วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

SAAB หวัง Naval Gripen ฟื้นเรือหลวงจักรีนฤเบศรกลับมาเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินอีกครั้ง

ทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี[2] และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร[2]
เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอกอนิรุธ สวัสดี เป็นผู้บังคับการเรือ[7]
ลักษณะจำเพาะ[แก้]
เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก[8] นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship – SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน[9] มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร[9] ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์[5] กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย[9] และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย[8]
เรือหลวงจักรีนฤเบศรขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG)[8] แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวง[5]แบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์[8][9] เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว[8] เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ 7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต[8]
อาวุธและอากาศยาน[แก้]
ภาพเปรียบเทียบเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ขวา) กับเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส (ซ้าย)
เรือหลวงจักรีนฤเบศรติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง[9] และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเอง[3][10][11]อาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544[3] นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow) และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง[4]
เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ[12] และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง[9][8][13][10] เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิง, ไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก[8] หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ[14] มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตร[14]สามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ[3][10] มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร[3] และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยการรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกัน[14] มีสกีจั๊ม 12° สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน[3] มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน[3] และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว[14]
ระบบตรวจการและตอบโต้[แก้]
พระราชพิธีเจิมเรือ ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จะมองเห็นเครื่องแฮริเออร์ AV-8S และเฮลิคอปเตอร์ SEA HAWK S-70B อยู่บนดาดฟ้าเรือ
ระบบตรวจการของเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C ย่านคลื่นความถี่ E/F และเรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง[3] มีการเตรียมการที่จะติดตั้งเรดาร์ผิวน้ำ SPS-64 และโซนาร์ใต้ท้องเรือ แต่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่มีการติดตั้ง[3][10] ส่วนควบคุมการยิงก็ยังไม่ได้ติดตั้งด้วยเช่นกัน[3]
เรือยังติดตั้งเครื่องยิงเป้าลวง SBROC 4 เครื่องและเป้าลวงลากท้าย SLQ-32[10]
ภายในเรือ[แก้]
ภายในเรือจักรีนฤเบศรประกอบด้วยห้องต่างๆ ทั้งส่วนที่ใช้ปฏิบัติงาน และห้องพัก รวมกว่า 600 ห้อง[15] โดยมีส่วนหลักๆ ดังนี้ สะพานเดินเรือซึ่งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของเรือ หอบังคับการบิน ห้องควบคุมการจราจรทางอากาศ ห้องอุตุนิยมวิทยา ห้องควบคุมดาดฟ้าบิน ห้องบรรยายสรุปการบิน ห้องศูนย์ยุทธการ และห้องครัว[15]
โรงพยาบาล[แก้]
โรงพยาบาลในเรือหลวงจักรีนฤเบศรมีหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดูแลด้านการสุขาภิบาลหน่วยเรือ และให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่กำลังพลของเรือและจัดกำลังพลช่วยเหลือหน่วยอื่นๆที่จัดขึ้นในกรณีพิเศษ[16] ห้องรักษาพยาบาลประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด ห้องเอกซ์เรย์ และห้องทันตกรรม ห้องผู้ป่วยสามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 15 เตียง ห้องผู้ประสบภัย สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ จำนวน 26 เตียง[9]
อื่นๆ[แก้]
ระบบไฟฟ้าภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วย[9]เครื่องขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง
เครื่องจักรช่วยและเครื่องจักรอื่นๆภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรได้แก่[9] เครื่องปรับอากาศ ขนาด 155 ตัน จำนวน 3 เครื่อง เครื่องทำความเย็นขนาด 5 ตัน จำนวน 2 เครื่อง เครื่องปรับแต่งอาการโคลงของเรือจำนวน 2 ชุดเครื่อง เครื่องผลิตน้ำจืดแบบออสโมซิสผันกลับจำนวน 4 เครื่อง
ภารกิจ[แก้]
ภาพขณะเครื่องแฮร์ริเออร์ AV-8 กำลังขึ้นบิน เผยให้เห็นลิฟต์บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด้านท้ายเรือ
เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ลำแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[17] มีระวางขับน้ำ 11,544 ตัน สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 9 ซึ่งคลื่นมีความสูง 13.8 เมตร[18]
ภารกิจในอดีต[แก้]
เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้มีภารกิจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้
พายุไต้ฝุ่นซีตาห์[แก้]
ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นซีตาห์ที่จังหวัดชุมพร เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]ได้ไปยังพื้นที่ประสบภัย และดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงจนการช่วยเหลือทางบกไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้ โดยการใช้เฮลิคอปเตอร์จากเรือ นำอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ
พายุไต้ฝุ่นลินดา[แก้]
ในวันที่ 4-7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]ได้ออกเรือเพื่อให้การช่วยเหลือเรือประมงในทะเล ที่ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดาโดยลาดตระเวนจากสัตหีบไปยังเกาะกูด จังหวัดตราดจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เหตุการณ์อุทกภัยจังหวัดสงขลา[แก้]
เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]ออกเรือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 23-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกจากท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และจอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะหนู จังหวัดสงขลา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มปฏิบัติการโดยใช้การบินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และส่งชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยางลำเลียงเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นมอบแก่ผู้ประสบภัย
เหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ[แก้]
ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2546 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ และมีชาวกัมพูชาเผาสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญได้รับความเสียหาย มีการเตรียมพร้อมในการอพยพเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยและประชาชนชาวไทยในกัมพูชาให้เดินทางกลับประเทศไทย ในแผน “โปเชนตง 1″ และเตรียมพร้อมปฏิบัติการบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะกง[19] นอกน่านน้ำกัมพูชา เป็นการปฏิบัติการในชื่อแผน “โปเชนตง 2″ โดยอากาศยานบนเรือเตรียมพร้อมปฏิบัติการในการใช้กำลังทางทหารต่อกัมพูชา หากมีความผิดพลาดเกินขึ้นในแผนโปเชนตง 1
ภัยพิบัติคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2547[แก้]
ดูบทความหลักที่: แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
เตนท์ของเรือหลวงจักรีนฤเบศรช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2547
ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยกองเรือยุทธการจัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น 760 นาย ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงจักรีนฤเบศร[19] เรือหลวงนเรศวรและชุดแพทย์เคลื่อนที่ โดยมีภารกิจหลักคือค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้การรักษาพยาบาลบริเวณเกาะต่างๆ และพื้นที่ทะเลด้านใต้ของเกาะภูเก็ต และเก็บกู้ศพและลำเลียงศพจากเกาะพีพีดอน นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนและรับการตรวจเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะและกองทัพเรือ
เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2553[แก้]
ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เดินทางถึงจังหวัดสงขลา โดยทอดสมอที่เกาะหนู เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย[20][21]
เหตุการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี (เกาะเต่า)[แก้]
ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองทัพเรือได้จัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล กรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยสั่งการให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]พร้อมด้วยอากาศยาน ร.ล.สุโขทัย และเรือของกองทัพเรืออีกหลายลำออกเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดค้างบนเกาะเต่า โดยลำเลียงผู้ประสบภัยจำนวนทั้งสิ้น 743 คน เดินทางมายังท่าเทียบเรือจุกเสม็ด[19]
ไฟล์:Chakri Naruebet 2001.JPEG
เรือหลวงจักรีนฤเบศร (อังกฤษ: HTMS Chakri Naruebet; ย่อ: CVH-911) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ได้ใช้งานปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติตลอดน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน

