สี่แยกราชประสงค์ ตึกหัวมุมสองชั้นปัจจุบันเป็นเซ็นทรัลเวิลด์ เดิมพื้นที่ตรงนี้คือที่ตั้งของวังเพชรบูรณ์เก่า ตึกสูงนั้นเป็นที่ทำการสายการบินBOAC(Brith airway) รถเมล์เหลืองคือสาย13 วิ่งระหว่าง ห้วยขวาง-คลองเตย ส่วนทางฝั่งซ้ายน่าจะเป็นเมล์ขาวนายเลิศ ไม่แน่ใจว่าเป็นรถเมล์สาย 58 หรือป่าวไม่แน่ใจ
สมัยก่อนถนนพญาไทจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาราชเทวี สองข้างทางจะเป็นต้นจามจุรีที่ชาวบ้านเรียกต้นก้ามปู ตลอดสองข้างทาง พอขยายถนนก็ตัดทิ้งไปทั้งหมด..
ฝรั่งเขาถ่ายไว้เมื่อปี 1948 หน้าโรงแรมรัตน์โกสินทร์
รถแท็กซี่ ดัทสันบลูเบิร์ดกับตำรวจจราจรสมัยนั้นที่ ย่านบางลำภู
วิถีชีวิตของชาวไทยในสมัยก่อน คงสักประมาณ40-50ปีที่แล้วเห็นจะได้ เมื่อแม่ค้าหาบขนมผ่านมาหน้าบ้าน.. เด็กๆจะดีใจมากกรูมาล้อมหาบขนม
BANGKOK STREET SCENE VINTAGE 1970s
BANGKOK STREET SCENE VINTAGE 1970s
BANGKOK STREET SCENE VINTAGE 1970s
Charoen Krung Road at Surawong Junction, May 1959 Bangkok
Bangkok 1968 ปั๊มน้ำมันสามทหาร หน้าศาลหลักเมือง ฝั่งตรงข้ามสนามหลวง พ.ศ.2511
Bangkok 1968 ถนน หน้ากระทรวงกลาโหม พ.ศ.2511 , SSgt
Bangkok 1968 กรุงเทพ พ.ศ.2511 , SSgt
ไปรษณีย์กลางหรือกรมไปรษณีย์โทรเลข กรุงเทพฯ - 1960 (พ.ศ.2503)
กรุงเทพ..ในยุคสมัยที่ต้องอาศัย หาบน้ำและรองน้ำใช้กันตามหัวประปาสาธารณที่ริมถนน
GIANT SWING BANGKOK - ca 1890 ....พิธีโล้ชิงช้า พ.ศ.2433 รัชกาลที่5ทรงประกาศยกเลิกการทำพิธีโล้ชิงช้า ในปัจจุบันยังคงมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้าอยู่ เพียงแต่เป็นการประกอบพิธีภายในโบสถ์พราหมณ์
BANGKOK, THAILAND ~ RAJDAMNON ROAD, ถนนราชดำเนินและรอบสนามหลวง ยังเป็นเพียงถนนดินอัดแน่น
Thailand, pedicabs traffic in Bangkok 1960 บนถนนเจริญกรุง ยุคสมัยที่ยังมีรถสามล้อถีบรับจ้างและรถรางออกให้บริการ
BKK The Chao Phraya River (Thai: แม่น้ำเจ้าพระยา 1951 credit Dmitri Kessel.
BKK COCA-COLA sign . 1951 credit Dmitri Kessel.
Sanam Luang area, as seen in June 1897
bkk 1960 วันเด็กสมัยก่อนพ่อแม่ผู้ปกครองต้องจูงเด็กมาเที่ยวที่นี่
Aerial view of 1969 Ratchadamri Road
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Tourism Authority of Thailand, ชื่อย่อ: ททท., TAT IN 1960.......องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อ.ส.ท.) (Tourist Organization of Thailand) (ปัจจุบันเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2503 อยู่ริมถนนศรีอยุธยาเครดิตภาพ..ชาญณรงค์ บ๊อบบีเคเค จิ๊กโก๋อมตะ
Kasetsart University bkk 1964ภาพถ่ายเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2507....มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ โดยมีปณิธาณในการก่อตั้งเพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่การกสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี พ.ศ. 2447 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่เป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ มีผลให้วิทยาการทางการเกษตรพัฒนาและก้าวหน้า ใน พ.ศ. 2486 รัฐบาลได้ปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนกับโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนการป่าไม้เดิม จังหวัดแพร่) มาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แรกเริ่มนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนเฉพาะด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ บริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์ ต่อมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2541
ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวิทยาเขตที่เปิดทำการสอนทั้งหมด 4 วิทยาเขตได้แก่ วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชาและวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ทั้งยังมีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรีอีกหนึ่งแห่งด้วย มีคณะทั้งสิ้น 33 คณะ มีหลักสูตรที่เปิดทำการสอน 373 หลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรนานาชาติ 38 หลักสูตร นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นตามจังหวัดต่างๆหลายแห่งเพื่อดำเนินการวิจัยในศาสตร์ต่างๆ
DONMUANG AIRPORT BKK 1973เครื่อง RF-5A 1341 ที่ดอนเมือง ปี2516
1898 Bangkok....ภาพเก่า สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและคลองหลอด ปี พ.ศ.2441....วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก (ราชวรมหาวิหาร) ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งมิเพียงคงความวิจิตรงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระอารามนี้ยังประกอบด้วยเขตสุสานหลวงจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ อันเป็นบริเวณเฉพาะที่นับเนื่องด้วยราชสกุลและสายสัมพันธ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารเป็นสุสานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดคือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดา ได้อยู่รวมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เป็นแม่กองก่อสร้างสุสานหลวงขึ้นในที่อุปจารชานกำแพงวัดด้านทิศตะวันตก (ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด) ต่อมาเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านิลวรรณ เป็นแม่กองจัดทำสืบต่อมา อนุสาวรีย์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ไว้นั้นเพื่อเป็นพระบรมราชูทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ กันทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม (ศิลปะปรางค์ลพบุรี) และแบบโกธิค โดยตั้งอยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม
RTAF(Royal Thai Air Force)F-5B ขณะทำการบินเหนือแม่น้ำเจ้าพระยา(เห็นสนามหลวงอยู่บริเวณด้านหน้าของเครื่อง) เมื่อปี 2510
THAILAND - 1967: An American-made Thai Air Force jet sweeps over Bangkok; Bangkok, Thailand (Photo by Dean Conger/National Geographic/Getty Images) National Geographic/Getty Images
Date taken:April 4, 1950 Photographer: Dmitri Kessel ภาพอันสวยงามของวัดพระแก้วและถนนด้านหน้าที่ยังมีรถสามล้อถีบและรถลากวิ่งให้บริการ..เหมือนฉากในละครจริงๆ
1967-THAI STYLE -HOUSE ภาพรูปแบบบ้านไม้แบบไทยๆสองชั้นที่อยู่แถวงามวงศ์วานในอดีตบ้านแบบนี้มักจะมีคูน้ำหรือคลองเล็กๆที่หน้าบ้าน..มีสะพานหน้าบ้านและมีรั้วเป็นระแนงไม้แบบในรูปกันคนปีนเข้ามาเมื่อก่อนเห็นจนชินตามากที่ริมถนนแถวรังสิต..ตอนเด็กๆเราก็เคยอยู่บ้านแบบนี้แต่อยู่ริมถนนพหลโยธินแถวๆ แดนเนรมิต..ภาพเก่าปี 2510
Students studying outside, Bangkok high school, Thailand 1966 ภาพเก่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปี 2509
This is a floating restaurant (paninsula restaurant) in the Central Park in Bangkok in 1965.. ภาพเก่าหาดูยากที่สวยงามที่สุด กินรีนาวา ที่สวนลุมพินี ปี 2508
bkk 1965 dusit zoo เรือถีบกับความสุขของหนุ่มสาว รุ่น พ่อ-รุ่นแม่ ของเรา ที่สวนสัตว์ ดุสิต เขาดินวนา ปี 2508
บ้านศาลาแดง ของเจ้าพระยายมราช -ปั้น สุขุมบ้านศาลาแดง อยู่บริเวณหัวมุมถนนสีลมด้านที่ตัดกับคลองเตย (คลองวัวลำพอง หรือคลองหัวลำโพง คือ ถนนพระรามที่ 4) เป็นบ้านตึกโอโถงแบบฝรั่ง ออกแบบโดยสถาปนิกชาวต่างประเทศ (สันนิษฐานว่า เป็นคนเดียวกับที่ออกแบบตึกบัญชาการของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน) รั้วและประตูหน้าต่างเป็นเหล็กดัดที่สั่งจากต่างประเทศ บ้านหลังนี้มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 23 ไร่ 3 งาน 12 ตารางวา มีสนามหน้าบ้านภายในบริเวณมีเรือนหลายหลัง และมีสระน้ำอยู่ด้านหน้า
เดิมบ้านนี้เป็นบ้านฝรั่งชื่อกัปตันวอแรน ซึ่งต่อมาได้ขายต่อให้พระคลังข้างที่ แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อประมาณ พ.ศ. 2430 ต่อมา เจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ได้รับพระราชทานเงินอีกก้อนหนึ่ง จึงซื้อที่ดินเพิ่มเติมจนมีเนื้อที่กว่า 100 ไร่ ประมาณ พ.ศ. 2440 เจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ถวายบ้านคืนแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยตนเองไปซื้อที่ดินและบ้านของพระประมวญ ประมาณพล (ชั้น บุญบัญลือ) ที่บางรัก บ้านหลวงหลังนี้ว่างอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานแก่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ สุขุม) บ้านศาลาแดงจึงเป็นที่รู้จักว่าเป็นบ้านของเจ้าพระยายมราช เสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัชกาลที่ 6 ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 7 และหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
หลังจากการพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยายมราช และท่านผู้หญิงตลับ ที่วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2482 ทายาทได้ขายบ้านศาลาแดงให้แก่กระทรวงการคลัง หลังจากนั้น อาคารในบริเวณบ้านศาลาแดงถูกใช้เป็นที่ทำการสมาคมต่างๆหลายแห่ง เช่น แพทยสมาคม สมาคมเภสัชฯ และสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ
ต่อมาเมื่อธุรกิจทวีความสำคัญขึ้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงร่วมลงทุนกับเอกชน รื้อถอนอาคารต่างๆในบ้านศาลาแดง เพื่อก่อสร้างโรงแรมใหญ่ที่ทันสมัย เมื่อ พ.ศ. 2509 คือ โรงแรมดุสิตธานี ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยสมัยนั้น เริ่มเปิดดำเนินการ เมื่อ ปี พ.ศ. 2513 และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของถนนสีลมมาจนถึงปัจจุบัน
พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๖(สวนลุมพินี) 2489มองเห็นแยกศาลาแดง ด้านซ้ายแนวถนนราชดำริ ต่อ ถนนสีลม ยังมีตันไม้ขึ้นตลอดข้างทางและยังมีแนวคลองตลอดไปจนจรดคลองแสนแสบที่ย่านประตูน้ำ..ถนนที่ตัดขวางคือถนนหัวลำโพงหรือถนนพระรามสี่ในปัจจุบัน ยังมีแนวคลองและเส้นทางรถไฟสายปากน้ำขนานอยู่ด้านขวาของถนน..ยังไม่มีโรงแรมดุสิตธานี..มีแต่เพียงบ้านศาลาแดง ของเจ้าพระยายมราช -ปั้น สุขุม..ที่อยู่โดดเด่นแถวตรงกลางตอนบน..ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นที่ตั้งของโรงแรมดุสิตธานีในกาลต่อมา
9th September 1985. Bangkok Coupกบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา เป็นความพยายามก่อรัฐประหารเมื่อวันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ของนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย พันเอกมนูญ รูปขจร นาวาอากาศโทมนัส รูปขจร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พล.อ.เสริม ณ นคร พล.อ.ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยาร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง และพลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจากนายเอกยุทธ อัญชันบุตร การกบฏครั้งนี้พยายามจะยึดอำนาจการปกครองที่นำโดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรป.
ถนนเยาวราช ก่อนปี 2507 เห็นห้างเซ็นทรัล ที่มาเปิดที่นี่เป็นสาขาที่2 แต่ไม่ประสบความสำเร็จจนต้องปิดตัวไปเมื่อปี 2507 ..ส่วนทางขวาเห็นป้ายโรงแรม 7 ชั้นเยาวราช และ โรงหนัง คาเธ่ย์
ปั๊มน้ำมัน 3 ทหารที่ เปิดใช้ตอนวันชาติ ปี 2483 - ตอนหลังสงครามสัมพันธมิตรห้ามปั๊มสามทหารขายน้ำมันแข่กะ น้ำมันโมบิลตราม้าบินของสแตนดาร์ดแวคัมออยล์ น้ำมันเชลล์ตราหอยที่ขายผ่านเอเซียติกปิโตรเลียม และน้ำมันคาลเทกซ์ที่ขายผ่านห้างยิปอินซอยเลยต้องให้ ปั๊มโมบิลเช่าดังที่เห็นในภาพ ทำให้เดาได้ว่าต้องทำราวๆปี2493 กว่าๆ พอสามารถแก้ไขข้อกำหนดให้น้ำมันสามทหารเปิดแข่งกะปั๊มโมบิล (ปั๊มเอสโซ่) และปั๊มตราหอยได้เลย สามทหารจึงได้กลับมาอีกครั้งตอนราวๆปี 2500 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นปตท. ปลายปี 2521 ต่อปี 2522 (Moderator Wiz) — ที่ สนามหลวง ใกล้ศาลหลักเมือง
BKK 1984.... เยาวราช 2527
BKK 1984.... โรงแรมสเตชั่น แถวหน้าหัวลำโพง ปี 2527 ตรงที่ที่เห็นรถเมล์จอด จะเป็นปลายสายของสาย 29 และ สาย 34 ซึ่งเป็นต้นทางทีพ่อเราชอบมาขึ้นสาย 34 กลับบ้านที่นี่สมัยย้ายมาประจำฐานทัพเรือกรุงเทพใหม่ๆ เพราะจะได้นั่งยาวจนถึงบ้านที่แถวๆแดนเนรมิตเลย
วิถีชีวิตแบบไทยๆ.. ในสายน้ำเจ้าพระยา สมัยอดีต
Pictures Klong khoo muang of 1895 Bangkok ภาพเก่า ปี 2438 คลองหลอด หรือคลองคูเมืองเดิม เห็นสะพานหกอยู่ไกลๆทางด้านหลัง
bkk 1968 ภาพเก่าสะพานพุทธ 2511.. บนสะพานดูเหมือนมีการซ่อมแซมบำรุงอยู่
ภาพเก่า..ราชดำริอาเขต.. ราวๆพ.ศ. 2530 ต้นๆ
bkk 1961 ชอบภาพนี้มากค่ะถนนในกรุงเทพเมื่อ พ.ศ.2504 กับนักเรียนกำลังข้ามถนน นึกถึงเครื่องแบบสมัยเรียนเลย ยังเห็นรถเมล์ยังเป็นรถหลายสีด้วย..ใครทราบบ้างค่ะว่าแถวไหน
BKK 1966 ความสวยงามของลำน้ำเจ้าพระยาสมัย พ.ศ.2509
BKK 1966 ความสวยงามของลำน้ำเจ้าพระยาสมัย พ.ศ.2509
BKK 1966 ความสวยงามของลำน้ำเจ้าพระยาสมัย พ.ศ.2509
bangkok_1984 ....กรุงเทพ พ.ศ.2527 แถวๆอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตรงข้ามโรงพยาบาลเด็ก คงคุ้นตากับป้ายเบเกอรี่ของร้านนี้บ้าง
bkk 1955 by J cator ..... อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านฝั่งถนนพหลโยธิน ปี พ.ศ.2498
bkk 1955 by J cator ..... อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านฝั่งถนนพหลโยธิน ปี พ.ศ.2498
bkk 1955 by J cator ..... ถนนพหลโยธิน แถวดอนเมือง ปี พ.ศ.2498
bkk 1955 by J cator ..... ถนนพหลโยธิน แถวดอนเมือง ปี พ.ศ.2498
บน ภาพ ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แถว ช. การช่าง ปี 1968 เปรียบเทียบกับปัจจุบัน (ล่าง)เครดิตคุณ Tunluck Shatanan
1969 - along Sukhumvit Soi 40 [alley], BKK
แถวย่านตลาดบางรัก
ยุคที่ศาลาเฉลิมไทยยังรุ่งเรือง
ยุคที่เยาวราชยังมีโรงงิ้วให้ดู
เยาวราชสมัยที่ยังมีสามล้อถีบและรถรางบริการ
ประปาแยกแม้นศรี อดีต กับ ปัจจุบัน
ภูเขาทองและป้อมพระกาฬ อดีตกับปัจจุบัน
คลองรอบกรุงอดีตกับปัจจุบัน
เจริญกรุงสมัยยังมี สามล้อถีบ บริการ
ถนนเจริญกรุงบริเวณหัวถนนสุรวงศ์ ตึกเก่าซ้ายมือบนถนนเจริญกรุง(ที่มีหน้ามุข) ในอดีตเคยเป็นโรงแรมชื่อโฮเต็ลยุโรป ห่างออกไปจะเป็นสถานทูตอังกฤษซึ่งต่อมาเป็นไปรษณีย์กลาง....ตึกสูงๆที่่เห็นปลายสุดของถนนคือตึกนายเลิดที่สี่พระยาใกล้สะพานพิทยเสถียร(สะพานเหล็กล่าง) ปัจจุบันทั้งตึกนายเลิดและสะพานพิทยเสถียรยังคงสภาพอยู
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสมัยที่ยังมีเบนซ์หางปลาวิ่งกันเต็มกรุงเทพฯเลย
ใครที่ยังไม่เคยเห็นตอนที่สะพานพุทธเปิดให้เรือวิ่งผ่านบ้าง
งานวันฉลองรัฐธรรมนูญที่สวนลุมพินี งานฉลองรัฐธรรมนูญมีประมาณธันวาคม อากาศกำลังดี งานนี้เล็กกว่างานวชิราวุธ เขาใช้พื้นที่ทั้งหมดของสวนลุมฯ มันสะดวกดีเพราะมีรั้วรอบขอบชิดและไม่ต้องปิดถนน ก่อนหน้านั้นเคยจัดที่วังสราญรมย์ตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยรัฐบาลเป็นผู้จัด มีการประกวด นางสาวธนบุรี นางสาวพระนคร ซึ่งต่อมาเป็นการจัดประกวดนางสาวสยาม นั่งรถเมล์มาลงหน้างานได้เลย ในงานจะเป็นงานออกร้านของบริษัทต่างๆ ใครมีสินค้าเด่นก็งัดมาโชว์ งานนี้ที่พิเศษจะมีสินค้าเศรษฐีมาแสดงด้วยเช่น นาฬิกาแพงๆสมัยนั้นน่าจะเป็น Movado มีพวกเรือนทองฝังเพชรมาขาย ในงานจะมีงานรื่นเริงต่างๆ เช่น รำวง ลิเก โขน ละครลิง พวกมอร์เตอร์ไซด์ไต่ถัง เมียงู จรเข้ยักษ์ ชิ่งช้าสวรรค์ พวกนี้เหมือนกันทั้งสองงาน ในงานวชิราวุธก็มีเหมือนกัน คือ โชว์หลอกเด็ก หลอกตังค์ผู้ใหญ่ เมียงูมีมาตั้งแต่สมัยนั้น ไม่มีอะไรเลย คือ เอางูเหลือมมาหนึ่งตัว ผู้หญิงใส่ชั้นในมาหนึ่งคน บางครั้งก็ถอดข้างบนออกแต่เอางูบัง เด็กห้าสิบสตาง ผู้ใหญ่หนึ่งบาท นอกนั้นแล้วจะเป็นการทำหลอก เช่นเอาคนไปอยู่ใต้โต๊ะ แล้วโผล่หัวออกมา ทำเหมือนมีแต่หัวมาวางบนโต๊ะ งานนี้เคยมีการประกวดสาวงามด้วยใช้ชื่อว่านางสาวสยาม งานเลิกจัดปีไหนจำไม่ได้ ......
ความร่มรื่น....ของคลองที่อยู่คู่กับกรุงเทพ....ในอดีต
ความร่มรื่นและรถที่ยังมีน้อยหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม
ประตูน้ำช่วง 2523-2525 - รถติดน่าดูเลย (จาก Moderator Wiz)
ประตูน้ำ 2516.... รถยังติดเต็มถนน
ภาพถ่ายผู้คนเดินข้ามสะพาน ฝีมือคุณ 'รงค์ วงศ์สวรรค์ ที่สะพานพุทธยอดฟ้าสมัยที่ยังมีโรงไฟฟ้าวัดเลียบ
สี่แยก ปทุมวันสมัย ปี 2527
ภาพแรกเริ่มการก่อสร้างทางด่วนคร่อมสะพานข้ามแยกลาดพร้าว
ภาพการทำงานของตำรวจจราจร...ในอดีต ที่ถนนเจริญกรุง บริเวณหัวถนนสุรวงศ์
รถสามล้อที่เคยมีวิ่งมากมายใน กทม. เป็นภาพถนนเจริญกรุง ตรงแยกแปลงนาม ถ่ายไปทางสามแยกภาพนี้ถ่ายในปี 1950 หรือ พ.ศ. 2493 ถ่ายโดยนาย Dmitri Kessel จะเห็นร้านทอง "เซ่งเซียงหลี"ริมภาพขวามือ เหตุที่มรคนเยอะเพราะเป็นงานเทกระจาดของศาลเจ้าจีนกวางตุ้งที่อยู่ถัดไปด้านบนของภาพ
ถนนราชดำเนิน.....โล่งและสะอาดมากๆ ภาพนี้ช่างภาพนิตยสาร Life ถ่ายราวๆปี 1950 ภาพออกมาสวยขนาดนี้เพราะใช้ฟิล์มสีราคาแพงลิบลิ่วได้
ถนนราชดำเนินในอดีต ถ่ายแถวสะพานผ่านฟ้า หน้่าตึก ไทยนิยมพานิชย์ (TNP) ที่สายการบิน BOAC (ตอนนี่้คือ British Airways) ตอนนี้กลายเป็นสำนักงานใหญ่ของเทเวศน์ประกันภัยแล้ว - ในยุคสามล้อยังมีวิ่ง (ราวๆ 2493 - 2502)
ภาพถ่ายเก่าย่านเสาชิงช้า 1968
วงเวียนโอเดียนยังเห็นโรงหนังโอเดียนอยู่ กำแพงที่เห็นสีเหลืองๆคือกำแพงวัดไตรมิตรวิทยารามค่ะ
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปี 1967
ภาพนี้น่าจะเป็นถนนพระราม1 ตัดกับถนนอังรีดูนังต์(แยกเฉลิมเผ่า) ตอนนี้ยังไม่มีสยามพาราก้อน และสถานีรถไฟฟ้า bts และรถวิ่งเลี้ยวขวาย้อนขึ้นไปแยกราชประสงค์ได้ด้วย
หลุมหลบภัยหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง ลักษณะแตกต่างจากที่อื่นๆที่สร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า...ปัจจุบันกลายเป็นน้ำพุไปแล้วค่ะ.....ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2487 กรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับการทิ้งระเบิดของข้าศึก สถานที่จุดยุทธศาสตร์ถูกทิ้งระเบิด เช่น สะพานพระราม 6 หัวลำโพง เขตถนนสี่พระยา สุริวงค์ สีลม โรงไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสน ถูกระเบิดเสียหายมากจนใช้การไม่ได้ รถราง ไฟฟ้า และน้ำประปาหยุดหมด ประชาชน ประสบความทุกข์ยากเพราะการอพยพหนีภัยสงครามและต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เครื่องอุปโภค บริโภค ตลอดจนยารักษาโรคราคาแพงมาก
ห้างเมืองทอง เยาวราช ข้างเทียนกัวเทียน เป็นภาพตู้โชว์ภายในห้าง ภาพจากนักข่าวตปท. จากยุค 50's กับภาพแขกยามเฝ้าประตู(แขกจริงๆค่ะพร้อมชุดและสายสะพายเต็มยศ)ภาพจากนักข่าวตปท. จากยุค 50's
โลลิต้า แหล่งบันเทิง ชื่อดัง บนถนนราชดำเนิน ภาพนี้เป้นภาพหน้าปกแผ่นเสียง ถ่ายจากหน้า โลลิต้า ไนท์คลับ ไนท์คลับดังที่อยู่คู่ กทม. โลลิต้า ถนนราชดำเนิน ชื่อเอามาจากหนังดังของ Stanley Kubrick ที่ออกฉายในปี 2505 เรื่อง Lolita ที่มี James Mason แสดงเป็นอาจาร์ยชรา ที่ไปหลงรักเด็กสาว Lolita ที่แสดงโดย Sue Lyon ในสมัยนั้นสังคมจะต้อต้านและประนามการกระทำ โคแก่กินหญ้าอ่อน
เป็นสี่แยกที่ถนนวรจักรตัดกับถนนเจริญกรุง ชื่อสี่แยกนี้มาจากชื่อ บริษัท S.A.B ซึ่งมีอาคารที่ทำการบริษัทตั้งอยู่บนถนนวรจักร บริษัท S.A.B เป็นคำย่อของ โซ เซ เอ เต อานอนนิม เบลซ์ (Societe Anon yme Belge) เป็นบริษัทของชาวเบลเยียม ตั้งขึ้นเมื่อราวพ.ศ.2455 เมื่อแรกตั้งบริษัท S.A.B เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ เครื่องอะไหล่รถยนต์ และอู่ซ่อมรถ ต่อมาขยายกิจการ เปิดจำหน่ายสินค้าที่สั่งมาจากต่างประเทศ เช่น นาฬิกายี่ห้อเซนนิต อีเลกชั่น แบคชมิค และยุงฮันซ์ พร้อมรับแก้นาฬิกาทุกชนิด นอกจากนี้ยังมีเครื่องเพชร เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องแก้วเจียระไน น้ำหอม สบู่หอมยี่ห้อต่างๆ ตลอดจนยาสูบ ยาเส้น และเปิดบริการรับส่งสินค้าจากต่างประเทศตามความต้องการของลูกค้า บริษัท S.A.B จึงเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและกิจการก้าวหน้าบริษัทหนึ่งในสมัยนั้น แม้เมื่อเลิกกิจการไป และอาคารของบริษัทได้เปลี่ยนเป็นที่ทำการของหนังสือพิมพ์ซินเสียเยอะเป้าแล้วก็ตาม แต่ชื่อ S.A.B ก็ยังเป็นที่ติดปากประชาชนทั่วไปจนถึงปัจจุบัน โดยเรียกชื่อสี่แยกอันเป็นที่ตั้งของบริษัทว่า "สี่แยก S.A.B"
จากจุดของภาพถ่ายนี้ เดินไปทางขวามือ จะมีตลาดแฟชั่น ทันสมัยที่สุด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งจะสงบ เรียก ตลาดมิ่งเมือง เป็นตึกสไตล์ยุโรป ที่มีลานกว้างอยู่ในตึก แบ่งเป็นห้องๆ ทุกห้องจะเป็นร้านตัดเสื้อสตรี สุภาพสตรีสมัยนั้น ซื้อผ้า พาหุรัด มาตัดมิ่งเมือง ก่อนจะมาดูหนังเฉลิมกรุง
ห้างใหญ่ ของตลาดมิ่งเมือง.. บริษัท รัตนมาลา จำกัด จำหน่าย พวกของนำเข้าจากต่างประเทส อยู่ตรงหัวมุมของตลาดร้านรัตนมาลา ปัจุจุบันเป็นดิโอลด์ฺสยาม เสียดายไม่อยากให้รื้อไปเลย เป็นห้องแถวที่มีความยาวถึง 20 กว่าห้องเห็นจะได้ ผู้ก่อตั้งคือ นายชัย หรือเดิมชื่อ ซุ่นใช้่ บำรุงตระกูล.
