้รับการโอนเงินขอให้สำนักงานเขตประสานธนาคารออมสินกำหนดรายละเอียด การจ่ายเงินตามที่ กรุงเทพมหานครจะได้แจ้งแนวทางวิธีการจ่ายเงินให้ทราบต่อไป โดยผู้รับเงินจะต้องนำหลักฐานไปแสดง ดังนี้
7.1 หนังสือที่สำนักงานเขตออกให้
7.2 บัตรประจำตัวประชาชน
กรณีมารับด้วยตนเอง
- ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน และให้ลงลายมือชื่อรับเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินลง ลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน
กรณีไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง
- หนังสือมอบฉันทะ (ผู้รับมอบฉันทะสามารถรับมอบได้เพียงรายเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น
ไม่สามารถมอบฉันทะต่อได้)
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ
คำอธิบาย ใน การจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามแผนการจ่ายเงินที่กรุงเทพมหานครได้ประชุมหารือ ร่วมกับธนาคารออมสิน และให้ธนาคารออมสินจัดทำรายงานการจ่ายเงินที่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในแต่ละวันส่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อรายงานต่อไป
8. แนวทางการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
8.1 เร่งรัดการสำรวจ ตรวจสอบ ส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อตรวจสอบส่งให้ธนาคารออมสิน โดยด่วนที่สุด โดยให้ทยอยส่งเป็นรายแขวงและเขตที่มีจำนวนครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมที่จะจ่ายเงิน ได้
8.2 หลังจากส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแล้ว กรุงเทพมหานครประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสินและกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในการกำหนดแผนการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยให้รวดเร็วทั่วถึง โดยเน้นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากที่สุด
ภาคผนวก
ขั้นตอนการดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากอุทกภัย (หลังคาเรือนละ 5,000.- บาท) ศปภ.กทม.
• ตรวจสอบข้อมูลและจัดทำแบบ จ.1 (กรุงเทพมหานคร) เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนาม
• ศปภ.กทม. จัดส่งข้อมูลให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมส่งข้อมูลรายละเอียดทาง e-mail address: bkk5000@hotmail.comโดยเก็บสำเนาคู่ฉบับ เพื่อให้สำนักงานตรวจสอบแผ่นดินตรวจสอบ
• ศปภ.กทม.ประสานงานและดำเนินการจัดทำแผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขต เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อได้รับเงินโอนจากธนาคารออมสิน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
จัดส่งข้อมูลที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครให้ธนาคารออมสิน เพื่อดำเนินการโอนเงินให้กรุงเทพมหานคร ตามที่ทำการสาขาที่ได้แจ้งไว้
สำนักงานเขต
• ตั้งคณะกรรมการ (ไม่น้อยกว่า 5 คน) เพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองผู้มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ
• ดำเนินการสำรวจข้อมูลบ้านเรือนที่มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
• จัดทำข้อมูลตามแบบ ท.1 (แขวง) และแบบ อ.1 (เขต) โดยให้ ผู้อำนวยการเขตรับรองแบบ อ.1 (เขต) ส่ง ศปภ.กทม. (ทางเอกสาร และ ทาง e-mail address: bma_flood@hotmail.com) *** ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย ***
• ให้สำนักงานเขตแจ้งชื่อสาขาธนาคารออมสินในพื้นที่ เพื่อธนาคารอำนวยความสะดวก ในการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
แนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท
1. เหตุผลความจำเป็นเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข
ในเบื้องต้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 พิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ซึ่งผู้ประสบภัยจะได้นำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย ไม่สามารถประกอบอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือโดยเร็ว จำนวน 30 เขต คือ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง เขตดอนเมือง เขตคันนายาว เขตจตุจักร เขตตลิ่งชัน เขตบางเขน เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง เขตสายไหม เขตหนองแขม เขตหลักสี่ และเขตทวีวัฒนา โดยให้ผู้อำนวยการเขตสำรวจ ตรวจสอบข้อมูล และออกหนังสือรับรองจัดทำแบบ ข 1 ,ข 2 ส่งให้ ศปภ.กทม. เพื่อให้ธนาคารออมสินเป็น ผู้จ่ายเงินให้กับผู้ประสบภัย
2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ
2.1 หลักเกณฑ์
กรณีที่ (1) น้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย คือ ถูกน้ำท่วมบ้านโดยฉับพลัน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
กรณีที่ (2) บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๗ วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย คือ ถูกน้ำท่วมขังไม่น้อยกว่า ๗ วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยพิบัติที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัย ประจำ ทั้ง ๒ กรณี ต้องมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่ผู้อำนวยการเขตออกให้ และให้รับความช่วยเหลือได้เพียงกรณีเดียว
3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและน้ำท่วมถึง
3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่า/คอนโด/อพา ร์ทเม้นต์ มีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือเฉพาะชั้นที่น้ำท่วมถึงและทรัพย์สินเสีย หาย คือ ครัวเรือนนั้นเช่าบ้านอยู่อาศัย และอยู่ในชั้นที่น้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจแบ่งเช่าเป็นห้อง หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้าน
3.3 กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจาก ข้อ 3.1 และ 3.2 เช่น สิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยมีลักษณะถาวร หรือชั่วคราวที่ครัวเรือนอาศัยอยู่เป็นประจำโดยไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน
4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ
4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้าน/หัวหน้าครอบครัว/ผู้ได้รับมอบ อำนาจ ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านที่ประสบภัย (กรณีไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ ให้ตรวจสอบจากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง) เพื่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต (กรณีมอบอำนาจให้มีหนังสือมอบอำนาจและแนบบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ)
4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่า/หนังสือรับรองการเช่าจากเจ้าของบ้านเช่า พร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนผู้ร้อง และทะเบียนบ้านที่ประสบภัย(กรณีไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ให้ตรวจสอบ จากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง) เพื่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต
4.3 หลักฐานอื่น ๆ ตามข้อ 3.3 ให้ใช้พยานบุคคล หรือที่ผู้อำนวยการเขตเห็นสมควร กรณีมีข้อสงสัย/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศปภ.กทม. หมายเลขโทรศัพท์ 0 2223 1835
หนังสือรับรองผู้ประสบภัย
หากมีข้อสงสัย/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศปภ.กทม. โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๑๘๓๕
เลขที่......................./๒๕๕๔ สำนักงานเขต..............................
หนังสือรับรองผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดา
หนังสือ ฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่า.......................................... เกิดวันที่..........เดือน....................พ.ศ...............
เลข ประจำตัวประชาชน / หนังสือเดินทางเลขที่ / อื่น ๆ (ถ้า มี)...................................................................................................
ที่ อยู่ที่ประสบสาธารณภัย บ้านเลขที่..................หมู่ที่/หมู่ บ้าน................................ ตรอก/ซอย...................................................
ถนน................................ แขวง...................................... เขต......................................กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์..................
โทรศัพท์....................................... ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่...............หมู่ที่/หมู่บ้าน.........................
ตรอก/ซอย................................................... ถนน................................ แขวง...................................... เขต.....................................
กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์............................โทรศัพท์..............................................
เป็นผู้ประสบภัยหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ อุทกภัย.........................(ระบุประเภทของสาธารณภัยและสถานที่เกิดภัย)
เมื่อ.............................................................................(วัน เดือน ปี เวลา ที่เกิดภัย)
ความ เสียหายของผู้ประสบภัย ตามบัญชีความเสียหายแนบท้ายหนังสือรับรองของผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดา ฉบับนี้ผู้ประสบภัยมีสิทธิ์ที่จะได้รับการสงเคราะห์และการฟื้นฟูจากหน่วยงาน ของทางราชการ ด้านใดด้านหนึ่ง
หรือหลายด้านตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และแนวทางที่หน่วยงานนั้นกำหนด รายละเอียดตารางแสดงสิทธิที่จะได้รับ
จากทางราชการปรากฎตามแนบท้าย
ให้ ไว้ ณ วันที่................... เดือน..................................................... พ.ศ..........................................
ลงชื่อ ...........................................................................
(.........................................................................)
ตำแหน่ง .......................................................................
ผู้อำนวยการ..................................................................
(พิมพ์ชื่อเต็ม และตำแหน่ง / ประทับตราส่วนราชการ)
หมายเหตุ หากมีการขูด ลบ หรือแก้ไขข้อความในหนังสือรับรองและบัญชีแนบท้าย จะต้องลงชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองและประทับตรากำกับไว้ทุกแห่ง
คำร้องขอรับการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย (น้ำท่วม)
1. ชื่อผู้ยื่นคำร้อง นาย/นาง/นางสาว..........................................ชื่อ สกุล..............................................................
เลขประจำตัวประชาชน
อยู่บ้านที่ประสบอุทกภัยเลขที่.................................. เลขหมายประจำบ้าน
หมู่ ที่/หมู่บ้าน................................ ตรอก/ซอย................................ ถนน............................... แขวง....................................
เขต........................................... กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์.....................
หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ.................................................
อยู่ ในชุมชน........................................................ ประสบภัยเมื่อ ........................................................................................
2. กรณีอุทกภัยที่เกิด
น้ำท่วมฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
น้ำท่วมขังเป็นเวลา 7 วันขึ้นไปและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
3. ประกอบอาชีพ
รับราชการ รับจ้าง ค้าขาย อื่นๆ.................................
4. สภาพที่ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม)
ท่วมทั้งหลัง
ท่วม บางส่วน (ระบุความเสียหาย) ....................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................
5. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ที่ประสบอุทกภัยหรือไม่
มี ไม่มี
6. อยู่ในบ้านเลขที่ที่ประสบอุทกภัยในฐานะ
เจ้าบ้าน ผู้อาศัย ผู้เช่า อื่นๆ (ระบุ)................................................................
7. บ้านที่ประสบอุทกภัยปลูกสร้างในที่ดิน
ของตนเอง ที่เช่า ที่สาธารณะ อื่นๆ (ระบุ) ...............................
8. ลักษณะของบ้านที่ประสบอุทกภัย
บ้านไม้ บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ตึกแถว คอนโด/อพาร์ทเมนท์ อื่นๆ (ระบุ)...............................
ขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ
ลงชื่อ....................................................................ผู้ยื่นคำร้อง
(...................................................................)
หลักฐานประกอบ
รูปถ่าย หนังสือรับรองของผู้ให้เช่า/หนังสือรับรองของประธานชุมชน
สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้มีสิทธิไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ
หนังสือสัญญาเช่า อื่นๆ (ระบุ) ...........................................................
แขวง............................................
เขต...............................................
คำรับรอง
เขียนที่............................................................
.......................................................................
ข้าพเจ้า นาย/นาง/นาง สาว............................................................................................ อายุ......................ปี
ที่อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ ที่/หมู่บ้าน............................. ตรอก/ซอย...........................ถนน.......................แขวง
............................ เขต.........................กรุงเทพมหานคร ขอให้คำรับรองต่อสำนักงานเขต.................... ว่า ข้าพเจ้าประธาน
ชุมชน/เจ้าของบ้านเช่า
....................................................................... ขอรับรองว่า นาย/นาง/นาง สาว.............................................................................
อายุ..........................ปี ที่อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ที่/หมู่ บ้าน.............................ตรอก/ซอย...........................ถนน
....................... แขวง............................เขต.........................กรุงเทพมหา นคร เป็นผู้ประสบอุทกภัย และได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง
รับรองไว้ ณ วันที่.................เดือน...................................พ.ศ...................................
ลงชื่อ..................................................................ประธานชุมชน/เจ้าของบ้านเช่า
(................................................................)
ลงชื่อ..................................................................พยาน
(................................................................)
ลงชื่อ..................................................................พยาน
(................................................................)
หมายเหตุ สิ่งที่ต้องแนบมาพร้อมคำรับรองนี้
บัตรประจำตัวประธานชุมชนหรือบัตรประชาชนของผู้รับรองพร้อมเซ็นชื่อรับรอง ๑ ชุด
ทั้งนี้นอกจากผู้ประสบภัยจะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาทแล้ว หลังมีเงินอีกส่วนที่จะได้รับด้วย โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน นายศุภชัย แสนยุติธรรม ผอ.สำนักงานส่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูมิภาค ได้เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ที่จะรับเงินเยียวยาผู้ประสบภัยว่า เงินดังกล่าวจะแยกเป็น 2 ส่วน ได้แก่...
ส่วนที่ 1 ผู้ประสบภัยจะได้รับการเยียวยาเบื้องต้น 5,000 บาท ซึ่งกรณีนี้จะได้รับ 1 ครัวเรือนต่อ 1 สิทธิ โดยคนที่เป็นเจ้าของบ้านสามารถเข้าไปยื่นเรื่องได้ด้วยตัวเอง หรือหากไม่สามารถยื่นได้ก็ต้องมอบอำนาจให้คนในครัวเรือนไปดำเนินการแทน ทั้งนี้ ถ้าหากเจ้าของบ้านอยู่ต่างประเทศไม่สะดวกในการดำเนินการ ก็ต้องติดต่อให้ผู้นำท้องถิ่นเซ็นรับรองว่า ใครที่เป็นผู้ดูแลครอบครัวอยู่ในปัจจุบัน และไปดำเนินการขอเงินช่วยเหลือ ส่วนถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ก็ให้ไปยื่นเรื่องที่สำนักงานเขตประสบภัยแทน สำหรับครที่อยู่ต่างจังหวัดให้ไปยื่นเรื่องที่อำเภอ หรือท้องถิ่นที่ตัวเองมีบ้านพักอยู่จริง
ส่วนที่ 2 คือ เงินที่ได้นอกเหนือจาก 5,000 บาท เจ้าหน้าที่จะจ่ายตามความเสียหายของตัวบ้านว่าเสียหายมาก หรือน้อย ซึ่งจะต้องไปตรวจสอบสภาพบ้านก่อนที่จะมีการอนุมัติจ่าย โดย การจ่ายเงินนั้นจะไม่เกิน 30,000 บาท โดยจะประเมินตามจริง ในส่วนที่เป็นตัวบ้าน โครงสร้างของบ้าน ไม่เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ และช่วยเหลือกรณีเสียหายทั้งหลัง 240,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิต หากเป็นหัวหน้าครอบครัวจะจ่ายให้รายละ 50,000 บาท บุคคลทั่วไปรายละ 25,000 บาท
ทั้งนี้ นายศุภชัย ยังกล่าวว่า การจ่ายเงินเพื่อเยียวยานั้นเป็นตามหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 โดยมอบหมายให้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้ดูแลในส่วนนี้ และเมื่อตรวจสอบเสร็จจะส่งเรื่องให้กับทางธนาคารออมสิน ซึ่งทางธนาคารออมสินบอกแล้วว่า หากได้อนุมัติแล้วสามารถเบิกจ่ายได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ประสบภัยนำบัตรประจำตัวประชาชน ไปเบิกเงินตามธนาคารออมสินได้เลยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดซึ่งอาจจะมีการอำนวยความ สะดวกในการนัดจุดจ่ายเงิน หากไม่ได้ไปรับเงินตามนัดภายใน 1 ปี เงินส่วนนั้นจะถูกส่งเข้าคลังต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น