ตำรวจรำจราจรที่สี่แยกหน้าร้านทอง เซ่งเชียงหลี ถนนเจริญกรุง ในราวๆปี1950
ภาพนี้ถ่ายที่หน้าอินทรา สังเกตุให้ดี ฟุตบาทใหญ่กว่าถนน ตอนนั้นเดินสบายมาก ฝั่งตรงข้ามมีร้าน ทับทิมกรอบอินทราที่จุดประกายให้ทับทิมกรอบระบาดไปทั่ว อีกอย่างดูภาพจะเห็นรถสองแถวใหญ่ เมื่อก่อนวิ่งอยู่ตามชานเมืองและในซอยใหญ่ๆ แต่ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่รถเมล์ ขสมก. ประท้วงหยุดวิ่ง ทำให้คน กทม.เดือดร้อน แล้วรถสองแถวก็เป็นพระเอกออกมาช่วยชาว กทม. หลังรถเมล์ออกมาวิ่ง พวกสองแถวก็ไม่กลับเข้าซอย ยังคงวิ่งต่อไป จนเป็นปัญหาอยู่หลายปี จนในที่สุดสรุปให้เข้าเป็นรถร่วมบริการ โดยเอารถสองแถวไปดัดแปลงเป็นรถเมล์เล็กสีเขียวในเวลาต่อมา
ถ่ายจากบนสะพานลอย สมัยที่ ร้านทองและบาจา ตรงสี่แยกยังไม่ถูกรื้อไป
ประตูน้ำในอดีต สังเกตุเห็นมีโรงแรมอินทราแล้ว และรถเมล์สาย 17 ยังเป็นน่าจะบริษัท ศิริมิตร วิ่งตามหลังมาเป็นรถเมล์ขาว ที่เห็นถัดไปน่าจะสาย 14 รถเมล์ยังไม่ได้รวมเป็น ขสมก. ภาพนี้น่าจะถ่ายในปี 2516-2517 สภาพทั่วไปจะไม่แตกต่างจากปัจจุบันคือภาพความวุ่นวายและรถติด
พระบรมมหาราชวัง..พ.ศ.2507...แลเห็นตลาดนัดสนามหลวงทางขวามือ
ปี 1940 ย่านการค้าแถบสำเพ็งแล เห็นวัดปทุมคงคาทางด้านขวามือ
ภูเขาทองในอดีตกับวิถีชีวิตผู้คนริมคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง)ปี 1908
พระบรมมหาราชวังยุคที่ยังมีรถลาก(รถเจ็ก)ไม่ระบุปีที่ถ่าย
ภูเขาทองในอดีตกับวิถีชีวิตผู้คนริมคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง)ปี 1908.... เหตุที่ได้ชื่อ คลองโอ่งอ่างเนื่องจากพ่อค้าแม่ค้าในยุคนั้น จะนำโอ่งและอ่างดินเผาบรรทุกเรือแล้วล่องมาตามคลองนี้เพื่อทำการค้าขายกัน
ภาพถ่ายทางอากาศ คลองผดุงกรุงเกษม สะพานมัฆวานรังสรรค์ ....1951..สังเกตุตรงเชิงสะพานฝั่งซ้ายมือ ที่เป็นต้นไม้ ..ปัจจุบันกลายเป็นน้ำพุไปแล้ว
ในอดีตคลองคูเมืองเดิมเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าเข้ามาในเมืองที่สำคัญเส้นหนึ่งและและบริเวณโดยรอบ ในภาพเป็นภาพคลองคูเมืองเดิมในสมัยที่ยังมีการขายผลไม้และต้นไม้ริมคลอง แต่ก็เลิกไปพร้อมกับการย้ายตลาดนัดสนามหลวง พ.ศ.2521 ส่วนคลองหลอดที่แท้จริงนั้นเป็นคลองที่ตัดออกจากคลองคูเมืองเดิม มีอยู่ 2 คลองด้วยกันคือ 1.ข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม 2.ข้างวัดราชบพิธ
คลองคูเมืองเดิม หรือที่เราๆทั้งหลายเรียกกันจนติดปากว่า คลองหลอด ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา กล่าวไว้ว่า เมื่อ ปีเถาะ ตรีศกศักราช 1333 พ.ศ. 2315 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พระเจ้ากรุงธนบุรี) ทรงพระราชดำริและพิจารณาแล้วทรงเห็นว่ากรุงธนบุรี ยังไม่มีกำแพงเมืองที่มั่นคง พอที่จะได้ป้องกันข้าศึกได้ จึงดำริให้ขุดคลองข้างหลังเมือง ตั้งแต่ป้อมวิไชเยนทร์ (ปากคลองตลาด) วงขึ้นไปถึงศาลเทพารักษ์หัวโขด(เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า) และได้เอามูลดินจากการขุดคลองขึ้นถมเป็นเชิงเทิน แล้วเกณฑ์คนไปรื้อเอาอิฐเก่าที่เมืองพระประแดงและอิฐค่ายพม่าโพธิ์สามต้น สีดุก บางไทรมาก่อเป็นกำแพงเมือง รวมทั้งสิ้น 1800 เมตร
ร้านกรุงเทพบรรณาคารร้านขายหนังสือรุ่นเก่า
ร้านนี้ ชื่อร้าน ย.ร.อันเดร เป็นของชาวเยอรมัน จำหน่ายทองรูปพรรณ ไปจนถึง รถยนต์ ยางรถยนต์ เปิดทำการที่สี่กั๊กพระยาศรี
ย่านเก่าสามยอดในอดีตมองเห็นประตูสามยอดอยู่ตรงสุดปลายถนน..ถนนสร้างมาสวยงามมาก เป็นระเบียบ ย่านสามยอดมีภาพรถรางสายบางคอแหลมกำลังเลี้ยวขวา ไปเฟื่องนครเพื่อไปหมดระยะที่หลักเมือง หรือไม่ก็เข้าถนนเจริญกรุงไปหมดระยะบางคอแหลม -ชื่อ สามยอด มาจากชื่อประตูเมืองชั้นนอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อยู่บริเวณปลายถนนเจริญกรุง มีลักษณะพิเศษคือ เป็นประตูที่มีทางเข้าออก 3 ช่อง แต่ละช่องของประตูทำเป็นยอดแหลมขึ้นไปช่องละยอด ประชาชนจึงเรียกชื่อประตูตามลักษณะพิเศษนั้นว่า "ประตูสามยอด" ต่อมาจึงเหลือสั้นๆ เพียงคำว่า "สามยอด"
ประตูสามยอดสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนประตูพฤฒิมาศ ซึ่งเป็นประตูเมืองเดิมที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประตูนี้เคยได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโปรดให้เปลี่ยนจากประตูไม้เป็นประตูก่ออิฐถือปูน บนหลังประตูสร้างเป็นหอรบมุงกระเบื้องมีจั่วหน้า
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตัดถนนเจริญกรุงผ่านประตูนี้ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การจราจรที่ผ่านประตูนี้เริ่มติดขัดเพราะประตูคับแคบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์เป็นแม่กองเปลี่ยนแปลงประตูจากช่องเดียวเป็นประตู 3 ช่อง ติดต่อกัน บนประตูแต่ละช่องมียอดแหลม ด้วยลักษณะที่แปลกกว่าประตูอื่นๆ ประชาชนจึงเรียกประตูนี้เป็นสามัญว่า "ประตูสามยอด" และเรียกบริเวณนี้ว่า "ตำบลสามยอด" ย่านตำบลสามยอดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นย่านที่มีประชาชนคึกคักมากย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ เพราะเป็นที่ตั้งโรงหวย กข.ของขุนบานเบิกบุรีรัตน์ หรือ ยีกอฮง (ต้นตระกูลเตชะวณิชย์) ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การจราจรบนถนนเจริญกรุงเริ่มคับคั่งและติดขัด จึงโปรดให้ขยายถนน ประตูสามยอดซึ่งสร้างคร่อมอยู่บนถนนเจริญกรุงเป็นที่กีดขวางการดำเนินการก็ได้ถูกรื้อถอนลงในครั้งนั้น
ในปัจจุบันแม้จะไม่มีประตูสามยอดให้เห็นเป็นประจักษ์พยานแล้วก็ตาม แต่ลักษณะพิเศษของประตูก็ยังคงเป็นที่จดจำของประชาชนทั่วไปมิรู้ลืม ชื่อประตูสามยอดหรือสามยอดจึงได้ใช้เรียกขานสถานที่สำคัญที่อยู่ในบริเวณนั้น อันได้แก่ อำเภอสามยอด กองปราบปรามสามยอด สถานีวิทยุเสียงสามยอด เป็นต้น ข้อมูลจาก"ชื่อบ้าน นามเมือง" โดย คุณ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย
สี่กั๊กพระยาศรี .... ในสมัยอดีต - สี่กั๊กพระยาศรี ภาพนี่ถือว่าคลาสสิกมาก เพราะ ตีพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกการเปิดเดินรถไฟสายใต้ บางกอกน้อย - อู่ตะเภา เมื่อ มกราคม 2459 ด้วย - ภาพนี้มีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติแน่ (โดย Moderator Wiz)
อาคารที่ทำการของห้างนายเลิศ.....เจ้าของรถเมล์ขาวนายเลิศ ที่สะพานเหล็กล่าง ราวๆปี 2470 (Moderator Wiz)
ปั๊มน้ำมัน ตราม้าบิน หน้าวัดพระแก้วถ่ายปี 1950 - ตอนช่วงปี 1946-1957 นั้นสัมพันธมิตรห้ามไทย ขายน้ำมันสามทหารแข่งกะเชลล์และโมบิล/เอสโซ่/คาร์ลเท็กซ์ ทำให้ปั๊ม 3 ทหาร ที่ หลักเมืองซึ่งออกแบบ โดยอาจารย์นารท โพธิประสาท (เปิดบริการ 24 มิถุุนายน 2483) ต้องให้โมบิลเช่าค่ะ ตอนหลังปี 1957 สามทหารก็เข้ามารับช่วงอีกครั้งและก็เปลี่ยนแปลงกลายเป็น ปตท.ในช่วงปี 1978-79 ส่วนปั๊มนี้เพิ่งมาทุบทิ้งตอนฉลองกรุง 200 ปีนี้เอง (โดย Moderator Wiz)
ธนาคารกรุงเทพ สนง.ใหญ่ สีลม ปี ค.ศ. 1973 ปีนั้น ธ กรุงเทพ ย้ายสำนักงานใหญ่มาจากพลับพลาไชย มาอยู่เลขที่ 333 ถนนสีลมทำให้ถนนสีลมคึกคักขึ้นมาทันตาเห็น ทั้งรถ ทั้งคน แต่ใช้ไม่หมดตึก มีการแบ่งเป็นสำนักงานให้เช่า American Express มาใช้ชั้นที่ 11 ทั้งชั้น บ.Lucky Goldstarมาเปิดที่ชั้น 12 ตอนนั้นคุณปิยะพงษ์ไปเตะบอลให้บริษัทนี้ที่เกาหลี เป็นบริษัทเครื่องไฟฟ้า ดูยี่ห้อไม่น่ารุ่ง ภายหลังเปลี่ยนเป็น LG ดังมาจนทุกวันนี้ ตึกเปิดได้ไม่กี่เดือน ซอยข้างตึกที่เป็นตึกแถวก็ปรับเปลี่ยนเป็นร้านอาหาร กิปท์ช๊อป มีร้านหนวดวีดีไอด้วย แผลลอยเริ่มเข้ามา คนที่ว่างๆก็เอาของที่บ้านมาวางขาย อาหารการกิน ขนมเริ่มเข้ามา จากขนมไทยๆก็เป็นของหายากๆ พวกเครื่องประดับ ต่างหู สร้อยข้อมือ ตอนมาเป็นแผงลอย ไม่ถึงปี เปิดเป็นร้านใหญ่โต นั้นคือจุดเริ่มต้นของซอยละลายทรัพย์ ใหม่ๆธนาคารเปิดประตูหลังออกถึงเลย ตอนแน่นๆรับไม่ไหวต้องปิดประตู
ที่อาคารธนาคารกรุงเทพ มีลิฟท์ผู้บริหารด้วยนะ และที่สำคัญชั้นบนสุดมีภัตตาคารและห้องดิสโก้ด้วย มีกุ๊กจากห้อยเทียเหลามาประจำที่นี่ เพื่อทำอาหารให้ผู้บริหารและแขกได้รับประทาน ส่วนทั่วไป เชิญชั้น 5 เป็นห้องอาหารประจำตึกอาหารก็ถูก ดูคนสวยไปด้วย สารพัดสาวสวยเดินกันเต็มห้องอาหาร แต่พออยู่นานชักแก่กล้าขาแข็งก็ย้ายไปกิน ร้านอาหารไทย ซอยพิพัฒน์ ที่นี่ไฮโซมาก ๆ ดาราดังๆก็แวะมากิน นึกชื่อเจ้าของไม่ออก ภายหลังไปลอง ภัตตาคารคาร์ตั้นที่ตึกศรีบุญเรือง เลยติด อาหารฝรั่งแบบ จีนจีน ตอนเที้ยงมีเพลงฟังด้วย คุณพราวตา คาราเรือง ร้องอยู่ที่นี้จนปิด
พัฒน์พงศ์.... ปี 1973
แถบดอนเมือง ปี 1959....ก็พ.ศ. 2502 เป็นภาพเครื่องบินกำลังจะแลนดิ้งที่ดอนเมือง.ยุคที่ดอนเมืองยังเต็มไปด้วยทุ่งนา...กับชีวิตริมทุ่ง น่าอภิรมย์จริงๆ
ถนนราชดำเนินนอก ปี ค.ศ.1972รถในภาพนี้ถ้ายังอยู่ก้เข้าขั้นคลาสสิคทุกคัน
ซอยนานาใต้ (สุขุมวิทซอย 4) เห็นป้ายโรงแรมนานาที่หน้าซอย ปี2516 ยุคจีไอครองเมือง (Moderator Wiz)
คลองรังสิต ค.ศ.1959....ชีวิตริมคลองที่ยังไม่มีก๋วยเตี๋ยวเรือมีแต่แตงรังสิตที่ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณได้ร้องบรรยายภาพของทุ่งรังสิตในยุคนั้น
ถนนราชดำเนินนอก ปี ค.ศ.1959ถนนโล่งและว่างจริงๆมีรถวิ่งแทบจะนับคันได้คันที่เห็นอยู่กลางแยกน่าจะเป็น austin van
รูปร่างของรถเจ็ก หรือรถลากในสมัยนั้น ที่จอดรอผู้โดยสารแถววัดโพธิ์
อีกภาพหนึ่งป้ายโฆษณาโค้กกับวิถีชาวบ้าน(น่าจะมีหลายภาพ) เพราะพบเห็นมากกว่า 2 ภาพขึ้นไป
Date taken: March 29, 1950 (2493)
Photographer: Dmitri Kessel
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปี 1951
ดโพธิ์และที่จอดรถรับจ้างสามล้อ, รถเมล์โดยสาร ปี 1951
ราชดำเนิน 1950.....taken by Dmitri Kessel in 1950 for Life Magazine อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อันเป็นแบบที่ชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ การออกแบบได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยนั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย .....แนวความคิดและพิธีก่อฤกษ์ในสมัยจอมพล แปล พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีดำริที่จะจัดสร้างอนุสรณ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในชาติ และพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญของชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนี้นำมาซึ่งความสถาพรแก่ชาติ รัฐบาลจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างอนุสาวรีย์ เมื่อพิจารณาที่เหมาะสมนั้น จึงเห็นว่าบริเวณถนนราชดำเนินที่กำลังมีการปรับปรุงอยู่ในขณะนั้น เป็นพื้นที่ที่้เหมาะสม ประกอบกับขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้างสะพานเฉลิมวันชาติในบริเวณเดียวกัน การสร้างอนุสาวรีย์จะยิ่งสร้างความสง่างามแก่บ้านเมือง รัฐบาลได้จัดการประกวดการออกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนี้ โดยแบบที่ได้รับรางวัลและนำมาจัดสร้างคือแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล....โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการการก่อสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อควบคุมกำกับการก่อสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและ สิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นผู้ช่วยปั้นอนุสาวรีย
พิธีก่อฤกษ์อนุสาวรีย์ได้ถือฤกษ์วันชาติไทยในขณะนั้นคือ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 เป็นวันก่อฤกษ์ โดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เป็นประธานในพิธีมณฑล พิธีเริ่มต้นขึ้นในเวลา 9 นาฬิกา 16 นาที เสร็จสิ้นเมื่อเวลา 9 นาฬิกา 57 นาที
การจราจรติดขัดและรถสามล้อที่หัวลำโพง....taken by Dmitri Kessel in 1950 for Life Magazine
austin van taxi_1965
รถออสตินแวน....ไม่แน่ใจว่าเป็น taxi หรือเปล่า ย่านตลาดบางรักช่วงปี 1959-1960
รถสามล้อถีบรอรับผู้โดยสารที่หน้ากองสลากเก่า บนถนนราชดำเนินในปี 2501 ก่อนที่จะถูกทางการสั่งห้ามวิ่งในเขตกรุงเทพ เมื่อปี 2507 สามล้อถีบจึงได้ย้ายไปบริการอยู่ย่านชานเมืองแทน เช่น นนทบุรี สมุทรปราการในภาพจะเห็นรถ Morris กับ เจ้าออสตินสีเทาสามประตูที่เป็น Taxi สมัยนั้น
ภาพนี้เป็นภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อตอนก่อสร้าง ในยุคสมัย มาลานำไทยของนายกจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ในยุคท่านมีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนี้ก็เช่นกัน เริ่มก่อสร้างเมื่อ 24 กรกฎาคม 2482 โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและก่อสร้าง และงานนี้ได้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ควบคุมทั้งการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 แล้วเสร็จในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 250,000 บาท และทำพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483.. นอกจากนี้ในยุคท่านจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ยังมีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อรำลึกถึงทหารและประชาชนที่เสียชีวิตในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส ทำพิธีเปิดเมื่อ 24 มิถุนายน 2485 ปีที่น้ำท่วมใหญ่ และอีกอย่างหนึ่งที่ยังเห็นอยู่คือสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 (ปัจจุบันคือช่อง 9) ก็เกิดในสมัยท่านเช่นกัน
ตอนแรกจะเปิดปี 2500 เพื่อฉลองกึ่งพุทธกาล เพื่อเป็นของขวัญประชาชน แต่งานทุกอย่างเสร็จเร็ว ภายใต้การดูแลของ ร.ม.ต.ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ทำให้เปิดดำเนินการในวันที่ 24 มิถุนายน 2498 จะเห็นว่ารัฐบาลในสมัยนั้นให้ความสำคัญกับวันชาติเป็นพิเศษ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติครับตอนนั้น มาเปลี่ยนเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ในปี 2503
ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคมสมัยที่กำลังก่อสร้างในสมัยรัชการที่ 5 โดยมี มารีโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี เกิดที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2420 เข้ารับราชการในกระทรวงโยธาธิการแห่งประเทศสยามเมื่อปี พ.ศ. 2443 โดยมีสัญญาว่าจ้างเป็นเวลา 25 ปี เป็นสถาปนิก และสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2458.... นายมารีโอ ตามัญโญ มีผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่สำคัญหลายแห่ง เช่น สะพานมัฆวานรังสรรค์ พระที่นั่งอนันตสมาคม วังปารุสกวัน ท้องพระโรงวังสวนกุหลาบ สถานีรถไฟหัวลำโพง บ้านพิษณุโลก (ชื่อเดิมคือ บ้านบรรทมสินธุ์) พระตำหนักเมขลารุจี ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล (ชื่อเดิมคือ ตึกไกรสร) ห้องสมุดนีลเซนเฮส์ เป็นต้น
มารีโอ ตามัญโญ เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2484
ภาพเด็กสาว 3 คน ใส่ผ้าถุงยืนขายพวงมาลัย กลางถนนพหลโยธิน บริเวณสนามเป้า..ใกล้ๆกับอนุสาวรีย์ชัย ช่วงปี 1970 สังเกตุจะเห็นร้านดังฮะเซ้งมอเตอร์รับทำท่อไอเสีย ร้านเก่าแก่ประจำย่าน..ในภาพเห็นรถเมล์ สีเทา สาย 59 ของบริษัท สหายยนต์ วิ่งระหว่างสะพานใหม่-สนามหลวง....Photo Series of BKK in 1970 by Khun Mike Schmicker
ภาพปี 1970เด็กนักเรียนกำลังข้ามถนนพหลโยธินแถวบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ตรงที่เป็นเนินนี้น่าจะเป็นสะพานข้ามคลองเก่า ส่วนรถเมล์สาย29วิ่งระหว่าง หัวลำโพง-รังสิต(เส้นซุปเปอร์ไฮเวย์)หรือวิภาวดีรังสิตในปัจจุบัน ตอนนั้นยังเป็นรถสีส้มเทาสังกัด บ.ข.ส ในภาพขวาสุดตรงแถวหน้ารถที่หลุดๆขอบคือแท่งเสาบอกหลักเขตทางหลวงกิโลเมตรที่ศุนย์ (ถ้าจำไม่ผิดแท่งนี้จะเป็นรูปปูนปั้นแบบนูนต่ำแสดงแผนที่ประเทศไทยและเส้นทางหลวงทั้งหมด) ..... ต่อมาเมื่อมีการสร้างทางด่วนแท่งหลักเขตนี้ได้หายไปไม่ทราบว่าจะเป็นอันเดียวกันกับที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยหรือไม่ในภาพแถบท้ายๆตรงหลังคารถมล์ยังแลเห็นเสาส่งของช่อง5สนามเป้าด้วย Photo Series of BKK in 1970 by Khun Mike Schmicker
แยกปทุมวันสมัยที่ยังเป็นวงเวียนอยู่ ปี 1970 ภาพนี้คือมุมมองจาก ถ.พระรามที่1 ฝั่งด้านสนามกีฬาแห่งชาติ(สนามศุภ) และ ถ.บรรทัดทอง มองตรงไปข้างหน้าก็คือมุ่งไปทางแยกราชประสงค์ยังไม่มีห้างใดๆ ผุดขึ้น สังเกตุตรงแนวต้นไม้รกๆ ที่มีต้นมะพร้าว นั่นคือจุดที่จะมีศูนย์การค้าสยามจะถูกสร้างขึ้นที่จุดนี้ในเวลาต่อมา credit Willie Wonker
1912 version of Charoen Krung Road [New Road], Bangkok ภาพปี 1912 ตรงแยกสี่พระยา มุ่งหน้าไปตลาดน้อย ตำรวจจราจร กำลังทำหน้าที่ในป้อมที่อยู่กลางแยก คอยบอกสัญญาณเหมือนไฟเขียว ไฟแดง
ภาพเก่า ถนนสีลม ..ในยุคที่ยังมี ธนาคารกวางตุ้งและบริษัทซัมมิท
Lumphinee Park with Khing Vajiravudh Monumentภาพคนเข็นรถ(คล้ายๆเกวียน)บรรทุกสิ่งของที่หน้าสวนลุม ปี 1950
แยกศาลาแดงสวนลุมพินี ปี 1986
ภาพถ่ายเก่าของชาวญี่ปุ่น...ประตูน้ำ ปี 1970ในภาพ รถเมล์ ขาวนายเลิศ สาย 72 วิ่งอยู่ทางขวาของภาพก่อนที่จะมีสะพานลอยให้รถข้าม แยกนี้ก็เคยมีวงเวียนเหมือนกัน สังเกตุตรงระหว่างตอม่อใต้สะพานลอย
ภาพถ่ายเก่าของชาวญี่ปุ่น...ประตูน้ำ ปี 1970 ร้านค้าและรถที่จอดอยู่ข้างทาง
ภาพถ่ายเก่าของชาวญี่ปุ่น...ประตูน้ำ ปี 1970 ภาพความวุ่นวายและ พลุกพล่านของคนข้ามถนน กับการค้าขายของแม่ค้าริมถนนทำให้ประตูน้ำดูโกลาหลที่สุดรถเมล์เหลืองในภาพน่าจะเป็น สาย 13 ของบริษัท บุญผ่องจำกัด
ภาพปี 1961 แถวตลาดน้อย เห็นตึกนายเลิศเด่นเป็นสง่า(ที่อยู่ไกลลิบๆ คือ ตึกนายเลิศเป็นโรงงานทำน้ำแข็งแห่งแรกของประเทศไทย)
ภาพตรงบริเวณ ที่เป็น 5 แยกลาดพร้าวในปี พ.ศ 2509 ก่อนที่จะมีการสร้างสะพานลอยข้ามทางแยกและทางด่วนคร่อมบนสะพานลอยอีกที ในภาพเป็นตอนที่เริ่มมีการจราจรคับคั่งจนต้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจรไว้เพื่อความปลอดภัย (ที่โล่งด้านหลังตรงที่เห็นเป็นต้นก้ามปูนั้น ปัจจุบันเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว) ทิศทางในภาพคือ ทางที่รถเมล์สีเขียว(น่าจะสาย 26)และส้ม(น่าจะสาย34)หันหน้าไปคือทางไปแถวเกษตรศาสตร์ ส่วนถนนที่ตัดขวางจากมุ่มขวาไปซ้ายก็คือจากดินแดงมุ่งหน้าดอนเมือง..
1967, Bangkok, Thailand --- Cars, trucks, and a motorcyclist travel Tripet Road in front of Wat Rajburana. Bangkok, Thailand. --- Image by © Dean Conger/CORBIS © Corbis. All Rights Reserved.ภาพบริเวณเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร และจะเห็นวัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) และรถรางเป็นฉากหลัง การจราจรยังโล่งมากๆ ไม่ติดขัดเหมือนเดี๋ยวนี้ ภาพปี 1967(2510)..
ภาพเก่าปี 1970(2513) สะพานลอยข้ามแยกประตูน้ำ นับเป็นสะพานลอยข้ามแยก(สำหรับให้รถยนตร์วิ่งข้าม)เป็นแห่งแรกของประเทศไทยเปิดใช้เมื่อต้นปี 2509 ถ้าใครเกิดทันต้องจำป้อมตำรวจจราจรที่อยู่ติดกับสะพานแห่งนี้ได้..น่าจะเป็นป้อมจราจรป้อมเดียวที่มีทรงสูงๆแบบนี้นับเป็นเอกลักษณ์ที่อยู่คู่กับสะพานลอยนี้มาช้านานสงสารก็แต่ตำรวจที่ประจำที่ป้อมนี้ไม่รู้ต้องปีนขึ้น ปีนลง วันละกี่รอบ เมื่อจะไปเข้าห้องน้ำหรือ กินข้าวในภาพยังเห็นป้ายโรงหนังเพชรรามาอยู่
china town yaowaraj 1977ถนนเยาวราช ปี 1977 (พ.ศ.2520) โรงหนังศรีเยาวราช ยังเปิดฉายอยู่
ช่วงหน้าหนาวปลายปีแบบนี้...กรุงเทพในอดีตก็มีเทศกาลแห่งความสุขเหมือนกันเช่นป้ายโฆษณาที่เห็นเป็นป้ายของ คลอสเตอร์เบียร์การ์เด้นที่เคยเปิดเป็นลานเบียร์ที่สยามเซนเตอร์ภาพนี้น่าจะเป็นภาพตรงแยกปทุมวันเมื่อในอดีต
ถ.นครไชยศรี เขตดุสิตเมื่อ 50 ปีก่อน
bkk 1979 siamsquareสยามสแควร์ ซอย 1 แถวโรงหนังสกาล่า ปี 2522
ภาพร้านสีลมโฆษณา บนถนนสีลม(ปัจจุบันไม่ทราบว่าอยู่ตรงตำแหน่งใด) ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายนิตยสารจากต่างประเทศ เช่น time magazine ในภาพสังเกตุด้านซ้ายมีคลองเล็กๆอยู่ น่าจะเป็นคลองสีลมในอดีต อีกทั้งยังเห็นรถรางสายสีลมอยู่ในภาพด้วย.... creditDate taken 1950 (2493)..Photographer-Dmitri Kessel
A bungalow setting in the Suttisarn/Inthamara Roads District Soi's 39-41.....ภาพถ่ายจาก GI. ในอดีต เมื่อแถว ย่านสะพานควาย ได้เป็นที่พำนักของเหล่าทหารอเมริกันในช่วงสงครามเวียดนาม....ในภาพเป็นแบบบ้านในยุคนั้นที่อยู่บริเวณ ซอย อินทามระ 39 และ 41
hailand 1956-1957.... ภาพความสวยงามของรถ คลาสสิคและถนน ราชดำเนิน ยุคปี 2499 credit MikeLaw804
thailand 1956-1957......ไซเลอร์เบเกอรี่ บริษัทผลิตขนมปังและเบเกอรี่ ที่มีชื่อเสียงในอดีต ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ตรงปากซอยสุขุมวิท 51 ภาพเก่าปี 2499 credit MikeLaw804
thailand 1956 -1957 petchburi rd ภาพเก่าบนถนนเพชรบุรี ยุคปลายปี 2499 ต่อ ต้นปี 2500.. ป้ายหาเสียงบนเสาไฟ.. พิบูล น่าจะเป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่วน บัญญัติ คือ พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ เดช คือ พลเอก เดช เดชปฏิยุทธ (หลวงเดชปฎิยุทธ) คราวเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ ปี 2500 .......credit MikeLaw804
bkk 1973.. ภาพเก่า ถนนเพชรบุรี ก่อนถึงแยกนิคมมักกะสัน ปี 2516 เห็นป้ายรถเมล์รุ่นเก่า ระบุว่าเป็นสาย 38 และ อีก สายตัวเลขไม่ชัดแต่น่าจะเป็นสาย72 มีรถรุ่นคลาสสิค จอดอยู่หลายคัน.. ที่ชอบคือ โลโก้ pepsi รุ่นเก่า พื้นเหลือง พร้อมสโลแกน ดื่มเป็ปซี่ ดีที่สุด.. credit rokid47
bkk 1975 credit unipix's photostream แยกราชประสงค์รถติดมากมาย เห็นรถรุ่นเก่าหลายๆคัน รวมทั้งรถเมล์ยุค 24 บริษัทที่ยังเป็นรถสีๆ อยู่ ภาพปี 2518
ร้านลิตเติลโฮม เบเกอรี่ สาขา สุขุมวิท ปี 2505 ร้านเบเกอรี่ดังในอดีตอีกร้านหนึ่ง.....bkk 1962
Bangkok,Wat Phra Keo-1974.... โค้งตรงหัวมุมสนามหลวง หน้าวัดพระแก้ว ปี 2517.. รถเมล์ยังเป็นรถเมล์ สี ยุค 24 บริษัท รถแท็กซี่ทรงนิยมหลายๆคัน ยังวิ่งหาผู้โดยสารอยู่ credit cm Bergfex
Bangkok-Wat Sraket am_Gold.mouthain-1974.... ถนนราชดำเนิน สมัยที่ยังมีโรงหนังศาลาเฉลิมไทยอยู่ทางขวามือ(แต่ไม่เห็นในภาพ) จะเห็นป้อมมหากาฬและภูเขาทอง กับรถเก่าอีกหลายคัน.. credit cm Bergfex
Th BKK 1974 sala chalermthai theatercredit John Holtzclaw ถนนราชดำเนินตรงหน้าโรงหนังศาลาเฉลิมไทย เห็นป้ายคัตเอ้าท์เรื่อง เรื่อง หัวใจ 100 ห้อง นำแสดงโดย กรุง-ไพโรจน์-นรา-อรัญญา-รุ้งลาวัลย์-ปิยะมาศ สร้างโดย บางกอกการภาพยนตร์ ของ อุไรวรรณ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดงโดย วินิจ ภักดีวิจิตร เข้าโปรแกรมฉายวันที่ 28 ธันวาคม 2517 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมไทย และ สามย่าน รถเก่าที่วิ่งอยู่มีอะไรบ้างช่วงแจงรายละเอียดหน่อย.. ภาพปี 2517
Thailand 1960.... คลองผดุงกรุงเกษมในยุค 60 สมัยที่ยังใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้ ทำเนียบรัฐบาลอยู่ด้านซ้าย(สังเกตุลักษณะแนวรั้วยังลวดลายเหมือนเดิม).. ด้านหน้าตรงไปจะมองเห็นสะพานมัฆวานรังสรรค์ credit Robin
bangkok street 1967.. ท้องถนนยุคปี 2510 เป็นภาพถ่ายในรถบนถนน จักรพงษ์ ย่านบางลำพุ เห็นวัดชนะสงครามอยู่ด้านขวาข้างหน้า credit Paul ansky
Street fountain 1964 ภาพวงเวียนราชเทวี ปี 2507 สมัยที่ยังมีป้ายโฆษณาโปรแกรมหนังของโรงแกรนด์ คิงส์ และ ควีนส์
vibhavadi rangsit road (super highway).. bkk 1972.. สภาพถนนวิภาวดีฯ ใกล้ๆกับสนามบินดอนเมือง ช่วงปี 2515.. โล่งและว่างจริงๆ
BANGKOK 1980 SILOM ROAD ถนนสีลมในปี 2523 ยังมีเกาะกลางที่ปลูกดอกไม้สวยๆอยู่..ภาพนี้เป็นถนนสีลมที่ใกล้ๆแยกศาลาแดง ตึกสวิสแอร์ด้านซ้าย และใครที่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนพาณิชวิทยาลัย ต้องชอบภาพนี้แน่ เพราะทันได้เห็นป้ายชื่อโรงเรียนและแนวรั้วที่อยู่ตรงฝั่งขวาของรูป credit Norm Mark
BANGKOK 1979 Rajdamri Arcade. ที่ถนนราชประสงค์ ปี 2522ถัดไปอีกนิดเดียวก็จะเห็นราชดำริอาเขตแบบเต็มๆแล้ว แต่ยังเห็นปีกทางด้านซ้ายของตัวอาคารอยู่ เห็นป้ายตราBang Bang ร้านขายยีนส์ชื่อดังอยู่ และยังเห็นป้ายทางเข้าห้างไทยไดมารูอยู่ในภาพยังเห็นรถสองแถวที่ยังคงมีวิ่งใน กทม.ช่วงนั้น แน่นพอๆกันกับรถเมล์ ในชั่วโมงเร่งด่วน..ซิ่งมาก แต่ชอบจอดแช่ป้าย คนเก็บค่าโดยสารจะมีที่นั่งประจำท้ายรถดังภาพ credit Carlos Rojo
BANGKOK 1979 SILOM ROAD ตึกสวยของ ไอ บี เอ็ม หัวมุมถนนสีลม ตรงแยกศาลาแดง..ภาพเก่าปี 2522 เด็กนักเรียนผู้หญิงทางขวาใส่ชุดเหมือนเครื่องแบบนักเรียนที่โรงเรียนเก่าเลย credit Carlos Rojo
klong bkk 1960ภาพบรรยากาศริมคลองเปรมประชากรที่หน้าวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ในปี 2503
Canal behind City Hotel 1964 Bangkok.... ภาพถ่ายเก่าคลองแสนแสบ..ใกล้ๆกับสะพานเฉลิมโลกเมื่อปี พ.ศ. 2507
BKK 1962ภาพถ่ายเก่าที่กรุงเทพ ย่านวังบูรพา เมื่อปี พ.ศ.2505.. เห็นรถเก่าๆอยู่หลายคัน..และชอบตัวหนังสือป้ายชื่อที่หน้าร้านมาก ออกแบบได้เรโทรจริงๆ
BANGKOK 1966.... ป้ายปักประชาสัมพันธ์การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ปี 2509 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ในบึงน้ำแถวจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับสายซุปเปอร์ไฮเวย์ข้างหลังป้ายประชาสัมพันธ์มีช่องให้เลี้ยวกลับรถเพื่อย้อนไปทางพหลได้ด้วย....ปัจจุบันที่ตรงนี้คือแถวแยกอนุสรณ์สถาน
bkk 1975 credit unipix's photostream ถนนเพลินจิต เห็นเซนทรัลสาขาชิดลม ในรูปโฉมสมัยก่อนและอาคารของการไฟฟ้านครหลวงอยู่ติดริมถนน ในภาพรถเมล์สาย 25 สีส้ม ยังดูเหมือนรถ บขส.อยู่ ส่วนรถคันสีน้ำเงินที่อยู่ติดกับรถบัส เป็นเหมือนรถส่งนักเรียนที่นิยมรถรูปทรงแบบนี้..ภาพปี 2518
BKK 1981 YAOWARAJ RD. ..ถนนเยาราช พ.ศ.2524l ใกล้ๆแยกเฉลิมบุรี..ยังเห็นป้ายโรงหนังเฉลิมบุรีอยู่ทางขวา เห็นป้ายร้านเก่าของห้องอาหารอาจิว และป้ายโฆษณาน้ำอัดลม RC
Bangkok 1988 ถนนพระราม1 แถวย่านสยามสแควร์ ปี 2531 ทางซ้ายมือยังเห็นความร่มรื่นย์ของแนวต้นไม้ และป้ายทางเข้าโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนลตัน
Bangkok 1988 แยกปทุมวันปี 2531 เลี้ยวซ้ายที่แยกคือทางไปสนามกีฬาถ้าตรงไปทางที่เห็นโฆษณาซิป ykk คือไปทางสะพานหัวช้าง,ราชเทวีและอนุเสาวรีย์ชัย
BKK 1990 SIAM CENTER แยกปทุมวัน สมัยที่ยังมีอาคาร สยามเซ็นเตอร์ ปี 2533
BKK 1967 ภาพเก่าของรถโฟล์คตู้น่าจะเป็นรถที่ใช้บริการแขกของโรงแรมเอเซีย ภาพปี 2510
Soi 38 in 1982แถวปากซอยสุขุมวิท 38 เมื่อปี 2525
BKK 1989เฉลิมราษฎร์ พึ่งจะเคยเห็น ดูเหมือนจะเป็นโรงงิ้ว ที่ตั้งอยู่บนถนนเยาวราชภาพเก่าปี 2532
BKK 1989 รถกุดังรุ่นเก่า.ถ่ายจาก ถนนมังกร ข้างวัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกรกมลาวาส).เป็นรถกุดังของร้านเอี๊ยะเซ้ง ที่อยู่ปากซอย ด้านถนนเจริญกรุง....ภาพถ่ายเมื่อปี 2532..แต่รถน่าจะเก่ากว่านั้นมาก.. และในปีนั้นน่าจะยังใช้วิ่งได้อยู่นะ เพราะคนที่หลับอยู่บนรถน่าจะเป็นคนขับรถของคันนี้.เครดิต รายละเอียด คุณ หมู เวสป้า..
BKK 1974ภาพรถเก่าที่เชิงสะพานพุทธฯ ฝั่งพระนคร ยุคปี 2517
Silom on the corner of Soi Sala Daeng -bkk 1984 (up) and now 2013 (low)ภาพเปรียบเทียบถนนศาลาแดง สีลม ยุค พ.ศ.2527 และ 2556 อาคารตึกแถวเก่ามุมถนนยังไม่เปลี่ยนแปลงมากเท่าไร..แต่ที่เปลี่ยนคือมี รถ BTS เพิ่มขึ้นมาทางขวาของภาพ credit Bobcock
1977 bkk Petchburi Rd. ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ปี 2520.. ทางซ้ายเห็นร้านสุกี้เรือนเพชร ..สุกี้ร้านดังที่กินมาตั้งแต่ยังเด็ก สมัยนี้ก็ยังอยู่และยังอร่อยเหมือนเดิม.. ด้านขวาเป็นนิวยอร์คอาบอบนวด....credit Holger Bauer
Pratunam Thailand 1983....สะพานลอยข้ามแยกประตูน้ำปี 2526 แถวนี้รถติดมาตั้งแต่ในยุคอดีตแล้ว..ซุ้มทางซ้ายน่าสนใจมากแหล่งรวมขนมจีนของย่านนี้ในอดีต..คนรุ่นเก่าๆต้องเคยไปนั่งชิมมาแล้ว
Pratunam Thailand 1983.... สาย 58 ขณะวิ่งลอดใต้สะพานลอยข้ามถนนที่ประตูน้ำเมื่อปี 2526 .
Pratunam Thailand 1983.... ภาพการค้าขายริมถนนแบบหาบเร่แผงลอยที่ประตูน้ำในสมัยปี 2526..ยาวตลอดแนวเส้นถนนจากสี่แยกจนไปจรดแถวๆ หน้าโรงแรมอินทราคนบนฟุตบาทแทบไม่มีที่เดินและยืนเพื่อขึ้นรถเมล์จนทาง กทม.ต้องมาจัดระเบียบแบบในปัจจุบัน
Pratunam Thailand 1983....แยกประตูน้ำมองไปทางฝั่งถนนเพชรบุรีตัดใหม่เมื่อปี 2526ทางขวามือยังเห็นป้ายชื่อโรงหนังเพชรราม่าที่เรียงด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษอยู่ริมถนนส่วนซ้ายมือที่เห็นคนเยอะๆนี่คือทางเข้าตลาดเฉลิมโลก
RAMA 4 Rd. bkk 1967 ....ถนนพระรามสี่ พ.ศ.2510 สงสัยกำลังอยู่ในช่วงขยายถนน เพราะยังเห็นบ้านไม้แบบสองชั้นอยู่ริมถนนด้วย..ภาพนี้อยู่แถวๆ โรงหนังรามา credit Hank Brady
1961 YAOWARAJ Road BANGKOK ..ถนนเยาวราชปี 2504 แถวย่านเวิ้งนาครเขษม ยืนถ่ายโดยหันหลังให้สะพานเหล็ก ปัจจุบันตึกในภาพอยู่เกือบครบ ป้ายรถรางอันสุดท้ายเห็นลางๆ ตึกแถวและตัวอาคารทรงแบบเก่าทั้งสิ้น (แต่คงทันสมัยสำหรับยุคนั้น).รถรางนี้ต้องเป็นสายสามเสน และ รถ เมล์นิสสันดีเซลสีฟ้าสดของ รสพ. นี่ก็ต้องเป็นรถเมล์ สาย 1 (ท่าเตียน - ถนนตก) ที่กำลังบ่ายหัวไปทางสะพานเหล็กและกำลังจะไปสุดสายที่ท่าเตียน (Moderator Wiz)....credit Keith's Old Military Photos
King Taksin Monument . People call it Wongwainyai.1961....ภาพที่หาดูยากอีกภาพหนึ่ง วงเวียนใหญ่สมัยเก่าที่เป็นภาพสี..ไม่ค่อยพบเจอกันนัก..ภาพนี้ปี 2504 เสาไฟฟ้ารอบๆสวยงามมาก..อาคารบ้านเรือนรอบวงเวียนเหล่านี้ยังดูสวยงามมาก....credit Keith's Old Military Photos
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่ พ.ศ.2505
Wong Wien Yai 1960 thonburi วงเวียนใหญ่ ยุค 60 มันช่างดูเงียบสงบเสียจริงๆแทบไม่เห็นรถสักคัน
siam-1950-charoen-krung-road-yaowarat-road-crossing... ภาพเก่าย่านวงเวียนโอเดี้ยน ราวปี 2493 วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนอยู่หัวถนนเยาวราช เป็นจุดตัดของถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราชและถนนมิตรภาพไทย-จีน อยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวงเวียนที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับถนนเยาวราช เคยเป็นศูนย์รวมสถานบันเทิง เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ปัจจุบันปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
ร้านค้าในย่านนี้จะเรียกกันว่า ร้านค้าย่านโอเดียน เป็นย่านเก่าแก่ที่เป็นที่มาของชื่อ เซียงกง แหล่งเครื่องยนต์มือสองและอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นยุคแรกๆค่ะ ปัจจุบัน ยังมีร้านค้าเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น ร้านค้าอะไหล่รถยนต์ อะไหล่แทรกเตอร์ ร้านค้าโลหะและร้านค้าเครื่องเรือ
....ชื่อวงเวียนโอเดียน ได้มาจากชื่อโรงภาพยนตร์โอเดียนของค่ายรามา เจ้าของโรงภาพยนตร์โอเดียนรามาและสิริรามา ปัจจุบันเลิกกิจการไปหมดแล้ว และรื้อทิ้งไปแล้วด้วย
วงเวียนโอเดียน เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ สร้างขึ้นและทำพิธีเปิดโดย จอมพลประภาส จารุเสถียรในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ และในปี พ.ศ. 2542 ชาวไทยเชื้อสายจีน บริษัท ห้างร้าน กลุ่มมวลชน หน่วยงานราชการได้ร่วมใจกันจัดสร้างซุ้มประตูวัฒนธรรมไทย–จีน หรือ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายเป็นราชสดุดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นสัญลักษณ์ของไชน่าทาวน์
ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ ออกแบบโดยช่างผู้ชำนาญด้านศิลปกรรมของจีน มีความสวยงามด้านสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม ยอดหลังคาซุ้มประตู ประกอบด้วยมังกร 2 ตัว ชูตราสัญลักษณ์ "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542" และทองคำบริสุทธิ์หนัก 99 บาท ที่หุ้มพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. หมายถึง ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เทิดทูนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้เหนือเกล้า ใต้หลังคาซุ้มประตูเป็นแผ่นจารึกนามซุ้มประตู ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจารึกเป็นภาษาไทยด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จารึกอักษรจีน "เซิ่ง โซ่ว อู๋ เจียง" หมายถึง "ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน" พร้อมนามาภิไธย "สิรินธร"
Sukhumvit Rd. bangkok 1988 ถนนสุขุมวิท ปี 2531 เหมือนมีร่องรอยการรื้อถอนเกาะกลางถนนหมาดๆ
bkk 1960lumpinee park สวนลุมพินี ปี 2503 มีเครื่องเล่นและสนามเด็กเล่นให้เด็กๆได้สนุกกันด้วย
Prom pong road bkk 1959ซอยพร้อมพงษ์ในอดีต(สุขุมวิท 39) เมื่อปี 2502 ชอบรั้วบ้านที่เป็นไม้ทาสีขาวแบบนี้จัง..ทำให้คิดถึงอดีต.. บ้านในกรุงเทพสมัยก่อนชอบทำรั้วบ้านเป็นแบบนี้
Three wheelers in Prom pong road bkk 1959..ซอยพร้อมพงษ์ในอดีต(สุขุมวิท 39) เมื่อปี 2502 การเข้าออกในซอยยุคนั้นก็คงต้องอาศัย รถสามล้อถีบรับจ้างคงยังไม่มีมอเตอร์ไซด์วิน แน่ๆ
bkk 1960 มิเตอร์ไฟฟ้า หน้าบ้าน ยุคปี 2503คลาสสิคจริงๆค่ะ
victory monument 1950 bkk รถเมล์ยุคโบราณกำลังวิ่งผ่านอนุสาวรีย์ชัยฯ เมื่อปี 2493
1955 bkk Motorized tricycle เมื่อเมืองบางกอกมีรถถีบสามล้อแบบใช้แรงคนได้ไม่นานก็เริ่มมีสามล้อแบบติดเครื่องยนตร์ที่ทันสมัยกว่ามาให้ชาวกรุงได้ลองใช้บริการภาพเก่าปี 2498
Silom-Road-Bangkok 1975 ถนนสีลม ปี 2518
Klong Boat bangkok 1968 แม่ค้าพายเรืออยู่ในคลองเปรมประชากร (น่าจะเป็นแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวหรือน้ำดื่มที่น่าจะกำลังพายเรือกลับมาจากหน้าวัดเบญฯ และกำแพงที่เห็นน่าจะเป็นรั้วกำแพงของสวนสัตว์เขาดิน ภาพเก่าปี 2511
Klong Ducks bangkok 1969 ในอดีตกรุงเทพฯก็ยังหาคลองที่เป็นธรรมชาติแบบนี้ได้ไม่ยากค่ะ..ถึงขนาดที่มีเป็ดมาว่ายน้ำเล่นกันในคลองเลยและต้นก้ามปูที่เห็นในภาพน่าจะนิยมปลูกในเมืองบางกอกเมื่อครั้งอดีต เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาและดูร่มรื่นมากเพราะเคยเห็นแทบจะทุกที่จากรูปภาพในสมัยก่อน ภาพเก่าปี 2512ต้นก้ามปูนี้เวลามีดอกจะสวยมาก ดอกลักษณะเป็นพู่สีชมภู..ดูภาพนี้แล้วคิดถึงสมัยเด็กที่เอาสวิงต่อด้ามไม้ยาวๆไปไล่ช้อนปลาเล็กๆตามริมคลองข้างถนนแถวบ้าน credit Mike Davis
SILOM Rd. 1972 bkk thailand ถนนสีลม ยุคปี 2515 ซ้ายมือตรงเด็กผู้หญิงเสื้อสีเหลืองยืนอยู่แถวที่เห็นต้นไม้โผล่มาเป็นแนวกำแพงของป่าช้าฝรั่ง และด้านในเป็นที่ตั้งโรงเรียนสว่างวัฒนาและโรงเรียนกว่างเจ้า แถวต้นมะพร้าวตรงกลางภาพคือแยกถนนเดโช เลี้ยวขวาไปตรงนั้นก็เข้าถนนเดโช..
1984_THAILAND - BANGKOKถนน ราชปรารภ ประตูน้ำ ยุคปี 2527 ร้านค้าที่รู้จักข้างทางเก่าๆ ปัจจุบันก็น่าจะยังอยู่กันหลายร้าน เช่น ร้าน เกรทส์ ร้านฟอกซ์ มองตรงไปแถวเสาไฟฟ้าแรงสูงตรงนั้นก็จะมีทางรถไฟตัดผ่าน คือย่านมักกะสัน ตรงริมทางซ้ายของภาพนี้ที่ติดกับทางรถไฟจะมีร้านศิริชัย ไก่อย่าง ต้นตำรับไก่หมุน เจ้าเก่าแก่..ที่เคยเห็นตั้งแต่แอดมินยังเด็กๆแต่ร้านตรงนี้หายไปนานแล้ว..ได้ข่าวว่ามีสาขาอยู่ที่ลาดพร้าว และ วงศ์สว่าง
1984-Surawongse road BKK ถนนสุรวงศ์ ปี 2527
bangkok 1990 แยกปทุมวัน ปี 2533 ยังเห็นอาคารเก่าของศูนย์การค้าสยามและแนวต้นไม้หน้าศูนย์การค้านั้น คือ บริเวณลานเบียร์ คลอสเตอร์ ในสมัยอดีต
LADPRAO 1981 ตึกแถวด้านขวามือที่เห็นคือทางเข้าของแฮปปี้แลนด์ ส่วนถนนที่เห็นคือถนนลาดพร้าว ในปี 2524..ทางซ้ายยังเป็นพื้นที่โล่งๆ..ซึ่งปัจจุบันคือ ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ.. เครดิต ภาพเครดิตคำแนะนำ ชาญณรงค์ บ๊อบบีเคเค จิ๊กโก๋อมตะ
Chitralada Palace or the Chitralada Royal Villa (Thai: พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน) 1930 (พ.ศ.2473)
Bangkok, Sukhumvit 1969.... ภาพเก่าถนนสุขุมวิท ปี 2512 ทางด้านซ้ายที่เด่นชัด โคปา คลับ ถัดไปโรงแรมชวลิตหรือโรงแรมแอมบาสเดอร์ในยุคปัจจุบัน
Street Traffic, Bangkok, 1956 เยาวราช ปี 2499 สมัยที่ยังมีรถรางวิ่ง
Street Traffic, Bangkok, 1956 เยาวราช ปี 2499 สมัยที่ยังมีรถรางวิ่ง
Krung Thep Victory Monument 1987อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปี 2530 (จากฝั่งราชเทวีมองไปทางฝั่งสะพานควาย)ตอนที่ยังไม่มีรถไฟฟ้าBTS ล้อมรอบ credit Kaschu
นนหน้า ม.รามคำแหง 2517 เครดิต หมู เวสป้า
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปี พ.ศ.2504 ด้านถนนพหลโยธิน มุ่งพญาไท มีการแต่งซุ้มฉลองในคราที่พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี เสด็จนิวัตพระนคร หลังจากการเสด็จไปเยือนประเทศในแถบยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซ้ายมือข้างเสาไฟฟ้าคือแผ่นหลักกิโลเมตรที่0 (ที่เป็นรูปนูนต่ำของแผนที่ประเทศไทยที่แสดงเส้นทางหลวงสายหลักของประเทศ)..ที่เคยตั้งอยู่ที่นี่ ไม่รู้ว่าอันเดียวกันกับที่ที่ตรงแยกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย....ชอบรั้วไม้ล้อมต้นไม้ริมถนนจริงๆ.. ในยุคต่อมาเปลี่ยนเป็นรั้วตาข่ายเหล็กแต่ในปัจจุบัน ทำมั้ยไม่สานต่อไม่รู้.. ป่านนี้ถนนทุกเส้นของ กทม. ก็ร่มรื่นน่าเดินไปแล้ว เครดิต ชาญณรงค์ บ๊อบบีเคเค จิ๊กโก๋อมตะ
ห้าแยกลาดพร้าว เมื่อปี พ.ศ.2522-2523 สมัยเซ็นทรัลลาดพร้าวยังไม่กำเนิด และสวนจตุจักรยังโล่งเตียน ถ่ายจากหนังสือ 100 ปี จากบุคคลัภย์สู่ไทยพาณิชย์.. เครดิต คุณ Weerapol Sopasuk
ทิวทัศน์กรุงเทพ ปี 2529 บริเวณแถวประตูน้ำ ถ่ายจากอาคารใบหยก 1 สมัยที่ยังไม่มีโรงแรมอมารี แพลตตินั่ม พาราเดียม สังเกตตรงที่ว่าบริเวณเซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน สมัยเป็นพื้นที่โล่งเตียน หลังจากยุบวังเพ็ชรบูรณ์ ส่วนด้านหน้าเป็นศูนย์การค้าราชประสงค์สมัยเป็นตึกแถว สมัยนั้นยังไม่มีการสร้างตึกสูงบดบังแทนที่ เห็นราชกรีฑาสโมสรอย่างชัดเจน ฝั่งสีลมเริ่มมีตึกสูงกระจุกมากขึ้น ด้านซ้ายมือจะเห็นเซ็นทรัลชิดลม โรบินสันราชดำริ ราชดำริอาเขต เดอะมอลล์ราชประสงค์ และอัมรินทร์พลาซาอย่างชัดเจน ถ่ายจากหนังสือ 100 ปี จากบุคคลัภย์สู่ไทยพาณิชย์...เครดิต คุณ Weerapol Sopasuk
bkk traffic 1981 ภาพรถติดไฟแดงที่แยก หัวลำโพง ปี 2524..ตรงเกาะกลางมีป้ายเขียนไว้ว่า ต้นไม้เป็นเพื่อนชีวิต เจ้าดูดอากาศพิษแทนข้า.. ยุคนั้นยังอยู่ในยุคที่น้ำมันยังมีสารตะกั่วผสมอยู่ ไอเสียที่ออกมายามรถติดจึงเป็นพิษต่อสุขภาพมาก.. กทม.จึงเร่งปลูกต้นไม้ตามเกาะกลางเพื่อช่วยลดมลพิษในอากาศเราจึงเห็นคำขวัญนี้แทบจะทุกแยกถนนในสมัยนั้น
Windsor Hotel on Soi 20 Sukhumvit 1978 พนักงานต้อนรับสาวสวย กับ หนุ่มทหาร G.I ช่วงยุคสงครามเวียตนาม ที่ โรงแรมวินด์เซอ สุขุมวิท 20 เมื่อปี 2521
Sukhumvit_1978 soi 20...... ถนนสุขุมวิท แถวซอย สุขุมวิท 20 ปี 2521
view from Windsor Hotel on Soi 20 Sukhumvit 1978...... มุมมองจากบน โรงแรมวินด์เซอ สุขุมวิท 20 เมื่อปี 2521ย่านสุขุมวิท ยังอุดมไปด้วยต้นไม้ ดูสดชื่นดีจัง..
ถ่ายจากแยกราชเทวี มองไปไกล ๆ เห็นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซ้ายมือตรง Honeywell คือที่ทำการของบริษัทเอื้อวิทยา ฝั่งตรงข้ามที่เห็นต้นไม้เขียวๆ นั้นคือตรงที่เป็นโรงหนังเอเธนส์ ภาพนี้ปี 2512.. เครดิต ชาญณรงค์ บ๊อบบีเคเค จิ๊กโก๋อมตะ
อนุเสาวีย์ชัยสมรภูมิ 2512 ฝั่งถนนพญาไท รถรายังบางตามาก เครดิต ชาญณรงค์ บ๊อบบีเคเค จิ๊กโก๋อมตะ
bangkok in 1971 Statue in square is of Rama VI. The park behind is Lumphini Park. The Dusit Thani Hotel is still there. The view has changed in the intervening years! ....กรุงเทพสมัยปี 2514.. ซ้ายมือถนนราชดำริ ขวาเป็นสวนลุม.. ใกล้เกาะลอย ยังเห็นภัตตาคาร กินรีนาวาอยู่.. ฝีมือถ่ายภาพของฝรั่งที่มาเที่ยวเมืองไทยในปีนั้น..ถ่ายจากห้องพักบนโรงแรมดุสิตธานีชั้น 21
bkk 1966 อาคารโรงเรียนเตรียมทหาร ตรงสวนลุม ที่อยู่ทางด้านถนนพระรามที่4 พ.ศ.2509
แยกราชประสงค์ ..พ.ศ.251.. กว่าๆ เห็นร้านขายผ้าไหม สตาร์ออฟสยาม..ร้านดังที่ตั้งตรงหัวมุมสี่แยก..จากรูปถนนที่เห็นคือถนนราชดำริมุ่งประตูน้ำ..ซ้ายมือที่เห็นป้ายคือฝั่งโรงพยาบาลตำรวจขวาถ้าข้ามเกาะกลางไปก้จะเป้นฝั่งโรงแรมเอราวัณ
bkk 1963 กรุงเทพฯ.. แยกเจริญผล พ.ศ.2506 สมัยที่ยังมีแท๊กซี่ เป็น Austin A35 วิ่งกันเยอะมากในกรุงเทพฯ
1952 Morris Minor MkII in Banco à Bangkok pour OSS 117, Movie, 1964.....รถและถนนในเมืองกรุงยุค พ.ศ.2507 ภาพจากหนังฝรั่งเศส เรื่อง Banco à Bangkok pour OSS 117, Movie, ที่ยกกองมาถ่ายทำที่เมืองไทย
Ratchadamnoen Avenue in Bangkok without year - probably taken by Rabin Bunnag collection around 1950 (Moderator Wiz)
Sathorn Road, Bangkok.1936.... ถ.สาธรในอดีต เมื่อ พ.ศ.2479.. บรรยากาศร่มรื่น น่าอยู่จริงๆ...... เครดิตภาพ วิชาการ ดอท คอม (vcharkarn.com)
victory monument..... ภาพเก่าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ..ในวันวาน ราวๆปี พ.ศ.252..กว่าๆ พื้นที่รอบข้างยังเต็มไปด้วยสนามหญ้าและร่มเงาของดงสนให้ความร่มรื่น สนามหญ้าก็ยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ..พอตกเย็นๆจนถึงหัวค่ำก็กลายเป็นที่ค้าขายของแผงเทปผีต่างๆ..มีให้เลือกกันเพลินเลย
Bangkok 1960 ถนนราชดำเนินนอก
Bangkok, Thailand 1975 โรงหนังแมคแคนนา พ.ศ.2518
เลดี้ ไดอาน่า..ก็เคยมาเยือนไทย เมื่อปี 2531
The Princess of Wales (1961 - 1997) arrives at Bangkok airport wearing an Alistair Blair dress and Philip Somerville hat, February 1988. (Photo by Jayne Fincher/Princess Diana Archive/Getty Images) 2007 Getty Images
พระสิริโฉมอันงดงามของเลดี้ ไดอาน่า..สมัยที่เยือนไทย เมื่อปี 2531The Princess of Wales (1961 - 1997) arrives at Bangkok
THAILAND - CIRCA FEBRUARY 1988: (FILE PHOTO) (PRINCESS DIANA RETROSPECTIVE 5 OF 22) The Princess of Wales smiles February 1988 during a visit to Thailand. Princess Diana, 36-years-old, died with her companion Dodi Fayed, 41-years-old, in a car crash August 31, 1997 in Paris, France. Fayed was the son of an Egyptian billionaire. (Photo by Georges De Keerle/Getty Images) 2002 Getty Images
เจ้าฟ้าชาย ชาร์ล และ เลดี้ ไดอาน่า ขณะล่องเรือชมความงามของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปี 2531THAILAND - 1988 Prince & Princess Of Wales In Thailand On A River Cruise In Bangkok. With Them Is Naval Officer Commander Richard Aylard - At That Time The Prince's Assistant Private Secretary (Photo by Tim Graham/Getty Images) Tim Graham/Getty Images
เจ้าฟ้าชาย ชาร์ล และ เลดี้ ไดอาน่า ขณะชมความงามของวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี 2531THAILAND - 1988 The Prince and Princess of Wales visit The Emerald Buddha Temple in Bangkok, Thailand (Photo by Tim Graham/Getty Images) Tim Graham/Getty Images
น้ำท่วมใหญ่ กทม. ปี 2526.. นัยว่าเกิดจากฝนที่มากเกินปกติ.. ทำให้ คน กทม.ได้รู้จักกับคำว่าน้ำท่วมอีกครั้งหนึ่ง
Commuters brave the flooded streets of Bangkok, 21st September 1983. A common occurrence during the monsoon season, the problem of flooding is exacerbated by the fact that the city is entirely built on swampland and is sinking several centimetres each year. (Photo by Alex Bowie/Getty Images) 2007 Getty Images
น้ำท่วมใหญ่ กทม.ปี 2526 ตอนนั้นเอมยังเป็นเด็กอยู่เลย(เกิดปี2522)..ยังสนุกอยู่เลยไม่ค่อยรู้สึกทุกข์ร้อนเหมือนปี 2554
A canoe makes its way down a flooded street in Bangkok, 21st September 1983. A common occurrence during the monsoon season, the problem of flooding is exacerbated by the fact that the city is entirely built on swampland and is sinking several centimetres each year. (Photo by Alex Bowie/Getty Images) 2007 Getty Images
สาวๆ (พาร์ทเน่อร์ ที่ทำอาชีพเป็นคู่เต้นรำ ..จากการสังเกตพลาสติคกลมสีแดงมีหมายเลขสีขาวที่กลัดอยู่ตรงอกเสื้อด้านขวา) ยุค ปี 2511 กำลังวาดลวดลายอย่างเต็มที่บนฟลอร์ ใน ไนท์คลับ ไม่รู้เต้นจังหวะอะไร
July 1968, Bangkok, Thailand --- Original caption: Bangkok, Thailand: Thai bar girls don the latest fashions to dance the latest dances at bars along the strip. --- Image by © Bettmann/CORBIS © Corbis. All Rights Reserved.
ความสนุกแบบสุดเหวี่ยงของหนุ่มสาวที่ไนท์คลับในยุค พ.ศ.2511
THAILAND - JULY 1968: A Thai teenager dances to Western music in a nightclub; Bangkok, Thailand (Photo by Dean Conger/National Geographic/Getty Images) National Geographic/Getty Images
Newspaper boy,Bangkok 1976 เด็กน้อยยืนขายหนังสือพิมพ์ที่สี่แยกแห่งหนึ่ง เมื่อปี 2519ชอบรถรุ่นเก่าที่มีกระจกหูช้างบังคับให้ลมเข้ารถได้แบบนี้จัง
ภาพถ่ายเก่า ที่มีคุณค่าอีกภาพหนึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 50-60ปี เพราะยังเห็นโรงไฟฟ้าวัดเลียบที่ยังทำงานพ่นควันขโมงทางปล่อง..ก่อนจะถูกทิ้งระเบิดจนได้รับความเสียหายเมื่อ พ.ศ.2488 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คนทางขวามือคือคุณย่าของคุณ ติ๊บ ติ๊บ ติ๊บ ..แฟนเพจที่แชร์ภาพนี้มาให้..ปัจจุบัน คุณย่าท่านเสียชีวิตไปแล้วเมื่อ 30 ปี ก่อน
Phitsanulok, Water houses Thailand 1964เรือนแพริมแม่น้ำน่าน พิษณุโลก ยุคปี 2507
Phitsanulok 1964....วงเวียนน้ำพุและหอนาฬิกา เมืองพิษณุโลก ปี 2507
pratunam Market bkk 1957ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนบางกอก ที่ตลาดประตูน้ำ ปี 2500
prapathomjadee 1960 พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ยุคปี 2503
Grand Palace, Bangkok, Thailand 1961.. พระบรมมหาราชวัง ปี 2504
ภาพถ่ายเก่ายุคสงครามโลกครั้งที่สอง เครดิตคุณ Sornram Arpornrat..( คุณพ่อถ่ายจากเครื่องบิน ท่านเป็นช่างทหารอากาศ ที่ นครราชสีมา ยุคสงครามโลก)หมายเหตุเครื่องบินทิ้งระเบิดเบร์เกต์ 14 ใช้งานในช่วง 2464 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) - 2484 (ต้นสงครามโลกครั้งที่ 2) โดยประจำการอยู่ที่ กองบินใหญ่ที่ 2 (ลาดตระเวน)ดอนเมือง และกองบินใหญ่ที่ 3 (ทิ้งระเบิด)นครราชสีมา สมัยนั้นเรามี 3 กองบินใหญ่ (ช่วง 2464-2475) อีกกองบินคือ กองบินใหญ่ที่ 1 (ขับไล่) อยู่ที่ประจวบคีรีขันธ์....เครดิตรายละเอียด รัชต์ รัตนวิจารณ์
เครื่องบินปีก สองชั้น สมัยสงครามโลกของไทย ที่โคราชเครดิต คุณSornram Arpornrat หมายเหตเครื่องบินทิ้งระเบิดเบร์เกต์ 14 ใช้งานในช่วง 2464 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) - 2484 (ต้นสงครามโลกครั้งที่ 2) โดยประจำการอยู่ที่ กองบินใหญ่ที่ 2 (ลาดตระเวน)ดอนเมือง และกองบินใหญ่ที่ 3 (ทิ้งระเบิด)นครราชสีมาสมัยนั้นเรามี 3 กองบินใหญ่ (ช่วง 2464-2475) อีกกองบินคือ กองบินใหญ่ที่ 1 (ขับไล่) อยู่ที่ประจวบคีรีขันธ์....เครดิตรายละเอียด รัชต์ รัตนวิจารณ์
Thai Boat Noodles 1974..ก๋วยเตี๋ยวเรือหน้าวัดเบญฯ ใครทันได้กินบ้างค่ะ เกือบลืมไปแล้วทีเดียวว่า นอกจากที่อนุเสาวรีย์ชัยฯแล้ว ริมคลองหน้าวัดเบญฯ ก็เคยมีก๋วยเตี๋ยวเรือขายเหมือนกัน ภาพเก่าเมื่อปี 2517.... credit FritsKlijnหมายเหตุ แม่ค้าในรูปเสื้อสีเขียวนี้คือ ป้าสมร น้องสาวป้าสมจิตร..ซึ่งปัจจุบันป้าสมจิตรได้ยกพลก๋วยเตี๋ยวเรือมาเปิดเป็นร้านบนบกมาเนิ่นนานแล้ว ร้านอยู่แถวๆหน้า รร.เซ็นต์คาเบรียล
bkk 1972 หญิงสาวแต่งตัวล้ำสมัยมาก เมื่อเทียบกับยุคนั้น กำลังเรียกแท็กซี่ ไม่แน่ใจว่าเป็นถนนสุรวงศ์หรือเปล่า เพราะอาคารดูคุ้นๆ ภาพเก่าปี 2515 credit Nick DeWolf Photo Archive
bkk 1972.. มาตามหาร้านอาหารเก่าข้างทางกัน ร้านแรกภัตตาคารมักสัน.. ไม่รู้อยู่มักกะสันหรือประตูน้ำกันแน่.. ภาพเก่าปี 2515 credit Nick DeWolf Photo Archive
Phuket-Local Transport-1979 รถสองแถวโดยสารปี 2522 ที่ บางเทา จ.ภูเก็ต
Phuket City-Local Transport-1979 รถสองแถว ภูเก็ต-ป่าตอง จอดอยู่ที่ท่ารถ ในเมืองภูเก็ตปี 2522
Phuket City-1979 ตัวเมืองภูเก็ต ปี 2522
This photo took at the intersection of Chayangkun (main road) and Sapphasit Road in 1967. UBON ภาพเก่าตรงสี่แยก ระหว่างถนน ชยางกูร ตัด กับถนน สรรพสิทธิ์ ปี 2510 ที่จ.อุบลราชธานี
bkk 1972 เสื้อผ้าและทรงผม แฟชั่น ชาวกรุง พ.ศ.2515..เป๊ะ credit
By Nick DeWolf Photo Archive
Highway in southern Thailand 1986 เส้นทางสู่ภาคใต้ในยุคสมัยที่ ชาวต่างชาติยังมาปั่นจักรยานเที่ยว
prachuapkhirikhan A city in southern Thailand 1986 ภาพอ่าวประจวบ จากมุมมองบนยอดเขาช่องกระจกและเขาล้อมหมวกที่คุ้นตา ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2529 credit Al Selvin
1971 bkk krungkasem rd ป้ายทางเข้าตลาดโบ๊เบ๊ ปี 2514 credit Karl Petschauer
Before and after - 42 years difference! Bangkokภาพเปรียบเทียบ บ้านเรือนริมคลองที่อยู่บริเวณที่เป็นจุดตัดกันระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองมหานาค..แถวๆสะพานเจริญราษฎร์ บนถนนกรุงเกษมภาพบน ปี 2514 และ ภาพล่าง ปี 2556 ก็ยังมองเห็นสะพานรถไฟที่ข้ามคลองนี้(อยู่ถัดไปจากสะพานข้ามคลองเล็กๆที่เห็นตรงหน้า)
1960's Toyota Corona(Toyota rt 40 )in 1990 รถเก่าเมื่อวันวาน รถยุค 60 ที่รู้จักกันในนาม toyopet ..แต่เป็นภาพเก่า ปี 1990
Prince Skyline S50 in bkk 1990 รถเก่าเมื่อวันวานภาพปี 1990 credit grolschman
Thailand 1989 ราคาอาหารข้างทาง ปี 2532.. เช่น ข้าวขาหมู เลิศรส แถวสี่แยกอังรีดูนังต์ นี้ แค่ 10-15 บาท ก็อิ่มได้แล้ว..credit Robert Marsden
รูปแบบรถส่งน้ำอัดลม โคคาโคล่า ยุคแรกๆในเมืองบางกอก โรงงานโคคา-โคล่าและโกดัง(เก่า) อยู่บนถนนหลานหลวง ถ้ามาจากแยกหลานหลวงจะอยู่ทางซ้าย ซึ่งต่อมาโรงงานตรงนี้ก็กลายเป็นที่ตั้งของตึก บ.ด.ท. และกรมโยธาธิการในเวลาต่อมา(ตอนนี้เป็นพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า)
ด้านหลังของโรงงานโคล่า ซึ่งเป็นโกดังในภาพ จะอยู่ติดกับซอยเลียบคลองโอ่งอ่าง - โรงแรมม้าทอง (ซอยที่ลงมาจากสะพานดำ เลี้ยวซ้ายไปโผล่กรมโยธา เชิงสะพานผ่านฟ้า) .. ภาพเก่า ราวๆปี 1951(2494)เครดิตข้อมูล คุณ Napan Sevikul
ca. 1946-1956, Thailand --- Loaded Trucks at a Coca-Cola Warehouse --- Image by © Horace Bristol/CORBIS ? Copyright 2013 Corbis
Tour Train-Bangkok Zoo - 1971......สวนสัตว์ ดุสิต เขาดินวนา พ.ศ.2514.... credit Gary
Thailand 1965 ..... งานแห่บั้งไฟแบบชาวบ้านที่อุบล เมื่อพ.ศ. 2508.... credit Hank Lawrence
Sri_Ayudhaya_school bkk 1971งานเลี้ยงปีใหม่ปี 2514 โรงเรียนศรีอยุธยา (ศ.อ.)..
RTAF(Royal Thai Air Force)T-33 at Don Muang,1966.... เครื่องบินไอพ่น T-33 ของกองทัพอากาศไทย สมัยปี 2509 ที่สนามบินดอนเมือง( ที่สนามบินดอนเมือง(กองบิน 1 ดอนเมือง)
RTAF(Royal Thai Air Force)F-5B at Don Muang,1966....เครื่องบินไอพ่น F-5ฺB ของกองทัพอากาศไทย ภาพถ่ายปี 2509 ที่สนามบินดอนเมือง(กองบิน 1 ดอนเมือง)
นักเทนนิสคนดัง บียอห์น บอร์ก กำลังแจกลายเซ็นต์ให้แก่แฟนๆ ชาวไทยเมื่อตอนมาเยือนเมืองไทย ปี 2526
THAILAND - 1983: Bjorn and Marina Borg in Bangkok, Thailand on January 21, 1983 - Bjorn and Marina Borg in Bangkok to get married through buddhist rituals. (Photo by Alain MINGAM/Gamma-Rapho via Getty Images) 2011 Gamma-Rapho
นักเทนนิสคนดัง บียอห์น บอร์ก และแฟนสาว มารินา บอร์กเมื่อตอนมาเยือนเมืองไทย ปี 2526
THAILAND - 1983: Bjorn and Marina Borg in Bangkok, Thailand on January 21, 1983 - Bjorn and Marina Borg in Bangkok to get married through buddhist rituals. (Photo by Alain MINGAM/Gamma-Rapho via Getty Images) 2011 Gamma-Rapho
นักร้องคนดัง เดวิด โบวี่..ก็ยังเคยมาเมืองไทย เมื่อปี 2526โดยมาเล่นคอนเสิร์ทที่สนามกีฬากองทัพบก วันที่ 5 ธันวาคม 2526 จัดโดย night spot ....
David Bowie in Bangkok, Thailand, 1983. (Photo by Denis O'Regan/Getty Images) 2011 Denis O'Regan
Forbes In Bangkok 1984 อีก 1 คนดังที่เคยมาเมืองไทย มัลคอล์ม เอส.ฟอร์บส์ เจ้าของนิตยสารฟอร์บส์ที่ชอบจัดอันดับเศรษฐีโลกในทุกๆปีมาเมืองไทยเมื่อ 2 พ.ค. 2527
American publisher of Forbes magazine, Malcolm Forbes (1919 - 1990), makes a traditional Thai 'wai' greeting, with two Thai dancers, before his assistants launch an $80,000, 90-foot-tall elephant-shaped hot air balloon at the Grand Palace in Bangkok, 2nd May 1984. (Photo by Alex Bowie/Getty Images) 2007 Getty Images
เจ้าบอลลูนช้างสีน้ำเงินที่มาพร้อมกับนายมัลคอล์ม เอส.ฟอร์บส์ เมื่อ ปี 2527
An $80,000, 90-foot-tall, elephant-shaped hot air balloon from the collection of American publisher Malcolm Forbes at the Grand Palace in Bangkok, 2nd May 1984. (Photo by Alex Bowie/Getty Images) 2007 Getty Images
1967 bkk....North American F-86L Sabre Dog (บ.ข.17ก) เป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้น "ทุกกาลอากาศ" แบบแรกของกองทัพอากาศไทย. ภาพปี 2510(จากภาพน่าจะจอดอยู่ตรงทิศตะวันตกของสนามบินดอนเมือง เรียกว่า กองบิน 1 ดอนเมือง)หมายเหตุ ที่เลิกใช้เพราะเน้นระบบเรดาร์ เทคโนโลยีชั้นสูง ยากต่อการซ่อมบำรุงในยุคนั้น. ประกอบกับ ทอ ได้รับมอบ F-5A/B/C/RF-5A มาทดแทน จึงปลด F-86L ในปี 2509-10 จนหมด. บรรจุประจำการในปี 2506 ที่ฝูงบิน 12 กองบิน 1 ดอนเมือง มีประจำการทั้งหมด 20 เครื่อง . ปัจจุบันมีตั้งแสดงอยู่ที่ คปอ. พิพิธภัณฑ์ ทอ. มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย. รร นายเรืออากาศ. และ รร เตรียมทหาร. ที่อยู่ตามกองบิน จะเป็นรุ่น F-86Fเครดิตรายละเอียด... รัชต์ รัตนวิจารณ์
BKK 1967ภาพเก่าปี 2510ภาพไม่ค่อยชัดมากแต่ที่สะดุดตาคือ ป้ายโฆษณาและถ้วยขนาดใหญ่ ที่ทำเป็นรูป ไอศครีมตราเป็ดไอศครีมชื่อดังในอดีต..ทางซ้ายบนบิลบอร์ดจะเห็นที่เป็นแบบแท่งเคลือบช็อคโกแลตกรอบๆแบบเดียวกับไอติมแม็กนั่มในยุคปัจจุบัน..(สถานที่คือหัวถนนสาทรใต้-พระราม 4 บ้านไม้หลังป้ายถูกคลุมด้วยเถาว์พวงชมพูทั้งหลังก็คือ Nick no.1 Hungarian Restaurantเครดิต คุณ Anusorn Saksaree )
SAMLOR 1950 Bang Sue, BKK....รถสามล้อถีบจอดรอผู้โดยสารแถวบางซื่อ..ยุคปี 2494ในสมัยที่เมืองบางกอกยังมีรถแบบนี้ให้บริการ
bkk bar 1970ถนนหน้าร้าน มอสควิโต้บาร์สถานที่เที่ยวกลางคืนที่ฝรั่งรู้จักในยุค พ.ศ.2513.. อยู่ย่านท่าเรือคลองเตย(เห็นหัวรถ ร.ส.พ ที่คุ้นตาด้วย)
bkk bar 1970ดอร์แมนยืนยิ้มแฉ่งต้อนรับนักเที่ยวทางเข้าบาร์ค่าเข้า 20 บาท ในตู้โชว์ทางซ้ายเห็นเหล้ายี่ห้อกวางทองยอดนิยมในยุคนั้น
Barracks (Seri Court) Bangkok 1965 ที่พำนักของทหาร GI. ในกรุงเทพ ปี 2508.. ที่ชื่อ Seri Court (เสรี คอร์ท) บนถนนประดิพัทธ์ ย่านสะพานควายที่มา http://us-seasia.tripod.com/sc/id11.html เพิ่มเติมเป็นความรู้จีไอ หรือ G.I. เป็นคำย่อของคำว่า “Government Issue” หมายถึง หมายเรียกเข้ารับการเกณฑ์ทหารของชาวอเมริกัน ซึ่ง G.I. ในที่นี้ก็คือ ทหาร
อเมริกันที่ถูกเกณฑ์ให้เข้าไปรบในสงครามเวียดนาม โดยเริ่มเข้าประจำการในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเริ่มปฏิบัติการอย่างหนักในช่วง พ.ศ. 2510 ทหารจีไอส่วนใหญ่ได้แก่หนุ่มฉกรรจ์ที่ถูกหมายเรียกเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งคล้ายกันกับทหารเกณฑ์ของไทยตรงที่ คนเหล่านี้เป็นหนุ่มบ้านนอก การศึกษาค่อนข้างต่ำ ดังจะเห็นได้จาก การที่สหรัฐฯถอนตัวออกจากไทย เนื่องจากพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม กลุ่มทหารเหล่านี้ต่างถูกทอดทิ้ง บางรายกลายเป็นปัญหาของสังคมอเมริกัน และกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือเข้ากันกับชาวพื้นเมืองมากที่สุด
Kloster Beer Garden Bangkok 1987.... ลานเบียร์ คลอสเตอร์ที่คิดถึง เมื่อหน้าหนาวมาถึง.... ภาพเก่าปี 2530 credit Restless Rider
BANGSAN BEACH 1964 ภาพแม่ค้าหาบน้ำตาลสดที่เดินเร่ขายตามชายหาดกับนักท่องเที่ยวที่ยืนคู่กับรถคลาสสิค ..ที่ริมหาดบางแสนปี 2507
Petrol station out in countryside - probably headed toward Nakhon Pathom.1961ภาพปั๊มพ์น้ำมันข้างทางตราหอย(เชลล์)..ในปี 2504..(น่าจะเป็นถนนเพชรเกษมก่อนถึงองค์พระปฐมเจดีย์)..ดูน่ารักมากเมื่อเปรียบเทียบกับปั้มพ์ในยุคปัจจุบันที่จะเหมือนเป็นคอมเพล็กซ์เข้าไปทุกที..มีร้านค้าหลากหลายอยู่ภายในที่เดียวกัน..มีทุกสิ่งให้เลือกซื้อ.. ชอบป้ายโลโก้ไฟหน้าปั็มพ์มากถ้าหลุดมาถึงสมัยนี้คงจะแพงน่าดู..ยุคนั้นลิตรละกี่บาทเอ่ย....credit Keith's Old Military Photos
PETCHKASEM ROAD 1961 ถ.เพชรเกษม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ทางหลวงแผ่นดินเพียงสายเดียวที่มุ่งลงสู่ภาคใต้ในอดีต ในภาพเป็นบริเวณแถวๆ จ. นครปฐม เมื่อปี 2504 มีธรรมชาติริมทางที่สวยงามเหมือนภาพวาดถนนยังมีไม่กี่เลน ยังมีต้นตาลและทุ่งนาอยู่อย่างหนาแน่น มีคลองน้ำใสสะอาดอยู่ริมทางcredit Keith's Old Military Photos
Phra Pathom Chedi, Nakhon Pathom.1961 องค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2504 ถ่ายตรงแยกโพธิ์ทอง ดูสงบและร่มรื่นมากๆ มีจักรยานและสามล้อวิ่งกันเต็มเมือง นานๆคงจะเห็นรถยนต์สักคัน..แท่นที่เห็นตรงกลางแยกน่าจะเป็นแท่นสำหรับตำรวจจราจรคอยยืนโบกรถไปมา.....credit Keith's Old Military Photos
Phra Pathom Chedi, Nakhon Pathom.1960ทางเดินรอบๆองค์พระที่เป็นถนนดิน ภายในรั้วของพระปฐมเจดีย์...ดูสงบร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ ผู้คนนิยมสัญจรไปมาด้วย จักรยานและรถสามล้อถีบรับจ้างภาพเก่าปี 2503
PHRAPATHOM WITTAYALAI SCHOOL 1960 รูปเก่าปี 2503 ของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ. นครปฐม credit DON
rachineeburana school at Nakorn Pratom 1961.... ภาพเก่าปี 2504 แถวนักเรียนที่หน้าเสาธงของโรงเรียน ราชินีบูรณะ จ.นครปฐม ในยุคที่ยังใส่หมวกไปเรียนหนังสือ
Another street in town-UBON 1967....ภาพบ้านไม้เก่าอยู่มุมหัวถนน จังหวัดอุบลราชธานี ในปีพ.ศ.2510ยังไม่รู้ตรงไหน รอคนอุบลมาบรรยาย
bkk 1988....กรุงเทพ ยุคปี 2531.. อาหารตามสั่งข้างทางยังมีราคาเพียงแค่ 10 - 15 บาทเอง
THAILAND 1978 Samut Songkhram Provinceเด็กนักเรียนกำลังไปขึ้นรถสองแถวรุ่นเก่า ยุคปี 2521 ที่ จ.สมุทรสงคราม เครื่องแบบนักเรียนยังต้องใส่หมวกขาวไปเรียนอยู่เลย..ที่เสาไฟฟ้าแอบเห็นป้ายบอกวงดนตรีของคุณยอดรักสลักใจน่าจะกำลังมาเปิดการแสดงแถวๆนี้....
THAILAND 1978 Samut Songkhram Provinceป้ายโรงเรียนบ้านฉู่ฉี่ที่ติดอยู่บนศาลาเล็กๆ น่าจะอยู่แถวริมน้ำและอยู่ภายในบริเวณโรงเรียน.. โรงเรียนนี้อยู่แถวๆดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม ภาพเก่าปี 2521
THAILAND 1978 Samut Songkhram Province ใครที่ขับรถลงทางภาคใต้ในสมัยก่อนและเลือกใช้เส้นทางถนนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ ต้องคุ้นตากับนาเกลือที่มีกังหันและระหัดวิดน้ำดังในภาพ..จนบางครั้งถึงกับต้องหยุดรถเพื่อถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกันเลย
THAILAND 1978 Samut Songkhram Province ภาพถนนพระรามสองยุคแรกๆ เป็นเพียงถนนราดยาง 2 เลนสวนกัน และภาพที่คุ้นตากันดีคือ กองถุงเกลือสีขาว ที่เป็นเกลือเม็ดหยาบๆ ที่ชาวนาเกลือแถวนี้บรรจุถุงขายกันข้างทาง
ภาพเก่าปี 2507 ชุมสายโทรศัพท์ ที่ยังต้องอาศัย โอเปอเรเตอร์ ต่อคู่สายให้แบบแมนนวลHistoric--Thailand--1964—Economic Growth—Telephone Centers: The switchboard of the National Toll Center connects eight telephone centers in Bangkok to the long distance system and each other. Photo Credit: Thai American Audio Visual Service
1957the original Friendship Highway, perhaps before it was officially open....ถนนสายมิตรภาพ ถนนที่ได้รับความสนับสนุนจากอเมริกาในการก่อสร้าง ภาพเมื่อปี 2500 คงอยู่ระหว่างในการก่อสร้าง
1957the original Friendship Highway, perhaps before it was officially open.... ภาพถ่ายนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ..ถ่ายกับป้ายจารึกของถนนมิตรภาพ เมื่อปี 2500
ทหารไทยและธงชาติไทยในสงครามเกาหลี.
korat 1968.....โคราช ปี 2511.. รถโดยสารเก่าคลาสสิคมากๆ
korat 1968.... ร้านข้าวแกงริมทางที่โคราช ปี 2511 กับป้ายสังกะสีโลโก้เป๊ปซี่รุ่นเก่าพื้นเหลือง..
1981 Thailand Chieng Mai.. บรรยากาศร้านค้าริมถนนในงานลอยกระทง ที่เชียงใหม่ ปี 2524.. ร้านค้าเล็กๆน่ารัก ไม่ต้องมีอะไรมากมาย ร้านขายน้ำอัดลมยังได้ทันเห็นแก้วกระดาษเคลือบเทียนด้วย
ท่าเรือคลองเตย 2499 เครดิต ชาญณรงค์ บ๊อบบีเคเค จิ๊กโก๋อมตะ
Wat Suendok 1963 วัดสวนดอก เชียงใหม่ 2506
tahpae_Road Chiang Mai.1963 ถนนท่าแพ เชียงใหม่ 2506 เห็นสะพานนวรัฐ อยู่ด้่านหน้าลิบๆ
Another shot of the main street in Chiang Mai, taken in 1963 กลางเมืองเชียงใหม่ ปี 2506 โรงแรมกำธร ที่เห็นนั่นน่าจะเป็นโรงแรมใหญ่ในยุคนั้น
Klong - One of Chiang-Mai's lovely canals 1963.. คลองคูเมืองที่เชียงใหม่ ปี 2506
Rajah Hotel, Sukhumvit soi 4 ....1976 วิวจากโรงแรมราชาโฮเตล สุขุมวิทซอย 4 ปี 2519.. ยังเห็นความร่มรื่นของต้นไม้และยังไม่เห็นวี่แววของตึกสูง.. credit Takeovers Thailand Expat
From-Rajah-Sukhumvit-Soi-4 1976..ของกินในซอย สุขุมวิทซอย 4 และการแต่งกายของชาวกรุงปี 2519.. credit Takeovers Thailand Expat
Restaurant near Sukhumvit soi 4 .... 1976 ภัตตาคาร แถวๆสุขุมวิทซอย4 เสียดายไม่เห็นชื่อร้าน แต่บรรยากาศหน้าร้านคล้าย สุกี้เรือนเพชรมากๆ แต่คงไม่ใช่ ภาพเก่าปี 2519 credit Takeovers Thailand Expat
F-86L - Don Muang RTAFB. 1960's .....CREDIT Gerrit59
Chiang Mai market 1972 ตลาดวโรรส เชียงใหม่ 2515 credit nick dewolf
Chiang Mai market 1972 ตลาดวโรรส เชียงใหม่ 2515 credit nick dewolf
Nightscene BKK. Sukhumvit 1976 ยามค่ำคืนที่สุขุมวิท ปี 2519....credit Takeovers Thailand Expat
Nightscene BKK. Sukhumvit 1976.... ชีวิตยามค่ำคืนที่สุขุมวิท ปี 2519....credit Takeovers Thailand Expat
Nightscene BKK. Sukhumvit 1976.. ชีวิตยามค่ำคืนที่สุขุมวิท ปี 2519 ..น่าจะเป็นแม่ค้าขายส้มตำริมทางที่ให้บริการลูกค้าอยู่ ..เห็นแท็กซี่แล้วคิดถึงหนังเรื่อง ทองพูนโคกโพธิ์เลยcredit Takeovers Thailand Expat
เมืองยะหริ่ง ปัตตานี ปีพ.ศ.2432 ....สภาพเมืองยะหริ่งปี พ.ศ.2432 การคมนาคมลำบากเพราะเป็นทรายลึกเครดิต คุณ 我是伯母 Rati
ท่าเรือด่านศุลกากรจังหวัดปัตตานี 2495.....เครดิต คุณ 我是伯母 Rati
ท่าเรือด่านศุลกากรจังหวัดปัตตานี 2495......เครดิต คุณ 我是伯母 Rati
ประชาชนเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่ปัตตานี เมื่อปีพ.ศ. 2458.......เครดิต คุณ 我是伯母 Rati
BERLI JUCKER PUBLIC COMPANY LIMITED..bangkokบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: BERLI JUCKER PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:BJC) บริษัทดำเนินกิจการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคโดยมีกิจการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ธุรกิจผลิตสินค้าทั้งของกินและของใช้หลากหลายชนิด เช่น ธุรกิจสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์ กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค และกลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิคบริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2425
จุดเริ่มต้นมาจากตระกูลเบอร์ลี่และตระกูลยุคเกอร์ คือนายอัลเบิร์ต ยุคเกอร์และนายเฮนรี่ ซิกก์ ชาวสวิส ได้ร่วมกันก่อตั้ง ห้างยุคเกอร์ แอนด์ ซิกก์ แอนด์โก ในระยะแรกของการดำเนินธุรกิจ ได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโรงสีข้าว เหมืองแร่ ไม้สัก การเดินเรือและการนำเข้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น ห้างเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ แอนด์โก ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานแบบหุ้นส่วนภายในครอบครัวเป็นรูปบริษัท ภายใต้ชื่อ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด ในปี พ.ศ. 2508
ในปีพ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้ง (พระครุฑพ่าห์) ให้แก่บริษัท และใน พ.ศ. 2518 บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งด้วยการเป็นหนึ่งในเจ็ดบริษัทแรกที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทได้แปรสภาพเป็น บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2536
ถนนสาย เชียงใหม่ - ลำพูนในอดีต ราว 50 ปีที่แล้ว
หน้าจะเป็นซุ้มประตูทางเข้างานฉลองรัฐธรรมนูญ ที่สวนอัมพร ที่จัดซุ้มประตูอย่างยิ่งใหญ่ อลังการมากๆ..เขียนไว้ว่า รัฐธรรมนูญจงถาวร ภาพนี้ไม่ทราบปี แต่ต้องก่อน พ.ศ.2500 แน่ๆ สมัยงานฉลองรัฐธรรมนูญยังพอมีความหมายบ้าง เพราะยังเห็นรถสามล้อถีบในภาพเครดิต คุณ ปาน พอพจน์ พฤษภาคม ห้ากก
เครื่องบิน เบรเก้ต์ ที่เชียงใหม่ปีพ.ศ.2467
บ้านทรายทอง 2499....บ้านทรายทอง ยุคแรก แสดงโดย คุณชนะ ศรีอุบล และคุณเรวดี ศิริวิไลและคุณลือชัย นฤนาถ ดาราดังในยุคนั้น
ภาพเก่าบริเวณ ด้านหน้าตลาดเสาชิงช้า สร้างเมื่อรัชกาลที่5 รื้อไปเมื่อปีพ.ศ.2490 (ในภาพน่าจะเป็นช่วงขณะที่กำลังประกอบพิธีตรียัมปวาย โล้เสาชิงช้า)....เรื่องที่เกี่ยวกับตลาดเสาชิงช้านี้ ขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้เล่าว่า ตลาดเสาชิงช้าเดิมทีเดียวอยู่ตรงตึกโค้งสามชั้นริมถนนบำรุงเมือง จะเลี้ยวไปถนนดินสอปัจจุบันนี้ ผู้ใหญ่เล่าว่าที่ตลาดเสาชิงช้านี้ขายทองรูปพรรณ เช่นสายสร้อย กำไล แหวน ตุ้มหู ฯลฯ ทำด้วยทองเหลือง เลยเป็นคำพูดเรียกกันว่า "ทองเสาชิงช้า" มาแต่โบราณ เสาชิงช้าก็อยู่ค่อนไปทางเหนือไม่ได้อยู่ตรงที่อยู่เดี๋ยวนี้ ในรัชกาลที่ 4 นายสกอตต์ นายห้างสกอตต์แอนด์โกนำไฟแก๊สเข้ามาใช้ ตั้งโรงที่ที่พระราชวังถึงรัชกาลที่ 5 ต่อมาในปีพ.ศ.2417 โรงแก๊สระเบิดจึงมาสร้างโรงแก๊สที่บริเวณเสาชิงช้า มีกำแพงทึบ 4 ด้าน ด้านหน้าตรงกับวัดสุทัศน์ เป็นประตูใหญ่ข้างในขุดเป็นสระใหญ่เลี้ยง จระเข้ให้คนเข้าไปดูได้ ต่อมามีบริษัทไฟฟ้าขึ้นจึงรื้อโรงแก๊สหมด ย้ายเสาชิงช้าออกมาตั้งตรงที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้ ตรงโรงแก๊สที่รื้อก็สร้างตลาด คือสร้างเป็นตึกแถวยาวหักวกเป็นรูปสี่เหลี่่ยมจดกันสี่ด้าน เว้นช่องเป็นประตูตรงกลางทุกด้านภายในทำเป็นตลาดใหญ่ แล้วย้ายตลาดเสาชิงช้าเดิมมาตั้งที่สร้างใหม่นี้ ต่อมาในปีพ.ศ.2497 - 2498 เทศบาลได้รื้อตึกตลาดเสาชิงช้านี้ทั้งหมด แล้วทำเป็นลานกว้างใหญ่สำหรับเล่นกีฬา สระจระเข้ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นก็อยู่ตรงกลางลานนี้
ตลาดเสาชิงช้าใหม่ที่สร้างในรัชกาลที่ 5 นั้น ปรากฏตามจดหมายเหตุว่าผู้สร้างตึกชื่อมิสเดอร์ สุวาราโต และเข้าใจว่าจะเปิดตลาดเมื่อปีพ.ศ.2444 (ร.ศ.119)เพราะมีพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งลงวันที่ 25 มีนาคม ร.ศ.119 ถึงกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์แลเจ้าพระยาเทเวศร์วงษ์วิวัฒน์มีความว่า
"ด้วยตลาดเสาชิงช้าตอนข้างในแล้วเสร็จพอที่จะเปิดให้เข้าไปขายของในนั้น รื้อร้านที่โสโครกเสียได้สักคราวหนึ่ง ฉันได้กำหนดว่าจะเปิดในวันที่ 18 คือ เดือน 6 ขึ้นหนึ่งค่ำ เพราะเหตุว่าถ้าจะเปิดในเวลาสงกรานต์ จะเป็นการชุลมุนกับเรื่องก่อพระทรายและกระทุ้งรากที่วัดเบญจมบพิตร แต่มีเรื่องที่จะต้องพูดกับเธอแลกรมศุขาภิบาล 2-3 เรื่องคือ
1.ในตลาดนั้นอยากจะให้ติดไฟฟ้า คิดประมาณดูว่าจะต้องติดกิ่งฟากโรงตลอดฟากเดียวไม่ติดตามตึกโดยรอบริมขอบถนนนี้ด้านละ 5 ดวงด้านสกัดด้านละ 1 ดวง รวมเป็น 12 ดวง ในตลาดเพียงสัก 3 ดวงก็พอ เพราะเหตุว่าของเหล่านั้นย่อมขายในเวลากลางวัน ติดไฟไฟ้พอให้สว่างในการที่จะรักษาของอันเก็บไว้ในตลาด รวมเป็นไฟข้างใน 15 ดวงไฟที่ถนนในระหว่างตึกที่จะไปเว็จแลไปบ่อน้ำ ถ้าจะมีแต่มุมละดวงก็เกือบจะพอดอกกระมัง ถ้าเช่นนั้นก็จะเป็นเพียง 19 ดวงๆหนึ่ง 20 แรงเทียน ถ้ากรมศุขาภิบาลจะให้ได้จะเป็นที่ยินดีมาก หรือจะเี่กี่ยงอยู่ว่าในตลาดไม่ใช่เป็นท้องถนน จะให้เจ้าของตลาดใช้ค่าไฟฟ้า 3 ดวงข้างในนั้นก็ได้ การที่จะติดเหล่านี้ถ้าเธอมีความสงสัยให้หารือเจ้าหมื่นเสมอใจ แต่ถ้าติดไฟให้ได้จุดทันวันกำหนดเปิดตลาดจึงจะเป็นการดี
2.ที่เสาชิงช้าซึ่งจะยกพื้นขึ้นรอบ แลจะปักเสาโคมสี่มุมนั้น ถ้าสำเร็จได้ด้วยในเวลานั้นจะเป็นการงามมาก
3.เมื่อตลาดได้ย้ายไปในที่ใหม่แล้ว ตลาดเก่านั้นจะได้ให้รื้อทันที เมื่อรื้อลงแล้วขอให้กรมศุขาภิบาลได้ทำพื้นที่นั้นให้สิ้นความโสโครก ให้เป็นลานใหญ่สำหรับรถเดินไปมาได้โดยสะดวกโดยเร็วด้วย"
ในพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ ทำให้รู้เรื่องเสาชิงช้าเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งว่า พื้นเสาชิงช้าที่ก่ออิฐถือปูนทำเป็นแท่น และเสาโคมสี่มุมนั้นเป็นของที่ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 การที่ทางเทศบาลไม่เปลี่ยนแปลงนั้นนับว่าเป็นการทำที่ถูก เพราะอย่างน้อยเราก็พอจะชี้อวดลูกหลานให้ดูได้ว่า นั่นเป็นของที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 เป็นพระราชดำริของพระองค์ที่จะให้ทำอย่างนั้น
ตลาดเสาชิงช้าในสมัยก่อนมักจะเปิดในเวลากลางวันมีกำหนด ถ้าเลยเวลาแล้วก็ไม่มีของขาย และตลาดเสาชิงช้าแต่ก่อนนี้ก็มีสถานที่ที่ช่วยทำความครึกครื้นอีกอย่างหนึ่งคือมีโรงบ่อนเบี้ย เรียกกันว่าโรงบ่อนตลาดเสาชิงช้า ซึ่งในสมัยนั้นอนุญาตให้เล่นตั้งแต่เวลาโมงเช้าจนถึงเวลา 5 ทุ่ม แลเวลาที่เล่นนั้นให้มีโปลิศประจำอยู่ทุกบ่อน เพื่อมิให้จีนเจ้าของบ่อนคิดทุจริตด้วยประการต่างๆ ก็ธรรมเนียมของโรงบ่อนแต่ก่อนนายบ่อนหรือขุนพัฒน์มักจะหาทางล่อใจให้คนมาเล่น จึงมักจะติดตลาดให้มีร้านรวงครึกครื้นหางิ้วและละครมาเล่นให้ดูที่หน้าบ่อน เพื่อคนดูจะได้ไถลเลยเข้าไปเล่นเบี้ยด้วย ก็เป็นอันว่าพวกงิ้วพวกละคร ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากเจ้าของบ่อนอยู่เสมอ เพราะเขาหาไปเล่นแบบเล่นงานเหมาคราวละ 7 - 10 วันเครดิต เรื่อง ส.พลายน้อย
เมรุปูนวัดสระเกศ ไว้เผาพระศพเจ้านายกับศพคนระดับขุนนาง แต่เห็นอีแร้งเกาะเต็มหลังคา บรรยากาศหน้าภาพมีโลงไม้ ตะแกรงเหล็กนำศพขึ้นเผากรณีศพอนาถา....พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่ครั้งยังเป็นพระยาพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นนายสร้างเมรุสร้างด้วยอิฐปูนล้วน เรียกว่า “ เมรุปูน ” สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย และศพข้าราชการผู้ใหญ่ เมรุปูนที่วัดสระเกศนี้ทำพร้องเพรียงสมบูรณ์ยิ่งกว่าเมรุปูนที่วัดอรุณ และวัดสุวรรณาราม มีสามศาลาสร้างรอบเมรุ มีพลับพลา โรงธรรม โรงครัว โรงมหรสพ ตลอดจนพุ่มกัลปพฤกษ์ และระทาจุดดอกไม้ล้วนทำด้วยอิฐปูนพร้อมเสร็จแทบจะไม่ต้องปลูกอะไรเลย สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตัดถนนสระประทุมต่อจากถนนบำรุงเมืองถนนนี้ผ่านไประหว่างกุฎีวัดสระเกศกับบริเวณเมรุปูนจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพลับพลา และแก้ไขบริเวณเมรุปูนให้เข้ากับถนน เมรุปูนนี้จึงนับเป็นเมรุเกียรติยศที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เหมือนอย่างเมรุราชอิศริยาภรณ์วัดเทพศิรินทราวาสในปัจจุบัน....
ยุคสมัยต่อมาเมื่อเมรุตั้งติดกับถนนและอาคารบ้านเรือน จึงไม่เหมาะที่จะทำการฌาปนกิจศพ และเมรุเกียรติยศจึงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส และได้ยุบเลิกเมรุปูนเสีย แต่ชื่อยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ ต่อมาทางวัดได้มอบสถานที่นั้นให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนช่างไม้ เรียกว่า “โรงเรียนช่างไม้วัดสระเกศ” ต่อมาเปลี่ยนเป็น ”โรงเรียนสารพัดช่างพระนคร” และปัจจุบันเป็น “วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร”
......
เมรุปัจจุบัน.......
แม้จะย้ายเมรุเกียรติยศไปแล้ว แต่ศพพราษฎรสามัญได้ตั้งและเผาที่เมรุซึ่งตั้งอยู่ข้างบรมบรรพต เป็นเมรุทำด้วยไม้ เมื่อ พ.ศ. 2498 สมัยเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ญาโณทยมหาเถระ ครั้งทรงสมณะศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้ทรงสร้างเป็นเมรุถาวรก่ออิฐถือปูนพร้อมด้วยศาลาใหญ่ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 8 แสนบาทเศษ
เมืองอุดร ยุค GI. สงครามเวียตนาม ปี 2514
แม่ค้าพายเรือ ขายถ่าน ยุค ปี 2513 ถ่านและเตาถ่านในยุคพ.ศ.นี้ คงจะห่างหายไปจากครัวของเราทุกทีตอนเด็กเมื่อใกล้จะถึงในแต่ละมื้อข้าวจำได้เลยว่าในครัวจะมีควันขโมงขึ้นมาพร้อมกับกลิ่นควันฟืนชวนให้หิวข้าวกันเลย
ความสงบของเชียงใหม่ ปี 2532
ชีวิตคนไทยในอดีตที่ผูกพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง ภาพเก่าปี 2503
กรุงเทพฯ ยุคปีพ.ศ.2493
จอมพลแปลก และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม กับคณะ ตอนกลับจากการเดินทางรอบโลก กับสายการบิน PAA (สายการบินแพนแอม) ปี 2498 สิ้นเงิน 9 ล้านบาทเอง ในยุคที่ทองบาทละ 400 บาท น้ำมันลิตรละ 2 บาท อภินันทนาการโดย Aishwarda Sirilaksana Na Lamphun (Moderator Wiz)
Spectators and fighters at a match of a Thai boxing game called "Muay Thai." bkk thailand 1960ภาพเก่า สนามมวยราชดำเนินยุคที่ยังไม่มีหลังคาคุม..เมื่อ พ.ศ.2503...... สนามมวยราชดำเนิน หรือ เวทีมวยราชดำเนิน (อังกฤษ: Rajadamnern Stadium).... credit Robin
Casual amongst the Lamphun floods - August 1957.... ภาพเก่า น้ำท่วมที่ลำพูน ปี 2500
1962-hat-yai-junction สถานีรถไฟหาดใหญ่ปีพ.ศ.2505..
แม่ค้าขายน้ำตาลสด..ที่ จ.อยุธยา ยุคปีพ.ศ.2513....
thailand 1970..... ฝรั่งกำลังยืนคุยกันที่ร้านค้าที่ขายของให้นักท่องเที่ยวที่อยุธยา.. ในช่วงปีพ.ศ. 2513.. ห่อที่คล้ายๆกระป๋องที่เห็นเป็นกระดาษแก้วสีต่างๆด้านหลัง.. ถ้าใครจำได้ก็จะทราบว่ามันคือห่อข้าวเกรียบแผ่นที่นิยมซื้อเป็นของฝากที่เอามาปิ้งกินกันหอมๆกรอบๆ เมื่อสุกแล้วชอบห่อแบบนี้ปัจจุบันไม่มีแล้ว....
Bangkok, grocery store 1960 ร้านขายขนมปังและเบเกอรี่ในกรุงเทพ ปี 2503.. กับแฟชั่นสาวๆยุคเก่า
Bangkok, Buddhist monk receiving food from shop 1960.... ทำบุญถวายของให้พระ..ในร้านของชำ ช่วงปี 2503
Bangkok (Thailand), sugar cane sweets sold at plowing ceremony 1957...... ตู้ไม้หรือหีบไม้ขายอ้อยแบบโบราณแบบหาบขายในงานพระราชพิธีแรกนาขวัญเมื่อ พ.ศ.2500ปัจจุบันหาดูไม่ได้แล้วค่ะผู้ที่เกิดทันคงจะจำรสหวานเย็นชุ่มคอของอ้อยควั่นแช่น้ำแข็งแบบนี้ได้...อ้อยจะนิ่มละมุนลิ้นมากๆ
BKK. 1981..... ถนนวิภาวดีรังสิต ปี 2524 มีน้ำท่วมเจิ่งนองถนน..น่าจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ทางซ้ายมือของภาพ ห้างเซนทรัล สาขา ลาดพร้าว..ยังอยู่ในช่วงก่อสร้าง
T-28’s, Thai Air Force.-1974-1975 Udorn
Strip Malls outside the Main Gate, Udorn RTAFB, 1975.
Pattaya Beach, 1968
ดอนเมืองสมัยเก่ายุคที่ยังร่ำลากันด้วยพวงมาลัยและชั้นสองยังโบกมือบ๊าย บาย กับ ญาติพี่น้องได้
bkk 1954 street vendor ....แม่ค้าหาบข้าวหลามขายในกรุงเทพ ยุคปีพ.ศ.2497.. ยังเห็นรางรถรางบนถนนอยู่เลย
King Chulalongkorn (left front) 1896 ภาพเก่าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ พ.ศ.2439 บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามจำกัดได้สร้างประตูระบายน้ำ 2 แห่ง สำหรับควบคุมระดับน้ำในคลอง ได้แก่ ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ที่ต้นคลองรังสิตประยูรศักดิ์ทางทิศตะวันตก และประตูน้ำเสาวภา ที่ปลายคลองทางทิศตะวันออก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม กับได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชเทวี ไปทรงเปิดประตูน้ำทั้ง 2 แห่ง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439
Chatuchak Markt, 1984..... สภาพตลาดนัดสวนจตุจักร ยุคแรกเริ่มเมื่อปีพ.ศ.2527
ภาพเก่างานแต่งแบบโตีะจีน เมื่อปีพ.ศ.2507.... ดูแล้วนึกถึงบรรยากาศเก่าๆดี
1965 student uniform.... เครื่องแบบนักเรียนยุคพ.ศ.2508 ยังต้องมีหมวกสวมอยู่ด้วย
BKK 1972 ความสุขเมื่อวันวาน ฟุตบาทของเมืองหลวงของเราในอดีต..จะมีขนาดกว้างใหญ่ ไม่มีการค้าบนฟุตบาทให้เกะกะจนเด็กๆสามารถพากันออกมาวิ่งเล่นสนุกสนานได้แบบเต็มที่..หรือบางครอบครัวยังพาลูกหลานมาป้อนข้าว ป้อนน้ำ ได้ตรงฟุตบาทที่หน้าบ้านกันเลยทีเดียวภาพเก่า ปีพ.ศ.2515
ตาคลี ปีพ.ศ.2511
Bangkok 1984 .... แม่ค้าริมทาง ย่านประตูน้ำปีพ.ศ. 2527
THAILAND 1983
THAILAND 1984 แม่ค้าหาบเร่ มักจะหาบเร่ไปขายตามริมฟุตบาทและแวะวางขายตามหน้าร้านค้าต่างๆคิดถึงมันต้มเผือกต้มแบบนี้ครับ..สี่บาท ห้าบาท ก็อร่อยกันได้แล้ว..แม่ค้ามักจะใส่ในถุงกระดาษที่พับมาจากสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง
thailand-plowing-1969.... คุณย่า..คุณยาย แวะอุดหนุน หาบน้ำตาลสด..ในระหว่างงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเมื่อปีพ.ศ. 2512 ที่ ท้องสนามหลวง
CHIENGRAI VIDHAYAKHOME School in Chiang Rai ....ภาพเก่างานวันเด็ก ของโรงเรียน เชียงรายวิทยาคมไม่ทราบปี
เส้นทางจาก จ.ตาก สู่ จ.เชียงใหม่ ปีพ.ศ.2510
Sattahip 1967 สัตหีบ พ.ศ.2510 เครดิตภาพ SSAVE
bangkok 1968 credit Hazel Greig slide scan
bangkok 1968 credit Hazel Greig slide scan
Phetchaburi - 1937
Bangkok - 1954
"Market, Korat, Thailand, 1974"
"Drive-in, Korat, Thailand, 1974"
"Pedicabs outside theater, Korat, Thailand"
ย่านสำโรงมุ่งสู่ถนนบางนา...เมื่อครั้งอดีต
ถนนพหลโยธิน จากช่วงแยกลาดพร้าวไปจนถึงดอนเมือง ในอดีตตอนที่ยังไม่มีถนนวิภาวดี การเดินทางไปขึ้นเครื่องบินต้องผ่านตรงนี้ ร่มรื่นตลอดเส้นทาง อากาศเย็นสบาย บางจุดแดดส่องไม่ถึงพื้นถนน นั่งรถไม่ต้องมีแอร์ก็สุขสบาย สองข้างทางจะเป็นคูน้ำไหล ที่มีปู ปลา อยู่ เวลาฝนตก น้ำจะท่วมพื้นถนน แต่ท่วมเดี๋ยวเดียวก็ลด สมัยนั้นยังเห็นชาวบ้านออกมาหาจับปลากันมากมาย ทั้งตกด้วยคันเบ็ดไม้ไผ่แบบยาวๆ หรือ เหวี่ยงแหก็มีเครดิตภาพ จากคุณ phongrottourthai.com
สามแยกพุแค ในปี 2514
ด้านซ้ายไปพระพุทธบาท ลพบุรี
ด้านขวาไปสระบุรี กรุงเทพ
รถทัวร์ที่จอดอยู่ตรงโน้น ไปเพชรบูรณ์ หล่มสัก
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 ของกรมทางหลวง หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์
ภาพถนนประติพัทธ์ สะพานควายเมื่อปี 2511 แปลกใจไหมค่ะว่าเมื่อก่อนสะพานควาย มีถนนกว้างขวางใหญ่โตขนาดนี้ ตึกขวามืออยู่แถวๆหน้าโรงแรม Liberty เลยไปทางซ้ายมือตอนนั้นมีไนท์คลับดัง ชื่อ เฮนเนสสี ไนท์คลับ ขวามือตกขอบมุมขวาคือโรงหนัง
เฉลิมสิน ฝั่งตรงข้ามเป็นตลาดโต้รุ้ง มีร้านขายโทรทัศน์ ด้านหลังตึก จะเป็นบาร์ผี บาร์อโกโก้เป็นสิบๆแห่ง ตอนนั้น สะพานควายมีโรงแรม แคปปิตอล โรงแรมประติพัทธ์ โรงแรมลิเบอร์ตี้ พี โอ คอร์ท และอีกหลายสิบคอร์ท โดยเฉพาะบนถนนประติพัทธ์ ทุกแห่งถูกเช่าเหมาปีโดยกองทัพสหรัฐ เพื่อให้เป็นที่พักของทหารที่ไปรบเวียตนาม โดยเฉพาะโรงแรมแคปปิตอล เป็นที่พักของทหารสัญญาบัตร มี PX และคลับพร้อมในโรงแรม มี MP เฝ้าทางเข้า
ไม่อนุญาตให้คนเข้าออกโดยไม่ได้รับอนุญาติ ในตอนนั้นพวกทหารชั้นประทวงทั้งดำทั้งขาวจะพักในคอร์ทตรงซอยสุทธิสาร
ช่วงก่อนถึงถนนวิภาวดี ทำให้มีบาร์ผีและหญิงอาชีพพิเศษ เกิดขึ้นมากมาย ส่วนบนถนนพหลโยธินนอกจากโรงแรมแคปปิตอล แล้วก็จะไปมีที่ตรงสนามเป้า โรงแรมคอนติเนลตัล ดังมากมีคลับชื่อ เลอรัวร์ อยู่ใต้ดิน ตรงสนามเป้ายังเป็นที่ตั้งของบริษัทTommy Tour ที่เป็นคนดูแลการเดินทางเข้าออกของทหารอเมริกัน แต่ที่มีมากตรงสะพานควายและบนถนนประติพัทธ์จะมีมากเป็นพิเศษ ลืมบอกเลยสนามเป้าไปก็เป็นตรงแยกพญาไท อาคาร ที่เป็น ร.พ.เดชา และ พญาไท เมื่อตอนนั้นก็เป็นที่พักทหารอเมริกันเหมือนกัน
ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ปี 1978 ข้างหน้าคือ แยกสุทธิสารซ้ายไปสะพานควาย ขวาไปห้วยขวางในยุคที่ยังไม่ได้สร้างสะพานข้ามแยกใดๆทั้งสิ้นบนถนนเส้นนี้เครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com
ถนนสุขุมวิท แถวๆพระโขนง ปี 1971เครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com
บางคนอาจจะไม่เชื่อว่านี่คือ ถ.พหลโยธิน ตรงต่างระดับบางปะอินในปี 2514 ในปีนั้นถนนสายเอเชียยังไม่เปิดใช้แต่มาเปิดปี 2516
ทำให้ ถ.พหลโยธิน ตรงต่างระดับบางปะอินในตอนนั้น มีแต่ทางโค้งและถนนสาย 308 ที่แยกเข้าบางปะอินเท่านั้น เมื่อมาดูในตอนนี้ โอ้โหถนนพหลโยธินกว้าง 10 เลน มีต่างระดับบางปะอินที่ใหญ่โตต่างกันลิบลับ
สแกนจากรายงานประจำปีกรมทางหลวงปี 2514
แยกเดชาติวงศ์ในปี 2514 ต่างกันกับตอนนี้เยอะมาก
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกรมทางหลวง พ.ศ.2514
หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์
ต่างระดับแบบสมบูรณ์แบบแห่งแรกของประเทศ "ต่างระดับตลิ่งชัน"
ด้านซ้ายไป ถ.สิรินธร สะพานซังฮี้
มุมบนขวาไปปิ่นเกล้า
มุมล่างขวาไปตลิ่งชัน นครชัยศรี
ในขณะที่สายใต้(ปิ่นเกล้า) ยังเป็นสวนมะพร้าวอยู่เลย ภาพนี้ราวๆปี 2528
ถ.พระราม 2 เมื่อปี 2514 แล้วแตงโมก็วิ่งไป
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 กรมทางหลวง หอสมุดแห่งชาติ
ถ.เพชรเกษม จากกรุงเทพไปนครปฐม สองเลน ในปี 2514
สมัยนั้นคงมีแต่ทุ่งนาโล่งๆบ้านคนไม่มาก เมื่อมาเจอสมัยนี้ อะหืมอ้อมน้อยยันนครปฐม มีทั้งบ้านคน มีทั้งโรงงาน
แล้วรถทัวร์สายใต้ สายเก่าๆที่วิ่งลงไปภาคใต้ ยังวิ่งบนถนนสายนี้อยู่ค่ะ เช่น สาย 61 กรุงเทพ-หาดใหญ่ สาย 62 กรุงเทพ-ตรัง สาย 63กรุงเทพ-ภูเก็ต ต้องวิ่งผ่านนครปฐมแทบทั้งนั้น
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 กรมทางหลวง
แยกสะพานผ่านพิภพลีลา ตอนกำลังขยายปลายถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า+ถนนราชดำเนินกลาง แต่เดิมตรงที่กำลังขยายถนนคือที่ตั้งกรมประชาสัมพันธ์กับกรมสรรพากร
รถที่ลงมาจากสะพานปิ่นเกล้า ต้องมาตามทางเก่าที่รถวิ่งในภาพ ซึ่งมีความคับแคบ เกิดการราจรติดขัด
ลืมแล้วว่าเอามาจากหนังสือเล่มไหน น่าจะปี 2537
ถ.มิตรภาพ ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา เมื่อปี 2514
ตรงไหนล่ะเนี่ย? ก่อนถึงกลางดง? คลองไผ่?
มุมกล้องอย่างนี้ กับสภาพทางกายภาพ ณ เวลานี้ เปรียบเทียบยากดีแท้
สี่แยกอรุณอมรินทร์ในปี 2537-2538 ซึ่งแยกนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 พร้อมๆกับสะพานพระปิ่นเกล้าและสะพานอรุณอมรินทร์
ในภาพมีสะพานข้ามแยกชนิดโครงเหล็กแบบแยกบางพลัดตั้งอยู่ก่อนที่จะถูกรื้อถอน เพื่อสร้างทางลาดของทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
ในภาพนี้รถวิ่งมาจากแยกบรมราชชนี(เซ็นปิ่น) เลี้ยวซ้ายไป ซ.จรัญฯ 40 ซึ่งยังไม่มีสะพานพระราม 8 ที่สร้างเสร็จปี 2545 ตรงไปก็ขึ้นสะพานพระปิ่นเกล้า เลี้ยวขวาไปศิริราช และที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นที่ๆรถติดที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพด้วย ในสมัยนั้น
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์พิธีเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ในหอสมุดจุฬา ม.ธรรมศาสตร์ ม.มหิดล ม.เกษตร
ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า หน้าห้างพาต้า เมื่อคราวรื้อถอนสะพานลอยข้ามแยกอรุณอมรินทร์ เพื่อสร้างทางขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี เมื่อปี 2540 เขารื้อทางขึ้นลงก่อน แล้วจากนั้นก็เหลือส่วนที่อยู่กลางแยกเป็นชิ้นสุดท้าย
สะพานข้ามทางรถไฟสายแม่กลอง ถ.พระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ)
ต้นฉบับไม่ได้ระบุปีเอาไว้ น่าจะเป็นปี 2518 หรือ 2521
ถ.คชเสนีย์ ปี 2514 (ไม่รู้ว่าอยู่ช่วงไหน เลยช่องเขาขาดไปแล้วหรือยัง)
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 ของกรมทางหลวง
ทางหลวงฟมายเลข 12 ช่วงหล่มสัก-ชุมแพ ปี 2521
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2521 กรมทางหลวง
มุมสูงของ ถ.วิภาวดีรังสิต ตรงโค้งวัดเสมียนนารีเมื่อปี 2514
สแกนจากรายงานประจำปี 2514 กรมทางหลวง
สะพานเข้าเมืองนครปฐม เอมไม่ทราบว่าถ่ายปีไหน?
ใครที่อยู่นครปฐม พอจะทราบบ้างค่ะ ว่าภาพนี้ถ่ายเมื่อไหร่ เพราะสะพานเข้าเมืองนี้ยังสร้างไม่เสร็จเลย
silom 1986....ถนนสีลม เมื่อไม่นานมานี่เอง แค่ พ.ศ.2529 นี่เอง.... ยังดูโล่งมากๆและการจราจรยังไม่หนาแน่นมาก
ประตูน้ำ ค.ศ.1980(2523) ..ในสมัยที่รถยังวิ่งสวนทางกันได้(ไม่วันเวย์) และมีแนวรั้วแบ่งการจราจร(เพื่อป้องกันคนไม่ให้ข้ามถนนตัดกระแสจราจรด้วย) แต่รถก็ยังติดมโหฬาร จนได้ชื่อว่าเป็นถนนที่รถติดอันดับต้นๆของกรุงเทพฯ
ถ.เพชรเกษม ช่วงระนอง - ตะกั่วป่า เมื่อปี 2514
สแกนจากรายงานประจำปีกรมทางหลวง พ.ศ.2514 หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์
บางคนอาจไม่เชื่อว่าภาพนี้คือ ถ.วิภาวดีรังสิต เมื่อครั้งยังเป็นถนนสี่เลน เอมไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ช่วงไหนของถนนสายนี้
สแกนจากรายงานประจำปีกรมทางหลวง ปี 2521
(Repost) แยกบรมราชชนนี หรือ แยก 35 โบล์วเมื่อปี 2525 มุมกล้องจากห้างพาต้า
ซ้ายมือไปบางขุนนนท์ สายใต้เก่า
ขวามือไปแยกบางพลัด สะพานพระราม 6
ถนนที่ตัดใหม่คือ ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (ถ.บรมราชชนนี)
ถ.จรัญสนิทวงศ์ ในปีดังกล่าว เป็นทางหลวงหมายเลข 306
ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า เปิดใช้ปี 2516
ถ.บรมราชชนนี เปิดใช้ปี 2527
สะพานลอยข้ามแยก เปิดใช้ปี 2529
เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เปิดปี 2538
ทางคู่ขนานลอยฟ้า เปิดใช้ปี 2541
อุโมงค์ลอดแยกบรมราชชนนี เปิดใช้ปี 2555
แล้วมาดูสมัยนี้ เมื่อ 30 ปีที่แล้วกับเดี๋ยวนี้ต่างกันมากถึงมากที่สุด
เดี๋ยวอีกไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า ก็จะมีโครงสร้างทางวิ่งรถไฟลอยฟ้าผ่านแยกนี้อีกด้วย
สแกนจากหนังสือผังเมืองของ กทม. ฉบับปี 2525
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
again Pattaya (Beach Road) 1968....พัทยาปี 2511..หน้าจะเป็นถนนตรงโค้งดงตาลเข้าสู่หาดจอมเทียน..
ถ.เยาวราช ยามค่ำคืน สมัยสาย 11 ยังวิ่งถึงสะพานพุทธ
ถ.สีลม แยกศาลาแดง ปี 2534
ถ.สีลม ปี 2534 ยังไม่มีทางวิ่งรถไฟฟ้าบีทีเอส
ต่างระดับฉิมพลีกำลังก่อสร้าง ก่อสร้างระหว่างปี 2531-2534 ค่าก่อสร้างประมาณ 300 ล้านบาท
สแกนจากหนังสือ 84 ปีกรมทางหลวง
แยกราชเทวี ก่อนเปิดสะพานข้ามแยกเมื่อปี 2522 มีการเอารถบรรทุกขึ้นไปบนสะพานเพื่อทดสอบความแข็งแรง
สแกนจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
แยกราชเทวีกำลังสร้างสะพานข้ามแยก เมื่อปี 2518
สแกนจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ถ.พระราม 4 ใต้ทางด่วน ตอนที่มีรถเมล์ครีมน้้ำเงินวิ่งอยู่ สมัยนั้นกับสมัยนี้ รถติดไม่ต่างกันเลย
ภาพสแกนจากปกนิตยสารสารคดี
แยกบรมราชชนนีประมาณปี 2536-2538 ก่อนที่จะมีโครงการก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
สะพานลอยข้ามแยกนี้ เปิดใช้เมื่อปี 2529 กรมทางหลวงเป็นผู้สร้าง ต่อมา กทม. เป็นผู้ดูแลสะพานลอยข้ามแยกนี้แทนกรมทางหลวง
ถ.เพชรเกษม แยกเข้าเมืองเพชรบุรีด้านใต้ เลยเขาวังมาแล้ว มุ่งหน้าไปท่ายาง ชะอำ หัวหิน ปี 2514
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกรมทางหลวง พ.ศ.2514
ถ.พหลโยธิน ก่อนขึ้นสะพานเดชาติวงศ์ เข้าเมืองนครสวรรค์ เลยแยกจิระประวัติ เมื่อปี 2514
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกรมทางหลวงปี 2514
ทางหลวงสายเอเชีย แยกที่จะไปสิงห์บุรีกับลพบุรี เมื่อปี 2514 (ตอนนี้คงไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว)
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกรมทางหลวง พ.ศ.2514
สะพานสารสิน ปี 2521
สแกนจากหนังสือทางหลวงในประเทศไทย ปี 2521
การก่อสร้างทางหลวง ในพื้นที่สีแดง มีกองกำลังทหารให้ความคุ้มครองในขณะก่อสร้างถนนด้วย
สแกนจากหนังสือ ทางหลวงประเทศไทย พ.ศ.2514
canal next to north highway1957 ....ถนนพหลโยธิน แถวๆย่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วงปี พ.ศ.2500
ทางหลวงหมายเลข 323 ตอนกาญจนบุรี-ไทรโยค เมื่อปี 2521
สแกนจากหนังสือทางหลวงในประเทศไทย 2521
ห้าแยกลาดพร้าว ราวๆ พ.ศ 2522-2523 ในสมัยที่ห้างเซ็นทรัลสาขาลาดพร้าวยังไม่ได้สร้างขึ้นมา
ถ.บุณยาหาร (อุดรธานี-หนองบัวลำภู)
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 กรมทางหลวง
สะพานพ่อขุนผาเมืองเมื่อ 35 ปีก่อน ซึ่งเป็นจุดที่รถทัวร์สาย 637 ขอนแก่น-เชียงราย ของ บ.สมบัติทัวร์ จก. ประสบอุบัติเหตุ ขอแสดงความเสียใจแก่ญาติผู้เสียชีวิตด้วยค่ะ
สแกนจากหนังสือ 1 เมษายน วันสถาปนากรมทางหลวง
สามแยกบางใหญ่ หลังปี 2528 (ปีที่ ถ.รัตนาธิเบศร์เปิดใช้) ตอนนี้แทบไม่เหลือเค้าเดิมเลยค่ะ มุมขวาของภาพ มีแต่ต้นตาล ทุ่งหญ้า ตอนนี้กลายเป็นเซ็นทรัล เวสต์เกต ตรงไปข้างหน้า ก็สุดลูกหูลูกตา ตึกรามบ้านช่องไม่ค่อยเห็น พอมาเดี๋ยวนี้เป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง
เอมทันตอนที่ ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี(ถ.กาญจนาภิเษก ในปัจจุบัน) ยังเป็นถนนสี่เลน และสามแยกบางใหญ่ยังเป็นสามแยกไฟแดง ปล.สมัยนั้นที่ดินย่านบางบัวทองตารางวาละไม่กี่ร้อยบาทเองนะ สมัยนี้เป็นหมื่นแล้วค่ะ
บางกอกเมืองหลวงของสยาม มีระบบรถรางซึ่งได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1893 ซึ่งถือได้ว่าเป็นรถรางไฟฟ้าแห่งแรกในทวีปเอเซียเลยค่ะ จากดั้งเดิมที่เคยใช้ม้าและลาลากตู้รถ ก็ถูกแทนที่ด้วยตู้ที่ทำด้วยไม้และระบบพลังงานไฟฟ้าขนาดกำลังยี่สิบแรงม้า ระบบไฟฟ้าที่ใช้สำหรับรถรางนี้ เป็นระบบที่ดำเนินการโดยบริษัท Short Electric Railway Company เมือง Cleveland ประเทศสหรัฐอเมริกา บางกอกซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองประมาณเก้าแสนคน มีรถรางถึง 7 สายด้วยกัน โดยวิ่งไปยังจุดต่างดังนี้
1.บางคอแหลม
2.สามเสน
3.ดุสิต
4.บางซื่อ
5.หัวลำโพง
6.สีลม
7.ปทุมวัน
รถรางทุกสายเป็นแบบรางเดี่ยว โดยมีทางหลีกในระยะช่วง 1/4 ไมล์ รางมีขนาดกว้าง 1 เมตร และรางรถส่วนมากฝังอยู่ในพื้นถนนลาดยาง มีบางช่วงเท่านั้นที่ฝังอยู่บนถนนคอนกรีต และได้มีการให้สิทธิให้รถรางที่วิ่งทางขวาไปก่อน ในขณะนั้นมีตู้รถรางทั้งหมดรวม 54 โบกี้ รถตู้ที่เป็นมอเตอร์แบบคู่ มี 28 ตู้ และ รถหัวขบวนซึ่งเป็นตัวลาก 62 คัน แต่ละคันมีกำลังขับ 40 แรงม้าและสามารถจุคนได้ 60 คน โดยแบ่งเป็นที่นั่ง 36 คน ที่ยืน 24 คน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีตัวถังโบกี้รถรางที่มีที่นั่งโดยสาร 2 แบบ คือ แบบเปิดโล่ง และแบบที่มีกระจกปิด ทุกโบกี้จะมีทางขึ้น 2 ทาง ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย จะมีก็เพียง 5 โบกี้เท่านั้นที่ส่งมาจากอังกฤษ สีของรถรางส่วนใหญ่ มี 4 แบบซึ่งประกอบด้วย 2 สีคู่กัน คือ เหลืองกับน้ำตาล เหลืองกับเขียว เหลืองกับแดง และดำกับเขียวอ่อนวันที่ 30 กันยายน ปี ค.ศ.1968 รถราง 2 สายสุดท้ายของบางกอกถูกยกเลิกไป และถูกแทนที่ด้วยรถเมล์............................ ......
”นั่นคือเสี้ยวหนึ่งในประวัติศาสตร์ของรถรางไฟฟ้า ซึ่งทำให้บางกอกกลายเป็นเมืองที่มีความเจริญไม่แพ้บางประเทศในยุโรปในยุคนั้นเลย เพราะถือได้ว่าเป็นประเทศแรกในทวีปเอเซียที่มีรถรางไฟฟ้าใช้ อย่างไรก็ตาม ความเป็นมาของรถรางในบางกอกมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งหนังสือเล่มเดียวกันได้กล่าวไว้ว่า“............................กำเนิดของรถรางที่ใช้ม้าลากในสยาม ได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี ค.ศ. 1889 และต่อมาได้พัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 1892 ซึ่งในประเด็นนี้ ข้อมูลบางแห่งได้บอกว่ารถรางไฟฟ้าสายแรกของบางกอกนั้น (บางคอแหลม) เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1893 ระยะทางของรถรางทั้งหมด 7 สาย มีความยาวทั้งสิ้น 48.7 กิโลเมตร คือ บางคอแหลม 9.2 กม.สามเสน 11.3 กม.ดุสิต 11.5 กม.บางซื่อ 4 กม.หัวลำโพง 4.4 กม.สีลม 4.5 กม.และสุดท้าย ปทุมวัน 3.8 กม.
เนื่องจากระบบรถรางสมัยนั้นเป็นระบบรางเดียว ดังนั้นทุกๆ500เมตร จึงต้องมีรางสับหลีก เพื่อให้รถรางวิ่งสวนมาหลบหลีกกันได้โดยสะดวก ในบางกอกมีท่ารถรางอยู่ 4 แห่งคือ ที่สะพานดำ สะพานเหลือง บางกระบือและบางคอแหลม โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนท่าช้าง จำนวนตู้รถรางทั้งหมดในบางกอกขณะนั้นไม่เป็นที่แน่ชัดเนื่องจากตัวเลขอย่างเป็นทางการของแต่ละหน่วยงานนั้นแตกต่างกันออกไป แต่จากข้อมูลเท่าที่สืบค้นได้ ประมาณว่ามีทั้งหมด 206 ตู้ ในจำนวนนี้แยกได้เป็น ตู้รถรางขนาดสองเครื่องยนต์จำนวน 62 ตู้ พร้อมตู้ลากเข้าคู่กันอีก 62 ตู้ รถรางตู้เดี่ยวหนึ่งเครื่องยนต์จำนวน 54 ตู้ และรถตู้แฝดหนึ่งเครื่องยนต์ท้ายต่อกันจำนวน 28 ตู้ ในตู้รถรางทุกตู้จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ มอเตอร์ขนาด 40 แรงม้าหนึ่งตัว การที่สภาพพื้นที่เป็นที่ราบไม่มีความต่างระดับ ทำให้พลังงานในการขับเคลื่อนต่ำ จึงทำให้รถรางวิ่งช้ากว่าที่ควรจะเป็น ต่อมาได้มีการสร้างตัวตู้รถมาตรฐานแบบห้าตอน(five-bay body) โดยตู้รถรางจะมีหน้าต่างที่เปิดโล่งด้านข้างและกั้นด้วยไม้เป็นซี่ตามยาว ตู้รถรางในบางกอกโดยทั่วไป มีที่นั่งขนานตามทางยาวกับตัวตู้สำหรับ 26 ที่นั่ง มีที่ว่างตรงกลางให้ผู้โดยสารยืนได้ 34 คน ช่วงสองตอนข้างหน้าจะกันไว้เป็นที่นั่งผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ปลายปี ค.ศ.1950 รถตู้แบบเครื่องยนต์เดี่ยวได้รับการประกอบตัวถังใหม่ โดยชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบถูกนำเข้ามาจากบริษัทโอลด์เบอรี่ เมืองเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ รถตู้เหล่านี้ได้มีการติดหน้าต่างกระจกทั้งคัน ส่วนมากจะใช้ตู้โดยสารแบบ บริลล์ 21อี แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้แบบ Peckham cantilever สำหรับสีของตัวถังรถรุ่นใหม่นี้โดยทั่วไปจะมีสีเหลือง-แดง และมีแถบคาดสีขาวช่วงกลางปี ค.ศ.1950 ภายหลังจากที่กิจการรถรางถูกโอนจากการไฟฟ้าบางกอก (Bangkok Electric Works) ไปอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้านครหลวง (the Metropolitan Electric Authority/MEA) ผู้บริหารของการไฟฟ้านครหลวงได้แสดงความประสงค์ที่จะ ยกเลิกกิจการรถรางและให้มีรถเมล์วิ่งแทน จนกระทั่งถึงช่วงปี ค.ศ.1961-1962 รถรางทั้งหมดถูกแทนที่โดยบริษัทรถเมล์เอกชน และเหลือก็เพียง 2 สายที่ยังคงวิ่งรอบกรุงเก่าเท่านั้น ซึ่งได้ดำเนินกิจการต่อมาจนถึงปี ค.ศ.1968 หลังจากนั้นเหลือรถรางเฉพาะแบบตู้เดี่ยวเพียง 16 ตู้
ปริมาณรถรางที่ให้บริการในจำนวนน้อยเช่นนี้ ประกอบกับความช้าในการขับเคลื่อนที่ไม่ทันใจผู้ใช้บริการ เนื่องจากในสมัยนั้นเมืองไทยมีรถมอเตอร์ไซด์ใช้แล้วนั้นเองค่ะ เมื่อการจราจรหนาแน่นขึ้น และรถรางต้องวิ่งตัดผ่านถนนต่างๆ ทำให้ยิ่งเกิดความล่าช้า การตัดสินใจจะยกเลิกระบบรถรางจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 1968 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการตามข้อเสนอของการไฟฟ้านครหลวง ที่ให้เหตุผลว่า รถรางทั้ง 2 สายที่เหลือนั้น ประสบการขาดทุนโดยเฉลี่ยเดือนละ 7000 บาท ทั้งที่มีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์รถรางเอาไว้ 2 ตู้ แต่ก็ได้ขายรถทั้งหมดในราคาตู้ละ 8000 บาท........................
”จากข้อมูลในหนังสือโมเดิร์น แทรมเวย์ ได้ทำให้เอมทราบด้วยว่า นอกจากรถรางในเมืองหลวงแล้ว ยังมีรถรางสายชานเมืองที่วิ่งไปยังปากน้ำด้วยนะ ซึ่งได้ยกเลิกไปเมื่อปี ค.ศ.1954 นอกจากนั้น การไฟฟ้านครหลวงก็ได้เปิดบริการรถรางที่เมืองลพบุรีด้วย เมื่อวันที่ 31 มกราคม ปี ค.ศ.1955 มีระยะทาง 5.75 กม. โดยใช้ตู้รถรางเก่าจากบางกอก รถรางเมืองลพบุรีนี้ ดำเนินการอยู่เพียง 7 ปีก็ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1962 ต่อมาได้มีความพยายามที่จะเปิดดำเนินกิจการรถรางไฟฟ้าในจังหวัดอื่นด้วย เช่น เชียงใหม่ โคราชและสงขลา แต่ก็ไม่ปรากฎผลสำเร็จจากปี ค.ศ.1968 เป็นต้นมา ก็ไม่ปรากฎรถรางๆไฟฟ้าวิ่งในเมืองไทยอีกต่อไป
ภาพด้านซ้ายคือสะพานเสี้ยวข้ามคลองหลอด ใกล้กับอนุสาวรีย์ทหารอาสา จากฝั่งสนามหลวงเข้าถนนจักรพงษ์เข้าบางลำพู ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร
ภาพด้านขวามือคือสะพานเสี้ยวข้ามคลองหลอดหลังตึกกระทรวงกลาโหมเก่า ตรงหน้าอาคารใหม่ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จ ใกล้กับสะพานช้างโรงสี ปัจจุบันไม่มีร่องรอยเหลือแล้วว่าเคยมีสะพาน....
รถรางกำลังจะเลี้ยวซ้ายจากท่าช้างวังหลวงเข้าถนนพระจันทร์ไปสิ้นสุดเส้นทางที่ท่าพระจันทร์ ส่วนตึกที่เห็นซ้ายมือนั้น เป็นที่ทำการของบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.)ในสมัยนั้นค่ะ....
ในรูป เป็นบริเวณประตูคุกเก่า สามยอด ด้านขวามือในรูปเห็นรถ สามล้อ หน้ากบ เป็นสามล้อที่มีรูปร่างน่ารัก ที่ได้สูญหายไปจากถนนนานแล้ว เหลือแต่สามล้อแบบที่เห็นในปัจจุบัน
กำลังวิ่งผ่าน สนามหลวงสังเกตุผ้าใบที่เป็นแผงค้ารอบสนามหลวงและแนวต้นมะขาม
รถราง....หน้าประตูวังท่าเตียน
.....ค่าโดยสารรถรางแบ่งเป็นสองชั้น โดยมีฉากลูกกรงไม้แบ่งครึ่งกลางคัน ครึ่งด้านหน้าเป็นเก้าอี้ไม้วางขนานไปกับตัวถังรถ ส่วนครึ่งหลังเก้าอี้จะมีเบาะนวมสีแดงปูอีกที ค่าโดยสารด้านหน้าเก้าอี้ไม้ เก็บ 10 สตางค์ตลอดสาย ด้านหลังเบาะนวมเก็บ 25 สตางค์ตลอดสาย จนชาวบ้านเรียกว่า "ข้างหน้าสิบตังค์ ข้างหลังสลึง"
รถรางกำลังวิ่งผ่านโรงกษาปณ์เก่าหน้าคูเมืองเดิม(ที่คนทั่วไปชอบเรียกคลองหลอด) เดี๋ยวนี้โรงกษาปณ์เก่ายังอยู่แต่กลายเป็นหอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า แต่คูเมืองเดิมกลายเป็นท่อระบายน้ำโดนถนนสร้างคล่อมเป็นสะพานพระปิ่นเกล้าไปแล้วค่ะ
รถรางกำลังวิ่งผ่านย่านท่าเตียน
รูปนี้ หน้าโรงหนังเอมไพร์ ปากคลองตลาด ด้านหลังมีรถเมล์ขาวนายเลิศ
กำลังฉายหนังไทย ชาติฉกรรจ์
รถรางสายรอบเมือง ตอนใน (อนุสาวรีย์ทหารอาสา - การไฟฟ้านครหลวง ที่วัดเลียบ) ถ่ายที่สนามหลวง ช่วงหน้าวัดมหาธาตุ ราวๆปี 2509 — ที่ สนามหลวง ช่วงหน้าวัดมหาธาตุ
ป้ายสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวตรงกลางคือจุดจอด ขึ้นลงและรับผู้โดยสาร....ส่วนป้ายสามเหลี่ยมสีเขียวมีดาวตรงกลางคือป้ายแสดงจุดให้รถรางรอหลีกขบวนกัน
รถรางกำลังวิ่งผ่านเยาวราช โดยมีรถแท็กซี่กำลังแซงผ่านไป สังเกตนะค่ะว่าแท็กซี่เปิดกระจกหูช้างด้านคนขับรับลมด้วย เพราะรถยนต์สมัยนั้นไม่มีแอร์ อากาศในกรุงเทพฯก็ไม่ได้ร้อนสาหัสอย่างทุกวันนี้ เพราะตอนนั้นตึกสูงไม่มี สูงที่สุดก็ตึกเจ็ดชั้นเยาวราช คนก็ตื่นเต้นกันทั้งเมืองแล้วค่ะ ส่วนคนขับรถรางนั้นยืนขับนะ ไม่ได้นั่งขับ มือขวากุมคันเบรก ส่วนมือซ้ายกุมคันเร่ง ไม่ต้องใช้พวงมาลัยเพราะมันวิ่งไปตามราง
ที่รถรางต้องหายไปจากท้องถนนก็คงเพราะเป็นความเชื่องช้าของมันที่ทำให้การจราจรติดขัดและสายไฟที่ระโยงระยางหมดความสวยงาม
รถรางสายดุสิต ผ่านหน้าธรรมศาสตร์และสนามหลวง
Probably around Wat Tuek areaรถรางแถวแยกวัดตึก
ฝั่งตรงข้ามที่หน้าจะเป็น โรงละครแห่งชาติ
รถรางสายบางคอแหลม ในภาพ รถรางกำลังจะมุ่งหน้าไปยังแยกมหาพฤฒาราม ส่วนสามล้อ กำลังมุ่งหน้าไปถนนสี่พระยา
ภาพพิธีเปิดการเดินรถราง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5
ตั๋วรถรางเก่า.
ใบหุ้น....หรือพันธบัตร รถรางในสมัยนั้น
แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นสีลม
แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นบางคอแหลม
แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นบางซื่อ
แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นดุสิต
แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นปทุมวัน
แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นสามเสน
เชือกที่โยงปลายคานรับกระแสไฟฟ้าของรถราง เชือกนี้ใช้ดึงคานให้หมุนกลับเวลารถใช้อีกหัววิ่งกลับมา เพื่อให้คานอยู่ในลักษณะลู่หลังตลอดเวลาที่รถวิ่งเพื่อป้องกันการสะดุดหัวหมุดรั้งสายไฟ และยังช่วยรั้งคานให้นิ่งไม่กระโดดอีกด้วย
รถรางวิ่งผ่านท่าราชวรดิษฐ์ สังเกตจะเห็นเชือกที่โยงปลายคานรับกระแสไฟฟ้าของรถราง เชือกนี้ใช้ดึงคานให้หมุนกลับเวลารถใช้อีกหัววิ่งกลับมา เพื่อให้คานอยู่ในลักษณะลู่หลังตลอดเวลาที่รถวิ่งเพื่อป้องกันการสะดุดหัวหมุดรั้งสายไฟ และยังช่วยรั้งคานให้นิ่งไม่กระโดดอีกด้วย ส่วนพนักงานที่ยืนท้ายรถรางนั้น เป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร เมื่อรถสุดทางก็จะเปลี่ยนหน้าที่เป็นพนักงานขับรถ นำหัวอีกด้านวิ่งกลับมา พนักงานที่ขับอีกหัวก็จะเก็บสตางค์แทนสลับกันค่ะ
ถนนวิสุทธิกษัตริย์ รถสามล้อเครื่องกำลังวิ่งสวนกับรถราง
ตรงนี้ก็คือแถวๆเสาชิงช้าด้านที่ว่าการเทศบาลนครกรุงเทพฯ ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันว่า "ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร" นั่นแหล่ะ
รถราง หน้าสโมสรราชนาวี
รถรางเลี้ยวขวาจากวังสราญรมย์ด้านข้างกระทรวงกลาโหมเข้าถนนมหาชัย เพื่อมุ่งสู่สนามหลวง ส่วนแท็กซี่คันที่เห็นท้ายยี่ห้อโตโยเป็ตค่ะ ก่อนที่จะมาเป็นโตโยต้าที่เรารู้จักในปัจจุบัน....
สามแยกถนนเจริญกรุงทางที่ออกมาวงเวียน 22 กรกฎาคม สมัยนั้นมี 3 แยกเขาเลยเรียกว่าสามแยก เดี๋ยวนี้เป็นห้าแยกไปแล้ว แต่เขาก้อยังเรียกกันว่าสามแยกตามเดิม
"โรงจอดรถราง"
รถรางไฟฟ้าวิ่งผ่านหน้าวัดปทุมวนาราม-สยาม-สนามศุภ. สายนี้วิ่งจากสะพานเฉลิมโลกเข้าถนนพระรามที่ 1 ข้ามสะพานกษัตรศึกไปทางยศเสบรรจบกับสายหัวลำโพง สายนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1925 เพื่อรองรับงานแสดงสินค้าของประเทศสยาม
ในภาพ:รถรางกำลังวิ่งบนถนนเยาวราช แถวๆแยกราชวงศ์ ซ้ายมือคือตึกคาเธ่ย์เก่า ขวามือเป็นซอยมังกร
รถรางสายดุสิต กำลังวิ่งผ่านวัดโพธิ์
1959 – Hualamphong line tram set passing a Chinese temple....ผ่านศาลเจ้าพ่อเสือ
รถรางที่ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้า
ถนนราชดำเนิน รถรางน่าจะกำลังวิ่งไปทางประตูผี ปัจจุบันอีกฝั่งเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว..
รถราง ก็ตกรางได้เหมือนกัน
1959 tram of Silom Road.. รถรางขณะวิ่งผ่าน ถนนสีลม บริเวณหน้าโรงเรียนพาณิชวิทยาลัย ที่เคยอยู่ตรงหัวมุมแยกศาลาแดงภาพปี 1959
คุณแท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ ผู้ที่กำกับการถ่ายทำสารคดี รถรางวันสุดท้ายในกรุงเทพมหานคร
ภาพรถรางขณะวิ่งบนถนนพระราม 1 ชอบความคลาสสิคของรถในสมัยนั้นจริงๆ ดูแล้วเหมือนรถของเล่นเลย ภาพปี 1959
Tram of the Dusit line on Thanon Phitsanulok (Road) at the stop close to Wat Benchamabopit (Marble Temple) on March 1, 1959
รถรางในอดีตอีกภาพหนึ่ง ขณะวิ่งอยู่แถวๆบางลำพู แยกวันชาติ ถนนมหาไชย
Bangkok Tram - Hua Lamphong line (Bang Lamphoo - Giant Swing - Hua Lamphong)1956
Bangkok Tram - Bang Kholaem line (City Pillar - Thanon Tok) at General Post Office (GPO), Bang Rak 1956
Bangkok Tram near Rattanakosin Hotel (Royal Hotel) 1950....ภาพรถรางกำลังจอดรอผู้โดยสารขึ้น-ลงที่บริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ในปี 1950 (พ.ศ.2493)
ภาพรถราง สายสีลม ที่จอดอยู่บริเวณถนนสีลมตัดกับถนนเจริญกรุง ย่านบางรักก่อนปี 2505.. เพราะยังเห็นแนวคลองสีลม ทางขวามือ
พนักงานขับรถราง..ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ เมื่อประมาณปี 1950 (พ.ศ.2493)
ขณะที่รถรางกำลังวิ่งผ่านบริเวณวัดโพธิ์
รถรางขณะแล่นผ่านบนสะพานเสี้ยวเมื่อปี1962(พ.ศ.2505)
ประวัติของสะพานเสี้ยว สะพานเสี้ยวเป็นสะพานข้ามคลองคูเมือง บริเวณสะพานผ่านพิภพลีลาในปัจจุบัน ชื่อสะพานเรียกตามลักษณะของสะพานซึ่งมีรูปเสี้ยวเหมือนขนมเปียกปูนสมัยโบราณ แม้ต่อมาจะได้มีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสะพานใหม่หลายครั้ง แต่ก้ยังคงชื่อสะพานไว้เช่นเดิมจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ.2444 ครั้งโปรดเกล้าฯให้สร้างสะพานผ่านพิภพลีลาขึ้นในบริเวณที่เป็นสะพานเสี้ยว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายสะพานเสี้ยวไปอยู่ด้านเหนือ ตรงกับถนนจักรพงษ์ ใกล้ๆสะพานผ่านพิภพลีลานั่นเองค่ะ ในสมัยที่กรุงเพฯยังมีรถรางอยู่นั้น สะพานเสี้ยวได้กลายเป็นเส้นทางสำหรับรถรางวิ่งข้ามคลองคูเมืองเดิม จนกิจการรถรางเลิก สะพานเสี้ยวจึงกลับมาเป็นสะพานคนเดิมข้ามอีกครั้ง และได้รื้อออกเมื่อครั้งสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในครั้งนั้นเองที่ทั้งชื่อสะพานและตัวสะพานได้สูญหายไปจากสายตาและกำลังจะหายไปจากความทรงจำของคนกรุงเทพฯในไม่ช้า แหล่งอ้างอิง: ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน
รถรางขณะวิ่งผ่านโรงเรียนงามวิไล
รถรางเคยเป็นรถโดยสารของชาวกรุงในอดีต
ด้วยราคาค่าโดยสารที่ถูก..ปลอดภัย จึงได้รับความนิยมจากชาวกรุง
Thailand - Bangkok - Bygone days of the tramwayภาพถ่ายรถรางสายสามเสนบนถนนเยาวราชใกล้ๆแยกเฉลิมบุรี ถ่ายโดย ระบิล บุนนาค ตากล้องที่มีกิจการรับถ่ายรุปและล้างฟิล์มแถวสีลม - ภาพนี้ถ่ายราวๆปี 2493 ตอนนี้เก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (โดย Moderator Wiz)
Thailand - Bangkok - Bygone days of the tramwayรถรางยุคปี 50 ปลายๆสายบางลำภู กำลังวิ่งเลียบคลองหลอด ขณะวิ่งผ่านอนุสาวรีย์หมู
Thailand - Bangkok - Bygone days of the tramwayรถรางสายหัวลำโพง-บางลำภู ขณะวิ่งผ่านแยกแห่งหนึ่งของบางกอกที่ข้างทางยังมีตึกรูปทรงโคโลเนี่ยนให้เห็น
tram near wat pho, 1959....รถรางยุคปี 2502 ขณะวิ่งบนทางด้านข้างของวัดโพธิ์
รถรางสายบางคอแหลมบนถนนเจริญกรุง ถ่ายแถวหน้าไปรษณีย์กลางบางรัก ถ่ายโดยนาย Rene Burri เมื่อปี 1961 (พ.ศ. 2504) เห็นอาคารอดีตห้างไวท์อเวย์เลดลอว์ ที่กลายมาเป็นธนาคาร Bank of America สาขาประเทศไทยแต่ปีพ.ศ. 2492 ด้วยค่ะ
ภาพรถรางเก่าข้างทางเป็นร้านขายข้าวหมูแดงและถัดไปร้านขายบะหมี่ร้านเก่าแก่ต้องอร่อยแน่ๆ....(ปัจจุบันอาคารที่มีหน้าจั่วคือร้านแอ๊ว ท่าพระจันทร์ อยู่ตรงปากทางเข้าอาคารสงเคราะห์กองทัพบกส่วนกลาง(ท่าช้าง) ถนนมหาราช มุ่งหน้าไปท่าพระจันทร์ ปลายทางคือธรรมศาสตร์เครดิตคุณ Kittipong Fern Jarusathorn
They are rare but do exist; colour photos taken by an early tourist during the fifties. Here a tram with trailer not far from the Hua Lamphong railway station and how well maintained Bangkok looked in those days especially the pavement along the Khlong side. [ Khlong (Thai laguage) means: canal ] This picture was taken by Wally Higgins
รถรางสายหัวลำโพงขณะวิ่งผ่านประตูโรงเรียนเทพศิรินทร์ ข้างคลองผดุงกรุงเกษม.....credit railasia's photostream
Pak Nam railway and Samsen tram at Saphan Lueang [National archives of Thailand] 1946
ภาพถ่ายทางอากาศเห็นถนนพระรามสี่ย่านสะพานเหลืองและทางรถไฟสายปากน้ำที่วิ่งคู่ขนานไปกับถนนเมื่ออดีต.. และคลองหัวลำโพงที่มีเส้นทางจากคลองผดุงกรุงเกษมถึงคลองเตย.... ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1946 (พ.ศ.2489)
Photographer: Peter Williams-Hunt
BANGKOK TRAM - 1957 รถรางสาย บางรัก - ประตูน้ำ ขณะจอดรอผู้โดยสารที่ป้ายต้นทางแยก บางรักตัดกับเจริญกรุง บนถนนสีลม เมื่อ พ.ศ.2500
รถรางสายดุสิต กำลังข้ามคลองขณะวิ่งเลียบถนนพิษณุโลกราวๆปี 2503 - ใครพอรู้ว่าเป็นภาพแถวไหนช่วยบอกกันด้วยค่ะ (Moderator Wiz)
ปีพ.ศ. 2518 รถเมล์ใน กทม.มีหลายสิบบริษัท ส่วนใหญ่เป็นบริษัทเอกชน แล้วแต่ละบริษัทจะเลือกสีกันตามสบาย และเวลาคนรอรถเมล์จะไม่ดูเลขสาย แต่จะดูสีรถเป็นหลัก เช่น ยืนอยู่อนุสาวรีย์ชัยฯจะไปบางลำพู จะรอรถเมล์แดง สาย 12 หรือ ยืนอยู่ราชประสงค์อยากจะไปคลองเตยก็จะรอรถเมล์เหลือง สาย 13 ตอนช่วงที่เปลี่ยนเป็นของรัฐใหม่ๆ คนเฒ่าคนแก่เดือดร้อนกันทั่วหน้า ต้องปรับตัวกันครั้งยิ่งใหญ่ ต้องคอยเล็งรถเมล์ทุกคัน เพราะสีเดียวกันหมด การใช้สีแบบเดิมก็ดูดีมีเสน่ห์ดีนะ ไม่เห็นต้องเปลี่ยนเป็นสีเดียวกันหมด คนสายตาไม่ดี จะเห็นรถที่ตัวเองจะขึ้นได้ไกลๆ พอโผล่มาก็รู้แล้วว่าสายอะไร เดี๋ยวนี้คนเฒ่าคนแก่ จะขึ้นรถเมล์ต้องคอยเพ่งสายตามองหาเลข ยิ่งกว่าหาหวยเสียอีก ขึ้นรถผิดสายหรือหลงทางก็มีบ่อยๆ ในยุคนั้นมีรถเมล์ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจอยู่สองยี่ห้อ คือ รถเมล์ ร.ส.พ. และ รถเมล์ บ.ข.ส. ของ บขส.จะมีวิ่งหลายสาย ที่เห็นในรูป คือ สาย 25 ท่าช้าง ปากน้ำ เริ่มต้นจะเป็นรถมีหัวยาวๆ ส่วนใหญ่จะเอารถบรรทุกมาต่อเป็นรถเมล์ คล้ายๆรถสองแถว โดยตอนแรกก็เป็นรถทางอเมริกา เช่น FORD หรือ GMC และมาใช้ ISUZU จนมาใช้รถหน้าตัด HINO และเป็น BENZ
HINO BX Length 10M.
ประจำการ(Registed) : 2520 (1977)
ปลดระวาง(De-Registed) : 2535 (1992)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 1,000 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : x-1001 - x-2000
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 1 2 4 10
เป็นรถเมล์รุ่นแรกที่มีการซื้อมากที่สุดถึง 1,000 คัน แต่โครงการซื้อรถเมล์ใหม่ 3,183 คัน คาดการณ์ว่า จะได้ซื้อรถร้อนยี่ห้อนี้ 1,500 คัน
ISUZU TX Length 9M.
ประจำการ(Registed) : 2520 (1977)
ปลดระวาง(De-Registed) : 2535 (1992)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 500 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : x-2001 - x-2500
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 8 9
สแกนจากหนังสือ 9ปี ขสมก. ปี 2528
VOLVO B57-60 Length 12M.
ประจำการ(Registed) : 2520 (1977)
หยุดให้บริการ(Out Off Serviced) : 2526 (1983)
ซ่อม ดัดแปลงเป็นประตูกลาง ออกมาให้บริการอีกครั้ง (Repaired ,Converted body only one door and re-serviced) : 2530 (1987)
ปลดระวาง(De-Registed) : 2535 (1992)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 200 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : 11-101 - 11-300
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 11 (เขตการเดินรถปรับอากาศ)
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกระทรวงคมนาคม ปี 2521
ISUZU JCR600YZNN Length 12M.
แฟนานุแฟนรถเมล์เรียกว่า "อีซูซุจัมโบ้" เพราะตัวถังมีขนาดใหญ่กว่ารถรุ่นเก่า
ประจำการ(Registed) : 22 พ.ค.2523 (22 MAY 1980)
ปลดระวาง(De-Registed) : 2540 (1997)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 500 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : x-20101 to x-20600
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 1 5 7 8 9 10
HINO RF720 Length 12M.
รถร่วมบริการ (Private Joint Bus)
ประจำการ(Registed) : 22 กรกฎาคม 2528 (22 JULY 1985)
ปลดระวาง (De-Registed) : 2532 (1989)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 180 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : 82-4001 to 82-4180
บริษัทผู้ให้บริการ (Bus Service Operator) : บ.เอส.เค.ทัวร์ แอนด์เซอร์วิส จก.(S.K.Tour and Service Co.,Ltd.)
VOLVO B57-60 Length 12M. First Batch
รถวอลโว่ชุดแรกที่ประจำการปี 2520 แต่ดัดแปลงตัวถังเป็นประตูกลาง (Converted Body)
ประจำการ(Registed) : 2520 (1977)
หยุดให้บริการ(Out Off Serviced) : 2526 (1983)
ซ่อม ดัดแปลงเป็นประตูกลาง ออกมาให้บริการอีกครั้ง (Repaired ,Converted body only one door and re-serviced) : 2530 (1987)
ปลดระวาง(De-Registed) : 2535 (1992)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : About 100-130 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : 11-101 - 11-300
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 11 (เขตการเดินรถปรับอากาศ)
Mercedes Benz OF1617/61 Length 12M.
ประจำการ(Registed) : 18 ก.พ.2531 (1988)
ปลดระวาง(De-Registed) : 2534 (1991)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 100 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : 11-6001 to 11-6100
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 11 (เขตการเดินรถปรับอากาศ)
ภาพจาก ขสมก.
โพสต์โดย Mod.Phong
HINO BX321 Length 10M.
แฟนานุแฟนรถเมล์เรียกว่า "ฮีโน่ครีมแดงประตูหน้า-หลัง/ฮีโน่ครีมแดง 10 เมตร"
ประจำการ(Registed) : 18 ก.พ.2531 (18 FEB 1988)
ปลดระวาง(De-Registed) : 2542 (1999)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 250 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : x-4001 to x-4250
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 1 2 3 4 5 6 10
ISUZU MT111L Length 10M.
แฟนานุแฟนรถเมล์เรียกว่า "อีซูซุครีมแดง 10 เมตร หรือ อีซูซุหน้า-หลัง"
ประจำการ(Registed) : 18 ก.พ.2531 (18 FEB 1988)
ปลดระวาง(De-Registed) : 2542 (1999)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 250 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : x-5001 to x-5250
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 1 5 8 9
DAEWOO BF120
ยาว (Length) : 12M.
ฐานล้อยาว (Wheel Base Length) : 6.1 M.
แฟนานุแฟนรถเมล์เรียกว่า "แดวูครีมแดงประตูหน้า-หลัง" ทำให้นึกถึงรถ บขส. ต่างจังหวัดเพราะตำแหน่งประตูตรงกัน
ประจำการ(Registed) : 18 ก.พ.2531 (18 FEB 1988)
ปลดระวาง (De-Registed) : 2542 (1999)
เครื่องยนต์ (Engine) : เครื่องยนต์ของรถเมล์ยี่ห้อMAN รุ่น D0846HM 185Hp.
ความเร็วสูงสุด (Max Speed) : 111 KM/H.
ความจุที่นั่งผู้โดยสาร (Capp.) : 47 Seats
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 400 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : x-70101 to x-70500
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 2 3 4 5 6
ประกอบตัวถังโดย (Manufactured by) : Motor and Leasing Co.,Ltd.
DAEWOO BF120DS
ยาว (Length) : 12M.
ฐานล้อยาว (Wheel Base Length) : 6.1 M.
แฟนานุแฟนรถเมล์เรียกว่า "แดวูครีมแดงประตูกลาง"
ประจำการ(Registed) : กลางปี 2534 (Mid 1991)
ปลดระวาง (De-Registed) : 2542 (1999)
จำนวนรถทั้งหมด (Bus Amount) : 450 Buses
เลขข้างรถ (Bus number) : x-70501 to x-70950
เขตการเดินรถที่ให้บริการ (Serviced in bus area) : 3 5 6
ประกอบตัวถังโดย (Manufactured by) : Motor and Leasing Co.,Ltd.
รถไมโครบัส ช่วงแรกๆให้ผู้หญิงขับเพราะใจเย็นและรอบคอบกว่าผู้ชาย อีกทั้งขับง่ายเพราะเป็นรถใช้เกียร์อัตโนมัติ
วิ่งสาย ปอ.พ.5 เป็นสายแรก
ภาพโดย Mod.Phong
โหน โหน โหนเวลาขึ้นรถเมล์ ชอบยืนตรงบันได ไม่อึดอัด และอีกอย่างหนึ่งไม่ต้องจ่ายสตางค์" อ้างมือไม่ว่าง" แต่ถึงไม่แน่นขนาดนั้น บันได คือรู้กันว่า เดี๋ยวลงแล้ว ขอขึ้นฟรีก็แล้วกัน คนเก็บสตางค์ ค่ารถเมล์ (50 สตางค์) ไล่สองอย่าง อยู่ข้างหน้าก็บอกเดินหลังหน่อยข้างในว่าง อยู่ข้างหลังก็บอกเดินหน้าหน่อยข้างในว่าง เขย่ากระบอกตั๋วที่มีเหรียญดังเคร้งๆ เพื่อให้รู้ว่าถึงเวลาจ่ายแล้ว.... คนไม่ค่อยชอบยืนตรงกลาง กลัวลงไม่ทัน นานๆก็เจอทีเด็ด ว่าแดกเข้าให้ กลางว่าง "ไม่มีงู" หรือ "จะเว้นไว้เล่นตะกร้อหรือไง" รถเมล์ที่แน่นๆแบบนี้คงเป็นความทรงจำในวัยเด็กเท่านั้นปัจจุบันเขาพัฒนาแล้ว..
ภาพการโหนรถเมล์ในยุคอดีตก่อนปีพ.ศ. 2519เมื่อรถเมล์วิ่งมาเข้าป้ายในชั่วโมงเร่งด่วน..ส่วนมากจะเจอสภาพแบบนี้..แน่นจนแทบจะขึ้นหรือลงจากรถไม่ได้..ดังเช่นในภาพหนูน้อยนักเรียนยืนจดๆจ้องๆ ว่าจะสามารถขึ้นไปกับรถคันนี้ได้หรือไม่ไม่รู้คนโหนรถเมล์ในสมัยอดีต..รอดมาได้ยังไงเครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com
Phong Prasertsang
รถสองแถวเล็กปีพ.ศ.2525ตัวเลือกอีก 1 ทาง เมื่อรถเมล์มีไม่พอบริการในยุคอดีตในภาพ เป็น สาย 77 เคยใช้บริการตอนเรียน มัธยมที่สีลมอยู่เหมือนกันวิ่งเร็วกว่ารถเมล์อยู่ จริงๆแต่ชอบจอดแช่ป้ายนานมากและจอดทุกป้ายเสียด้วยสรุปคือใช้เวลา พอๆกันกับรถเมล์เครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com
Phong Prasertsang
รถไมโครบัสรุ่นแรกๆก่อนดัดแปลงประตูอยู่ตรงกับคนขับ เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายก่อน แล้วดีดขึ้นมาเป็น 30 บาทตลอดสาย ขึ้นๆลงๆ 40 25 อะไรก็ว่าไป เป็นรถที่แบบว่า เคยมีทั้งโทรศัพท์ ทีวี หนังสือพิมพ์ เครื่องออกตั๋วอัตโนมัติก็ปรินท์ตั๋วออกมา มีนายตรวจคอยตรวจตั๋วด้วย
เหตุที่มีรถตัวนี้ออกมาก็เพื่อต้องการดึงดูดคนมีกะตังค์ นักธุรกิจหันมานั่งรถเมล์พิเศษ แทนการใช้รถส่วนตัว วิ่งตั้งแต่ปี 36 มีตั้งแต่ ปอ.พ.1 ยัน ปอ.พ.35 วอดวายไปเรื่อยๆ เช่นนั่ง ปอ.พ.8 ไปสวนสยาม ก็วิ่งอ้อมได้ใจ จนเมื่อ 2-3 ปีก่อน ไมโครบัสก็กลายเป็นเมโทรบัส แล้วรถไมโครบัสเก่าน่ะหรือ? เขาใช้ 2 ยี่ห้อ ยี่ห้อเบนซ์ยาว 10 เมตร กับนิสสันยาว 8.50 เมตร
รถมินิบัสสีส้มที่วิ่งๆกันในตอนนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากตัวถังไมโครบัสนิสสัน 8.5 เมตร
By Mod. Phong Mori Hazegawa
รถเมล์ยี่ห้อเลย์แลนด์ ของเก่าจาก บ.นายเลิด ที่ ขสมก. ซื้อกิจการมาบริหารต่อ
สาย 1015 ปัจจุบันคือสาย 71
ภาพนี้น่าจะราวๆพ.ศ.2526 ได้
สแกนจากวารสารถนนหนทาง
By Mod. Phong
เมื่อปลายปี 2535 ขสมก. ได้ทดลองวิ่งรถพ่วงปรับอากาศ (ก่อนหน้านี้ เรียกว่า"รถหีบเพลง" เพราะข้อต่อพ่วง เหมือนหีบเพลงจริงๆ)
โดยใช้รถเมล์ยี่ห้อวอลโว่ รุ่น B10MA-55 พละกำลัง 275 แรงม้า ทดลองวิ่งสาย ปอ.3(503)รังสิต - ปิ่นเกล้า ทดลองแล้วเข้าท่าดี เพราะจุคนได้เยอะ ประหยัดต้นทุนการขนส่ง
ขสมก. เลยไปเช่ารถพ่วง 2 ยี่ห้อ จำนวน 100 คัน เมื่อปี 2538 ได้แก่ Mercedes Benz รุ่น O405G จำนวน 50 คัน ที่เคยวิ่งสาย 145 511 Ikarus รุ่น 283 จำนวน 50 คัน ที่เคยวิ่งสาย 168 502 512 514
สแกนจากวารสารถนนหนทาง ปี 2535 หอสมุดกลาง ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
ภาพโดย Mod. Phong
รถสองแถวไดฮัทสุ สาย 203 เมื่อปีพ.ศ.2525
ตอนนั้นวิ่งระหว่างสนามหลวง - ซอยวัดบางพระครู(จรัญฯ 85)
สแกนจากหนังสือเฉลิมรัฐ ฉัตรแก้วเก้าแผ่นดิน สมโภชน์กรุงเทพ 200 ปี จากหอสมุด ม.มหิดล ศาลายา
By Mod. Phong
คันนี้เป็นสาย 38 วิ่งเชื่อมระหว่าง ขนส่งสายตะวันออกที่เอกมัยกับขนส่งสายเหนือหมอชิต เป็นรถบรรทุกต่อท้ายเหมือนกัน ตอนนั้นทั้งคนนั่งได้ไม่กี่คน หน้าต่างจะยกขึ้นยกลง เวลาหน้าฝนคงฉุกละหุกหน้าดู รุ่นแรกๆหน้าต่างยกขึ้นมาจะเป็นบานเกล็ดทำด้วยไม้ จนมาเปลี่ยนเป็นพลาสติคขุ่นๆมัวๆ เพราะความร้อน แต่ก็ยังดี เพราะตอนที่มีรถเมล์ที่ดัดแปลงจากรถบรรทุกใหม่ๆ หน้าต่างไม่มีนะ เขาจะใช้ผ้าใบม้วนไว้ข้างๆ เวลาฝนตกก็เอาลง นอกจากนั้นรถ บขส.ยังวิ่งอีกหลายสาย เช่น สาย 28 จาก หมอชิต ไปขนส่งสายใต้ สาย 24 จาก รังสิตไปสนามหลวง สมัยนั้นมีรถเมล์ไปสนามหลวงจากทุกมุมของ กทม. ส่วนของ รสพ.จำได้สายเดียวคือ สาย 1 ค่ารถ 50 สตางค์ เดี๋ยวนี้เท่าไรไม่รู้ไม่เคยขึ้น เคยมี ตอนสมัยนายกถนอมขึ้นค่าโดยสารเป็น 75 สตางค์ เชื่อไหมมีการเดินขบวนประท้วงกันวุ่นวายจนรัฐบาลต้องยอมลดราคาลงมาเหลือเท่าเดิม
เป็นมหกรรมการโหน..โหน..โหน ยุคเก่ากับรถเมล์เหลืองสาย 37
บรรยากาศครึ้มฟ้า ครึ้มฝน..ที่ป้ายรถเมล์ แถวหน้าวัดพระแก้ว เห็นใบปิดหาเสียงของสภาเทศบาลนครกรุงเทพปีพ.ศ.2514 และป้ายนี้ มีสาย 75-76-79 บริการอยู่ (Moderator Wiz)
รถโดยสารยี่ห้อเบนซ์ รุ่น O 300 ความยาว 9 เมตร ขนาด 28 ที่นั่ง ตัวถังโครงสร้างทำด้วยไม้ปิดด้วยแผ่นอาลูมิเนียมและเหล็ก เป็นรถโดยสารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีรูปร่างที่สวยงาม เครื่องยนต์มีกำลังแรง และในที่สุดเบนซ์ก็สามารถครองตลาดรถยนต์โดยสารของเมืองไทยไว้ได้ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่มากที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน ในภาพเป็นรถโดยสาร วิ่งระหว่าง กรุงเทพ(ท่าช้าง)-สมุทรปราการ(ปากน้ำ)
เป็นรถโดยสารรุ่นเก่า ที่ใช้รถบรรทุกขนาดกลางยี่ห้อ Austin มาดัดแปลงเป็นรถโดยสาร ขนาดความยาว 6.5 เมตร 18 ที่นั่ง รถสาย 25 รุ่นเก่า ท่าช้าง-ปากน้ำ
รถโดยสารยี่ห้อ ISUZU ซึ่งเป็นรถโดยสารแบบแรกๆที่แยกประเภทจากการแฝงตัวกับรถบรรทุกมาเป็นรถโดยสารมวลชนโดยเฉพาะ เป็นรถยนต์รุ่น Tr เครื่องยนต์ท้าย ความยาว 10 เมตร 25 ที่นั่ง สาย 28 เก่า..วิ่งไปขนส่งสายใต้
รถยนต์โดยสารยี่ห้อ ISUZU อีกรุ่นหนึ่งที่วิ่งในเส้นทาง สาย 28 ขนส่งสายเหนือ - ขนส่งสายใต้ ปัจจุบัน สาย 28 ก็ยังวิ่งไปขนส่งสายใต้(บรมราชชนนี) แต่ต้นทางจะอยู่แถวรัชโยธิน
รถโดยสารที่ใช้โครงสร้างจากรถบรรทุกยี่ห้อ GMC จากสหรัฐขนาด 14 ที่นั่ง ความยาว 6.5 เมตรสาย 25 เก่า เช่นกัน ท่าช้าง-ปากน้ำ
คันนี้เป็นรถโดยสารยี่ห้อ Heidelberg ของเยอรมัน วิ่งในเส้นทางสาย 30 ท่าช้าง - นนทบุรี
รถโดยสารระหว่างจังหวัดของ บขส. ยี่ห้อ Deutz รถรุ่นนี้มีความพิเศษคือพวงมาลัยสีขาวและใช้เกียร์แบบใต้พวงมาลัย นอกจาก บขส.แล้ว รถยี่ห้อ Deutz ยังมีใช้บริการมากที่สุดในบริษัท คลองเตยพาณิชย์ จำกัด (รถเมล์เหลืองคาดเขียว) สาย 13 ห้วยขวาง - คลองเตย
Merzedeze Benz O300 ตัวสุดท้ายของบริษัท ศิริมิตรขนส่ง จำกัด วิ่งร่วมสัมปทานกับ บขส. ในเส้นทางสาย 30 ท่าช้าง - นนทบุรี ก่อนโอนสัมปทานให้กับ บริษัทมหานครขนส่ง ในปีพ.ศ.2518 และโอนให้กับ ขสมก.ในปีพ.ศ. 2519 โดยที่ บ.ศิริมิตรยังคงใช้รถรุ่นนี้วิ่งบริการในเส้นทางฐานะของรถร่วมบริการกลุ่ม 29 และในปีพ.ศ. 2523 บ.ศิริมิตรไม่สามารถรับภาระการขาดทุนต่อไปได้ จึงคืนสัมปทานทั้งหมดให้กับ ขสมก.
ซึ่งปัจจุบัน ขสมก.ได้ขายสัมปทานเส้นทาง บ.ศิริมิตรเดิม คือ สาย 30 ให้กับเอกชน และยุบเลิกสาย 31 ท่าช้าง-ปทุมธานี ปัจจุบัน บ.ศิริมิตรขนส่งเลิกทำกิจการรถโดยสารอย่างสิ้นเชิง หันไปประกอบกิจการโรงน้ำแข็งและน้ำดื่มบรรจุขวดแทน
แนวความคิดแยกรถโดยสารออกจากโครงสร้างรถบรรทุกมีมานานแล้ว โดยเยอรมันเป็นผู้คิดแยก แต่โครงสร้างของแชทซีส์ก็ยังคงเป็นรถบรรทุกตามเดิมคันนี้เป็นรถโดยสารยี่ห้อ Hildenberk ของเยอรมัน วิ่งในเส้นทางสาย 30 ท่าช้าง - นนทบุรี ปัจจุบันปรับเปลี่ยนเส้นทางเป็น สายใต้ใหม่ - วัดนครอินทร์ เป็นรถโดยสารที่มีรูปร่างอัปลักษณ์ที่สุดของไทยเลยล่ะ
....Merzedez Benz รุ่น Superior ตัวนี้ได้รับการแปลงโฉมใหม่โดยช่างไทยแล้ว วิ่งอยู่ในเส้นทางสาย กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา เมื่อสัก 40 ปีที่ผ่านมานี่เอง
รถเมล์ขาวนายเลิศ ทันนั่งกันไหม
รถมล์กับรถรางตรงสนามหลวงฝั่ง ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ....เครดิตภาพ จากคุณ phongrottourthai.com
รถเมล์รุ่นเก่า หน้าจะยี่ห้อ โตโยต้า คันนี้เป็นรถ บ.ศิริมิตรสาย 17 วิ่งระหว่าง บุคโล ไป สนามหลวงเครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com
แยกลาดพร้าว สาย 8 นายเลิศกำลังเลี้ยวไปหมอชิตเครดิตภาพ จากคุณ phongrottourthai.com
ร.ส.พ. เคยวิ่งสาย 1 ด้วย ตัวถังมีสีฟ้าเชียว ถนนตก-ท่าเตียน....เครดิตภาพ จากคุณ phongrottourthai.com
รถเมล์สายไหนที่อยู่ละแวกท่าเรือคลองเตย ร.ส.พ. รับไปวิ่งเอง.. ถ้าจากบางเขนวิ่งไปอนุสาวรีย์ชัย รถจะใช้สีเลือดหมูเครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com
สาย 3 วิ่งผ่านหน้าวัดพระแก้ว
ย่านราชประสงค์ มุ่งไปทางประตูน้ำ ประมาณปีพ.ศ.2516
สาวน้อย ม.ปลาย 2 คนนั้น บัดเดี๋ยวนี้ คงเป็นสาวใหญ่กันแล้ว ฮ่าๆๆๆยืนอยู่หน้ารถเมล์ รุ่นจัมโบ้..เครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com.
.สาย 112 บน ถ.ราชวิถี ก่อนถึงอนุสาวรีย์ชัยฯ เป็นแบบรถโดยสารธรรมดาสีน้ำเงิน เคยให้บริการในช่วง2521-2535....เครดิตภาพ จากคุณ phongrottourthai.com
Vente en France uniquement
Thailand, Bangkok; Women are being transported to a bus by canoe because of the flooding Droit g้r้ - Oeuvre prot้g้e par copyright
เหมือนเป็นรถเมล์เฉพาะนักเรียนในสมัยก่อนเครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com
รถเมล์แอร์สองชั้นรุ่นทดลองวิ่ง แต่ไม่เคยได้ออกมาบริการจริงๆ..เครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com
รถเมล์คันสีเขียวอ่อนขวามือ หน้าจะเป็นรถ รสพ.
รถเมล์ขาวของนายเลิศกับรถสีส้ม หน้าจะเป็นของ . บขส. (บขส. วิ่งเองในสมัยนั้น)..ภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในปีพ.ศ. 2508 ไม่น่าเชื่อ รถตุ๊กตุ๊ก มีมาวิ่งแล้ว เพราะรัฐบาลประกาศยกเลิกรถสามล้อถึบใน กทม.เมื่อปีพ.ศ. 2507 มีสามล้อเครื่องมาวิ่งอยู่สักพักแล้วเราก็ได้ให้การต้อนรับเจ้า ตุ๊กตุ๊ก ที่เป็นรถเก่ามาจากญี่ปุ่น จนปัจจุบันเราเป็นผู้ส่งออกเจ้าตุ๊กตุ๊กไปต่างประเทศหลายแห่ง โดยเฉพาะแถวอัฟริกา และที่เท่ห์สุดๆด้านหลังตรงกะบะเราประทับตรา THAILAND ตัวเบ่อเร่อ
เป็นรถเมล์ยี่ห้อ Heidelberg HB ของเยอรมัน ของบริษัท ศิริมิตร จำกัด วิ่งร่วมสัมปทานบริษัทขนส่ง(บขส.) ในเส้นทางสาย 30 ท่าช้าง-นนทบุรี ในสมัยนั้น ภาพนี้ถ่ายขณะรถวิ่งอยู่แถวๆบางลำพู เมื่อประมาณปีพ.ศ.2505 คนถ่ายภาพนี้ชื่อ มิสเตอร์ชาลี ซุลลิแวน เพราะในสมัยนั้น เมืองไทยยังไม่มีภาพสี การถ่ายภาพสีสมัยนั้นต้องให้คนต่างชาติมาถ่ายให้
ในภาพเห็นหัวรถ รสพ สีฟ้า.สาย1 ท่าเตียน-ถนนตก ขณะกำลังตีคู่เลี้ยวโค้งแข่งกับรถราง
สาย 30 บนถนน ราชดำเนิน
รถ บขส.ขณะเลี้ยวออกมาจากท่ารถเอกมัยในอดีต(มุมซ้ายของภาพที่เห็นรถจอดอยู่) ท่ารถเอกมัย สมัยโน้นพื้นจะเป็นหินก่อสร้างเอามาโรยหน้าฝนน้ำท่วมเป็นหลุมเป็นบ่อเฉอาะแฉะสังเกตุจากรอยล้อรถที่เพิ่งเลี้ยวออกมาคันนี้วิ่ง กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา เขียนไว้ว่าผ่านมีนบุรีด้วย
Bus driver demonstrating the unusual style of driving, while sitting off centre to the steering wheel.1960ภาพบรรยากาศบนรถเมล์หน้ายาว รุ่นโบราณ สมัยปี 1960 มีทั้งนั่งและยืนโหนเหมือนในปัจจุบัน
นี่หน้าจะเป็นรถสองแถวในยุคต้นๆ....ภาพ รถสองแถว ปี 1970 ขณะจอดติดไฟแดงหน้า สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ บนถนนพระราม1 แถวปทุมวันชอบป้ายรถเมล์จังสมัยก่อนโฆษณาได้ด้วย.โกเบแบตเตอรี่..ขวัญใจรถบรรทุก
ภาพปีพ.ศ. 2527..... สาย 58 สมัยวิ่งถึงบางกอกน้อย เห็นรูปนี้แล้วคิดถึงศาลาเฉลิมไทย (ทุบทิ้งเมื่อปีพ.ศ.2532)
ภาพปี 1973 ที่ถนนพระรามที่ 1 เห็นหน้าสนามกีฬาแห่งชาติทางซ้ายของภาพ .... มองเห็นสาย 15 สมัยยังเป็นรถรุ่นเก่า..กำลังเลี้ยวเข้าป้าย
Bangkok 1971 ฝั่งธน เห็นรถเมล์สาย 80 วิ่ง บางแค - พาหุรัดกำลังจอดเข้าป้ายรถเมล์ คนในสมัยนั้นก็ยังนิยมนุ่งผ้าถุงอยู่
นักเรียนซางตาครู้ส กำลังรอรถเมล์
รถปรับอากาศรุ่นแรกที่ ขสมก. ซื้อ เมื่อปีพ.ศ. 2520
ยี่ห้อวอลโว่ รุ่น B57-60 จำนวน 200 คัน เลขข้างรถ 11-101 ถึง 11-300
ประจำการ พ.ศ.2520 - พ.ศ.2535
เป็นแอร์น้ำมัน เครื่องยนต์หน้า การวางตำแหน่งประตู ใช้แบบเดียวกับรถยูโรทูสีส้ม แต่เปิดแต่ประตูบานหน้าได้บานเดียว
ค่าโดยสาร 5-15 บาท
สแกนจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
By Mod. Phong Mori Hazegawa
รถโดยสารของ บขส. ที่ถูกเช่าเหมา เป็น รถทัศนาจร จอดรอผู้โดยสารอยู่ (หน้าจะแถวโรงละครแห่งชาติ)
รถโดยสารเก่า สาย 40 เอกมัย-สายใต้ ที่ดำเนินการโดย บขส.เอง
bkk 1967.. ภาพรถเมล์รุ่นเก่า สมัย 24 บริษัท ที่ยังเป็นรถสีต่างๆอยู่.. อย่างคัน นี้สาย 54 รอบเมือง เทเวศร์ (วนขวา) วิ่งอยู่บนถนนราชินี ทางด้านหน้า โรงละครแห่งชาติ กำลังจะเลี้ยวไปทางด้านสนามหลวงภาพปี 2510 credit Paul Gansky
Bangkok bus 99-92, Mercedes Benz, circa 1964-66. .ภาพรถเมล์ สาย 29 ที่ถูกชนท้ายจอดเสียหายอยู่ที่หน้าสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ บนถนนพหลโยธิน ยุคปีพ.ส.2509 ส่วนอาคารหลังคาสีส้มด้านซ้ายคือ ธ.ออมสิน สำนักงานใหญ่ แถวแยกสะพานควายสังเกตุ หน้าต่างของรถเมล์ รุ่นนี้จะเป็นแบบบานเกล็ดอลูมิเนียมปิด-เปิดโดย ยกขึ้น หรือ เอาลงทั้งบาน.. ไม่มีล็อคระหว่างกลาง ฉนั้นถ้าวันไหนฝนตกแล้วต้องปิดทั้งคัน จะร้อนมากๆ credit http://ball-nok.blogspot.com/2010_11_01_archive.html
1991 thailand bangkokstreetbus.... ภาพรถเมล์ปีพ.ศ.2534 ที่ป้ายหน้าโรงหนังอินทราประตูน้ำ สมัยนั้นถ้าคันไหนเสริมพิเศษ คือ วิ่งระยะสั้นกว่าปกติ..ก็จะมีการเอาป้ายโลหะสีแดงๆไปแขวนทับบังป้ายที่บอกเส้นทางปกติที่เสียบแจ้งไว้ข้างประตูขึ้นรถเมล์....Credit by: http://www.pbase.com/hwyhobo/image/208169
bkk 1961 กรุงเทพฯปีพ.ศ.2504 ยุครถเมล์ยังดำเนินงานโดยเอกชนและแบ่งเป็นสีเพื่อบอกสังกัดบริษัทและสายที่วิ่งอย่างชัดเจนคันทางซ้าย รถเมล์ขาวของนายเลิศอย่างไม่ต้องสงสัยส่วนทางขวาน่าจะเป็นรถเมล์เขียวของ บ.ศรีนคร
bkk 1978 รถเมล์ในปีพ.ศ.2521
หน้าวัดพระแก้วปีพ.ศ.2517....เห็นรถแท็กซี่รุ่นเก่า..และรถเมล์ที่ยังเป็นยุครถเมล์สี
รถเมล์นายเลิศสาย 71 (คลองจั่น - วัดโพธิ์) ถ่ายเมื่อปีพ.ศ.2518 ซ้ายมือคนแรกเป็นเครื่องแบบ พนักงานเก็บเงิน ถนัดมาเป็น นายตรวจ คนที่ 2 จากซ้ายคือคุณพ่อของคุณ ทวีศักดิ์ สินสอน ถ่ายที่อู่รถเมล์คลองจั่นอินทรารักษ์ สุขาภิบาล 1 ปัจจุบันไม่มีอู่นี้แล้ว ภาพจาก คุณ ทวีศักดิ์ สินสอน (Moderator Wiz) — ที่ อู่รถเมล์คลองจั่น ตรงข้าม ตลาดอินทรารักษ์ ถนน สุขาภิบาล 1 (ถนนนวมินทร์)
VOLVO Alisa B55-10 MK I
ทดลองวิ่งสาย 2 29 64 80
เริ่มทดลองให้บริการ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
ทะเบียน 2จ-0777 กทม.
Taken Photo by John Shearman
จากหนังสือ Far east buses : Bangkok Vol. 2
แชร์จากเพจ RotMaeThai.com รถเมล์ไทย.คอม
Mercedes Benz LP1113
บริษัท นายเลิด จำกัด
สาย 2 สำโรง - ปากคลองตลาด เลข 286
ถ.ราชินี ท่ารถสาย 2 ริมคลองคูเมืองเดิม
ถ่ายเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2508
Taken Photo by Charlie Sullivan
จากหนังสือ Far east buses : Bangkok Vol.
กอ เอ๋ย กอ ไก่ ........ ขอไข่ ในเล้า
ฃอ ฃวด ของเรา ....... คอ ควาย เข้านา
ฅอ ฅน ขึงขัง ........ ฆอ ระฆัง ข้างฝา
งอ งู ใจกล้า ....... จอ จาน ใช้ดี
ฉอ ฉิ่ ตีดัง ........ ชอ ช้าง วิ่งหนี
ซอ โซ่ ล่ามที ......... ฌอ กะเฌอ คู่กัน
ญอ หญิง โสภา ........ ฎอ ชฎา สวมพรรณ
ฏอ ปฏัก หุนหัน ........ ฐอ สันฐาน เข้ามารอง
ฑอ นางมณโฑ หน้าขาว ........ ฒอ ผู้เฒ่า เดินย่อง
ณอ เณร ไม่มอง ........ ดอ เด็ก ต้องนิมนต์
ตอ เต่า หลังตุง ....... ถอ ถุง แบกขน
ทอ ทหาร อดทน ........ ธอ ธง คนนิยม
นอ หนู ฝักใฝ่ ........ บอ ใบไม้ ทับถม
ปอ ปลา ตากลม ......... ผอ ผึ้ง ทำรัง
ฝอ ฝา ทนทาน ......... พอ พาน วางตั้ง
ฟอ ฟัน สะอาดจัง ........ ภอ สำเภา กางใบ
มอ ม้า คึกคัก .......... ยอ ยักษ์ เขี้ยวใหญ่
รอ เรือ พายไป ......... ลอ ลิง ไต่ราว
วอ แหวน ลงยา ......... ศอ ศาลา เงียบเหงา
ษอ ฤๅษี หนวดยาว ......... สอ เสือ ดาวคะนอง
หอ หีบ ใส่ผ้า .......... ฬอ จุฬา ภาพผยอง
ออ อ่าง เนืองนอง ......... ฮอ นกฮูก ตาโต
เรื่องปองวัยเด็กใช้สอนเด็กตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ที่เป็นแต่พูดภาษาเขมร (เขมรสุรินทร์) - เคยเห็นเหมือนกัน (โดย Moderator Wiz)
นิทานเรื่องกระต่ายเจ้าปัญญา ที่ใช้สอนเด็กป. 1 แถวบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ที่มักพูดภาษา เขมรสุรินทร์ เคนเห็น ปกคล้ายๆแบบนี้อยู่ (โดย Moderator Wiz)
ตำราภาษาไทย ป. 1 ที่ใช้สอนเด็กที่พูดภาษายาวี (มลายูถิ่นปัตตานี) แถวภาคใต้ ยุคที่ยังมี ป.7 (โดย Moderator Wiz)
ตำราภาษาไทย สำหรับเด็กป. 4 เล่ม 2 ในยุคที่ ยังมี ป. 7 และ ม.ศ. 5 (โดย Moderator Wiz)
มีดเหลาดินสอ..แบบโลหะ ถ้าเก็บรักษาไม่ดีก็สนิมกินประจำ
อันนี้ต้องท่องจำให้ได้.....จะถูกอาจารย์ภาษาไทย เรียกมาท่องให้ฟัง ไม่งั้น ไม่ผ่าน
หนังสือบทอาขยานภาษาไทย ชั้นป.1-2 พ.ศ.2518....นกเอ๋ยนกเอี้ยง
คนเข้าใจว่าเจ้าเลี้ยงซึ่งควายเฒ่า
แต่นกเอี้ยงนั้นเลี่ยงทำงานเบา
แม้อาหารก็ไปเอาบนหลังควาย
เปรียบเหมือนคนทำตนเป็นกาฝาก
รู้มากเอาเปรียบคนทั้งหลาย
หนีงานหนักคอยสมัครงานสบาย
จึงน่าอายเพราะเอาเยี่ยงนกเอี้ยงเอยฯ
กล่องดินสอ มีหลายแบบ มีทั้งแบบพลาสติกหรือเหล็ก ถ้าเป็นแบบธรรมดาชั้นประหยัดก็จะมีชั้นเดียว เปิดมาเจอดินสอนอนรออยู่ แต่ถ้าหรูหน่อยก็จะเป็นกล่องดินสอ 2 ชั้น มีช่องวางยางลบ วางไส้ดินสอเก๋ไก๋ เป็นที่อิจฉาของเพื่อนๆ
เวลาถึงห้องเรียนก็จะต้องควักกล่องดินสอออกจากกระเป๋ากันถ้วนหน้าใช้ไม่ระวังอาจจะมีแตกหัก น็อตหลุด หรือแถมด้วยสีถลอกเล็กน้อย ซึ่งดินสอปากกาที่อยู่ในกล่องดินสอไม่ใช่ว่าจะใส่อะไรก็ได้นะ เพราะที่มันน้อย ถ้าใส่เยอะมันจะปิดไม่ลง และไประเบิดในกระเป๋าได้ ดังนั้นต้องเลือกแท่งที่ใช้บ่อยๆ แต่ปัจจุบันกล่องดินสอก็เริ่มมีหลายแบบออกมาให้เลือก แต่ก็ไม่นิยมเท่าไหร่ แล้วรูปแบบเปลี่ยนไปเป็นถุงซิปกันหมดแล้ว เพราะเบากว่า ใส่ได้เยอะกว่า เรียกว่ามีแต่ใส่เพิ่ม ไม่เคยเอาออก แต่มันก็ไม่เต็มซักที
ถ้าเป็นแต่ก่อนจะเรียกกันว่าดินสออพอลโล่ ลักษณะก็คือเป็นแท่งดินสอพลาสติกข้างในก็จะมีไส้ดินสอเป็นชิ้นๆ เวลาดินสอเริ่มกุดก็จะดึงออกแล้วเอาไปต่อท้าย ให้มันดันอันที่แหลมออกมา ราคาสมัยก่อนแท่งละ 3 บาทแต่ใช้ได้ประมาณ 2-3 เดือน ไม่ใช้ใช้หมดนะ แต่มันหาย สมัยนี้คนไม่ค่อยใช้กันแล้ว จะว่าสะดวกใช้มันก็สะดวก แต่ว่าเวลามันเริ่มกุดนิดเดียวก็รู้สึกไม่อยากเขียนแล้ว ดังนั้นเป็นดินสอที่เปลืองมากๆ เรียกว่าแต่ละไส้ใช้ไม่เคยถึงครึ่งเลย
ส่วนปัจจุบันนี้ก็หันไปใช้ดินสอกดกันแล้ว เพราะสะดวกกว่าแล้วเขียนเส้นเล็ก ใช้ง่ายกว่าเยอะ ที่สำคัญ ซื้อดินสอแค่ครั้งเดียว คุ้ม!
อาจจะงงว่าดินสอสีเปลี่ยนไส้มันคืออะไร จริงๆแล้วรูปร่างมันก็คือ ดินสอเปลี่ยนไส้ แต่ไส้ข้างในจะเป็นสี มีทั้งหมด 11 สีเหมือนกันหมดทุกแท่ง เป็นดินสอที่ฮิตมากสมัยประถม เพราะว่าราคาถูก แค่แท่งละ 5 บาท พ่อแม่เลยไม่ค่อยซื้อสีเป็นกล่องๆให้ แถมพกใส่กล่องดินสอสะดวกดีด้วย
เวลาจะใช้ก็สะดวกอยากได้สีไหนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่จะแอบเซ็งนิดหน่อย ตรงที่ถ้าเรากำลังระบายสีต้นไม้สีเขียวอยู่ แล้วอยากระบายลำต้นซึ่งสีน้ำตาลอยู่อันที่ 3 เราก็ต้องดึงทีละอันเพื่อเปลี่ยน แล้วถ้าจะกลับมาระบายสีเขียวอีกก็ต้องเตรียมถอดๆจิ้มๆ ไปอีกเกือบ 10 สี ถึงจะเจอสีที่ต้องการ แต่ตอนที่ใช้ก็ไม่ได้คิดไรหรอก สนุกดี อ้อ..นอกจากดินสอ กับ สีเปลี่ยนไส้แล้ว ยังมียางลบเปลี่ยนไส้อยู่ในตระกูลนี้ด้วยนะ ใครเคยใช้บ้าง
เจ้ายางลบปากกาจะเป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม สีน้ำเงินแล้วก็มีขนๆพลาสติกไว้ปัดเศษกระดาษที่ขาด เศษขี้ยางลบ หลังๆก็จะมีแบบด้านนึงเป็นยางลบปากกา อีกด้านเป็นยางลบสำหรับดินสอ ประโยชน์ของยางลบปากกานี้ ไม่ได้มีแค่ลบคำผิดนะ แต่ว่ามันช่วยปลูกฝังนิสัยคนได้ดีทีเดียว ช่วยให้เรารู้จักระมัดระวัง มีสติกับการเขียน ที่สำคัญคือให้รู้จักใส่ใจในสิ่งที่เราจะเขียน เพราะถ้าเขียนผิดแค่ครั้งเดียว แต่ต้องใช้ความพยายามลบหลายนาที ใครๆก็ไม่อยากให้เกิดหรอก ส่วนสมัยนี้มีลิควิด แถมแห้งไวอีกต่างหาก คนก็เลยใช้ชีวิตอย่างรวดเร็ว ขาดความระมัดระวังมากขึ้น เห็นมั้ยว่าของโบราณก็ช่วยสร้างนิสัยให้คนในสังคมได้ด้วย
ถ้าพูดถึงกบเหลาดินสอที่เป็นเครื่องๆจะว่าเลิกฮิตก็คงไม่ เพราะยังเห็นมีขายกันเยอะเลย แต่จะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบที่น่ารักคิกขุขึ้น แต่กบเหลาที่ รู้สึกว่ามันเริ่มหายากแล้วก็คือ กบเหลาดินสอเหล็กอันเล็กๆ เวลาจะใช้ต้องไปยืนหน้าถังขยะ เพราะมันไม่มีที่เก็บขยะให้ ถ้าเหลาทิ้งเรื่อยเปื่อย ได้โดนคุณครูตีแน่ๆ แต่กบเหลาสมัยใหม่เค้าดีไซน์เก๋ขึ้น นอกจากจะน่ารักแล้วยังมีช่องเก็บขยะด้วย ไม่ต้องกลัวเลอะเทอะ สะดวกมากๆ แต่ไม่ว่าจะมีรุ่นใหม่ออกมาแค่ไหน เราว่าของเก๋าก็เจ๋งที่สุด เพราะทุกวันนี้มันก็ยังใช้งานได้อยู่ ไม่บุบ ไม่พัง ไม่แตก เรียกว่าซื้อครั้งเดียวอยู่กันไปนานเลย
คลาสสิคมากในอดีต ไม้บรรทัดนี้ไมได้มีประโยชน์แค่ขีดเส้นใต้ แต่ยังมีสูตรคูณถึงแม่12 อยู่บนไม้บรรทัดด้วย ตอนเรียนประถมถึงวิชาคณิตทีไร ต้องพกขึ้นมาไว้บนโต๊ะทุกที ลักษณะของไม้ประทัดจะเป็นพลาสติคสีๆ เช่น สีชมพู สีเหลือง สีเขียว แต่จะใสค่ะ สามารถมองเห็นด้านหลังได้ ขนาดความยาวก็มาตรฐาน คือ 1 ฟุต ด้วยความยาวและพลาสติกกรอบๆ ก็เลยทำให้เกิดปรากฏการณ์ไม้บรรทัดหักรายวันกันเลยทีเดียว แต่ไม่เครียดเพราะ อันละ 1 บาทเอง
ว่ากันว่า เด็กประถมกับยางลบเป็นของคู่กัน ถึงแม้ว่ายางลบแฟชั่นเมื่อประมาณสิบปีที่แล้วจะไม่ได้น่ารักเท่าสมัยนี้ แต่ก็มีสะสมกันเต็มกระเป๋า โดยยางลบที่กำลังพูดถึงอยู่นี้จะเป็นก้อนสีขาวแบนๆปั๊มลายการ์ตูนด้านหน้า ส่วนด้านบนจะเป็นสีๆ เช่น สีชมพู สีเขียว สีเหลือง ราคาก้อนละบาทเท่านั้นเอง ส่วนคุณภาพก็สมราคา ลบแล้วกระดาษดำปื้ดไปหมด
สาเหตุที่ชอบสะสมกันก็เพราะว่ารูปการ์ตูนด้านหน้าแต่ละก้อน มันไม่ซ้ำกัน ใครมีเยอะก็มีลายเยอะ เอามาอวดกันขำๆ ถ้าเป็นสมัยนี้ก็เปลี่ยนจากยางลบมาเป็นอวดโทรศัพท์กันแทน
กล่องดินสอมีหลายแบบ มีทั้งแบบพลาสติกหรือเหล็ก ถ้าเป็นแบบธรรมดาชั้นประหยัดก็จะมีชั้นเดียว เปิดมาเจอดินสอนอนรออยู่ แต่ถ้าหรูหน่อยก็จะเป็นกล่องดินสอ 2 ชั้น มีช่องวางยางลบ วางไส้ดินสอเก๋ไก๋ เป็นที่อิจฉาของเพื่อนๆ
เวลาถึงห้องเรียนก็จะต้องควักกล่องดินสอออกจากกระเป๋ากันถ้วนหน้าใช้ไม่ระวังอาจจะมีแตกหัก น็อตหลุด หรือ แถมด้วยสีถลอกเล็กน้อย ซึ่งดินสอปากกาที่อยู่ในกล่องดินสอไม่ใช่ว่าจะใส่อะไรก็ได้นะ เพราะที่มันน้อย ถ้าใส่เยอะมันจะปิดไม่ลง และไประเบิดในกระเป๋าได้ ดังนั้นต้องเลือกแท่งที่ใช้บ่อยๆ แต่ปัจจุบันกล่องดินสอก็เริ่มมีหลายแบบออกมาให้เลือก แต่ก็ไม่นิยมเท่าไหร่ แล้วรูปแบบเปลี่ยนไปเป็นถุงซิปกันหมดแล้ว เพราะเบากว่า ใส่ได้เยอะกว่า เรียกว่ามีแต่ใส่เพิ่ม ไม่เคยเอาออก แต่มันก็ไม่เต็มซักที
บ้านใครมีฐานะก็ใช้เครื่องเหลาดินสอส่วนแบบพกพาก็ต้องมีดเหลาดินสออันละบาท
ดินสอสีแบบต่างๆ สีไม้ สีเทียน สีเมจิคเมื่อก่อนส่วนมากจะมีแค่12สีใน1กล่อง
สีเทียน..รุ่นใหม่หน่อยก็จะมีมากกว่า12สี
สีน้ำยี่ห้อดัง ตราม้า
สมุดระบายสียอดฮิตตราวีนัส มีแบบปกอ่อนและปกแข็ง
สมุดเรียนที่กระทรวงพิมพ์แจก..หน้าปกรูปในหลวงมีสูตรคูณด้านหลังปก
กระเป๋าจาร์คอร์ป ไม่รู้ยุคนี้ยังมีหรือเปล่า
สมุดลายไทย แบบนี้ก็ยังมีให้เห็นตามโรงเรียน หรือ ร้านเครื่องเขียน เพี่ยงแต่เดี๋ยวนี้หายากกว่าสมุดปกสวยๆ เล่มบางๆของสยามวาลา เจ้าเก่าทีวางขายใน 7-11 และร้านหนังสือชั้นนำ
บทอาขยาน....วิชาหนาเจ้า
เกิดมาเป็นคน หนังสือเป็นต้น วิชาหนาเจ้า
ถ้าแม้นไม่รู้ อดสูอายเขา เพื่อนฝูงเยาะเย้า ว่าเง่าว่าโง่
ลางคนเกิดมา ไม่รู้วิชา เคอะอยู่จนโต
ไปเป็นข้าเขา เพราะเขาเง่าโง่ บ้างเป็นคนโซ เที่ยวขอก็มี
ถ้ารู้วิชา ประเสริฐหนักหนา ชูหน้าราศี
จะไปแห่งใด มีคนปราณี ยากไร้ไม่มี สวัสดีมงคล.....
.............
อย่าเกียจคร้าน การเรียน เร่งอุตสาห์
มีวิชา เหมือนมีทรัพย์ อยู่นับแสน
จะตกถิ่น ฐานใด คงไม่แคลน
ถึงคับแค้น ก็พอยัง ประทังตน
อันความรู้ รู้กระจ่าง แต่อย่างเดียว
แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล
อาจจะชัก เชิดชู ฟูสกล
ถึงคนจน พงศ์ไพร่ คงได้ดี
เกิดเป็นชน ชาวสยาม ตามวิสัย
หนังสือไทย ก็ไม่รู้ ดูบัดสี
จะอับอาย ขายหน้า ทั้งตาปี
ถึงผู้ดี ก็คงด้อย ถอยตระกูล
จะต่ำเตี้ย เสียชื่อ ว่าโฉดช้า
จะชักพา ลาภยศ ให้เสื่อมสูญ
จะขายหน้า ญาติวงษ์ พงศ์ประยูร
จะเพิ่มพูน ติฉิน คำนินทา
หนึ่งหนังสือ หรือตำรับ ฉบับบท
เป็นของล้วน ควรจด จำศึกษา
บิดาปู่ สู้เสาะ สะสมมา
หวังให้บุตร นัดดา ได้ร่ำเรียน
จะได้ทราบ บาปบุญ ทั้งคุณโทษ
ปะบุตรโฉด ต่ำช้า ไม่พาเยร
ให้สมดัง เจตนา ปู่ตาเพียร
เนิ่นจำเนียร เพียรพลัด กระจัดกระจาย
สังข์ทองตอนนางจันท์เทวีสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวนางกับพระสังข์ ......
ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา .................คลอดลูก ออกมา เป็นหอยสังข์
ชิ้นสองต้องขับเคี่ยวเซซัง ...............อุ้มลูกมายังพนาลัย
ชิ้นสามอยู่ด้วยยายตา ....................ลูกยาออกช่วยขับไก่
ชิ้นสี่กัลยามาแต่ไพร ....................ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาน
ชิ้นห้าบิตุรงค์ทรงศักดิ์ ................ให้รับตัวลูกรักมาจากบ้าน
ชิ้นหกจองจำทำประจาน .............ให้ประหารฆ่าฟันไม่บรรลัย
ชิ้นเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา ...........ไปถ่วงลงคงคาน้ำไหล
เป็นเจ็ดชิ้นสิ้นเรื่องอรทัย ..............ใครใครไม่ทันจะสงกา. ..
แบบเรียน ภาษาไทย ป3. ประกอบไปด้วย จันทร์เจ้า สัตว์สวยป่างาม.... วิชาเหมือนสินค้า
สมุดนักเรียนเก่า..รุ่นภาพปกดารา ด้านหลังมีสูตรคูณ
สมุดนักเรียน..ปกเก่า นางสาวไทย คุณ อาภัสรา หงสกุล (นามสกุลในสมัยนั้น)
ปกสีน้ำตาล อีกแบบ ที่มีสูตรคูณด้านหลั
ตารางสอนส่วนมากจะได้จากของแถม
นิทานร้อยบรรทัดเล่ม 1 เป็นบทร้อยกรอง สำหรับนักเรียนชั้น ป.2 หลักสูตรการเรียนปี พ.ศ. 2501
เรียบเรียงโดย หลวงสำเร็จวรรณกิจ
จัดพิมพ์โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
พิมพ์ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2515
ในเล่มก็จะมีภาพประกอบสวยงาม....นิทานร้อยบรรทัดเล่ม 1 เป็นบทร้อยกรอง สำหรับนักเรียนชั้น ป.2 หลักสูตรการเรียนปี พ.ศ. 2501
เรียบเรียงโดย หลวงสำเร็จวรรณกิจ
จัดพิมพ์โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
พิมพ์ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2515
บทร้อยกรองในนิทานร้อยบรรทัดเป็นภาษาที่ไพเราะ มีคำคล้องจองที่ช่วยให้เด็กๆจดจำได้ดี
นิทานร้อยบรรทัดเล่ม 1 เป็นบทร้อยกรอง สำหรับนักเรียนชั้น ป.2 ....ใครที่เคยผ่านเล่มนี้มาแล้วต้องท่องและคุ้นเคยกับบทนี้เป็นอย่างดี
เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาเรียน..ที่อ่านได้สนุกมากเล่มหนึ่ง เนื้อหาบรรยายถึงวิถีชีวิตของคนในสมัยอดีตได้เป็นอย่างดี มีรวมเล่ม 4 เล่ม เสียดายที่มีรวมเฉพาะปีแรกๆเท่านั้น (Moderator Wiz)
หนังสือ แม่เล่าให้ฟัง - พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา พระราชประวัติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ระหว่าง พ.ศ.2443-2481เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนอีก 1 เล่ม ที่อ่านแล้วรู้สึกสนุกกับเรื่องราวเก่าๆเหมือนกัน
สำหรับยางลบสองสีที่เคยใช้.หลังจากจบ ป.4 ในอดีตและมีโอกาสได้ใช้ปากกาในการเขียนภาษาอังกฤษเมื่อก้าวข้ามไปเรียนชั้น ป5 ป6ต้องใช้ยี่ห้อนี้ สเตทเลอร์ ฝั่งสีขาวไว้ลบดินสอ ฝั่งสีน้ำเงินไว้ลบปากกาซื้อมาใหม่ๆก็จะเป็นก้อนเหลี่ยมๆ อย่างที่เห็น ยังลบไม่คล่อง แต่ใช้ไปนานๆก็จะเริ่มกลมและมนลบหนังสือได้คล่องแคล่วยิ่งนัก
School notebookdisplaying Phibun-era nationalist promotion [early 1940s]....ภาพปกหลังสมุดจดของนักเรียนยุค หลวงพิบูลย์..... ที่ต้องการให้คนไทยเน้นความสามัคคี
เครื่องแบบเด็กนักเรียน ชั้นประถม ยุค 70 ใครทันได้ใส่บ้าง
เป็นแบบเรียนภาษาอังกฤษชั้นป. สมัยก่อน ชื่อ oxford
By H.COULTHARD BURROW
พิมพ์ปี 1978
รูปเก่า..ห้องเรียนโรงเรียนห้วยหนำ ก่อนปีพ.ศ. 2508 เห็นโต๊ะนักเรียนรุ่นนี้ ทำให้นึกถึงตอนเป็นเด็ก ที่คุณครูจะจัดให้นั่งกับคนนั้นคนนี้..ถ้าเราไปนั่งคู่กับเพศตรงข้ามก็จะถูกล้อว่าเป็นแฟนกัน ถ้าเราเล่นและคุยกันมากก็จะโดนให้ย้ายไปนั่งกับพวกที่เป็นเด็กเรียน แต่ส่วนมากคงจะชอบแถวหลังๆมากกว่า..ไม่ชอบเลยถ้าจะนั่งอยู่แถวที่ติดกับหน้าชั้นเรียนแน่นอนเลย..โต๊ะเรียนรุ่นนี้มีช่องให้วางดินสอและอุปกรณ์เครื่องเขียนตรงข้างหน้าเสียด้วย (โรงเรียนห้วยหนำ 12 ถ.สละชีพ ซ.6 ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 7700)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น