ประวัติ
ไฟล์:เรือหลวงจักรีนฤเบศร 1.gif
เรือหลวงจักรีนฤเบศรขณะต่ออยู่ที่อู่ต่อเรือบาซาน เมืองเฟร์รอล ประเทศสเปน
ในปี พ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย

เดิมรัฐบาลไทยได้วางแผนจัดซื้อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันจากบริษัทเบรเมอร์ วัลแคนของเยอรมนี แต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และทำการจัดซื้อใหม่จากบริษัทบาซาน ประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและต่อเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส เรือธงของกองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท

เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ เรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล

กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอกอนิรุธ สวัสดี เป็นผู้บังคับการเรือ

ลักษณะจำเพาะ
เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship – SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน[9] มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์ กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG) แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวง แบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์ เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ 7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต

อาวุธและอากาศยาน
ไฟล์:จักรีนฤเบศร 9.jpg
ภาพเปรียบเทียบเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ขวา) กับเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส (ซ้าย)
เรือหลวงจักรีนฤเบศรติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง (ขวา)
และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง (ซ้าย) ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเอง อาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544
นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow)
และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง
เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ
และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิง, ไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตร[14]สามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ] มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยการรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกัน มีสกีจั๊ม 12° สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว

ระบบตรวจการและตอบโต้
ไฟล์:เรือหลวงจักรีนฤเบศร 3.gif
พระราชพิธีเจิมเรือ ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จะมองเห็นเครื่องแฮริเออร์ AV-8S และเฮลิคอปเตอร์ SEA HAWK S-70B อยู่บนดาดฟ้าเรือ

ระบบตรวจการของเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C ย่านคลื่นความถี่ E/F และเรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง มีการเตรียมการที่จะติดตั้งเรดาร์ผิวน้ำ SPS-64 และโซนาร์ใต้ท้องเรือ แต่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่มีการติดตั้ง ส่วนควบคุมการยิงก็ยังไม่ได้ติดตั้งด้วยเช่นกัน
เรือยังติดตั้งเครื่องยิงเป้าลวง SBROC 4 เครื่อง
และเป้าลวงลากท้าย SLQ-32

ภายในเรือ
ภายในเรือจักรีนฤเบศรประกอบด้วยห้องต่างๆ ทั้งส่วนที่ใช้ปฏิบัติงาน และห้องพัก รวมกว่า 600 ห้อง โดยมีส่วนหลักๆ ดังนี้ สะพานเดินเรือซึ่งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของเรือ หอบังคับการบิน ห้องควบคุมการจราจรทางอากาศ ห้องอุตุนิยมวิทยา ห้องควบคุมดาดฟ้าบิน ห้องบรรยายสรุปการบิน ห้องศูนย์ยุทธการ และห้องครัว

โรงพยาบาล
โรงพยาบาลในเรือหลวงจักรีนฤเบศรมีหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดูแลด้านการสุขาภิบาลหน่วยเรือ และให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่กำลังพลของเรือและจัดกำลังพลช่วยเหลือหน่วยอื่นๆที่จัดขึ้นในกรณีพิเศษ ห้องรักษาพยาบาลประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด ห้องเอกซ์เรย์ และห้องทันตกรรม ห้องผู้ป่วยสามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 15 เตียง ห้องผู้ประสบภัย สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ จำนวน 26 เตียง

อื่นๆ
ระบบไฟฟ้าภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วย เครื่องขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง

เครื่องจักรช่วยและเครื่องจักรอื่นๆภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ขนาด 155 ตัน จำนวน 3 เครื่อง เครื่องทำความเย็นขนาด 5 ตัน จำนวน 2 เครื่อง เครื่องปรับแต่งอาการโคลงของเรือจำนวน 2 ชุดเครื่อง เครื่องผลิตน้ำจืดแบบออสโมซิสผันกลับจำนวน 4 เครื่อง

ภารกิจ
ไฟล์:Chakri Naruebet 2001 stern view.JPEG
ภาพขณะเครื่องแฮร์ริเออร์ AV-8 กำลังขึ้นบิน เผยให้เห็นลิฟต์บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด้านท้ายเรือ

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ลำแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระวางขับน้ำ 11,544 ตัน สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 9 ซึ่งคลื่นมีความสูง 13.8 เมตร

ภารกิจในอดีต
เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้มีภารกิจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้

พายุไต้ฝุ่นซีตาห์
ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นซีตาห์ที่จังหวัดชุมพร เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ไปยังพื้นที่ประสบภัย และดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงจนการช่วยเหลือทางบกไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้ โดยการใช้เฮลิคอปเตอร์จากเรือ นำอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ

พายุไต้ฝุ่นลินดา
ในวันที่ 4-7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]ได้ออกเรือเพื่อให้การช่วยเหลือเรือประมงในทะเล ที่ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดาโดยลาดตระเวนจากสัตหีบไปยังเกาะกูด จังหวัดตราดจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เหตุการณ์อุทกภัยจังหวัดสงขลา
เรือหลวงจักรีนฤเบศรออกเรือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 23-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกจากท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และจอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะหนู จังหวัดสงขลา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มปฏิบัติการโดยใช้การบินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และส่งชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยางลำเลียงเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นมอบแก่ผู้ประสบภัย

เหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ
ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2546 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ และมีชาวกัมพูชาเผาสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญได้รับความเสียหาย มีการเตรียมพร้อมในการอพยพเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยและประชาชนชาวไทยในกัมพูชาให้เดินทางกลับประเทศไทย ในแผน “โปเชนตง 1″ และเตรียมพร้อมปฏิบัติการบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะกง นอกน่านน้ำกัมพูชา เป็นการปฏิบัติการในชื่อแผน “โปเชนตง 2″ โดยอากาศยานบนเรือเตรียมพร้อมปฏิบัติการในการใช้กำลังทางทหารต่อกัมพูชา หากมีความผิดพลาดเกินขึ้นในแผนโปเชนตง 1

ภัยพิบัติคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2547
เตนท์ของเรือหลวงจักรีนฤเบศรช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2547
ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยกองเรือยุทธการจัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น 760 นาย ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงนเรศวรและชุดแพทย์เคลื่อนที่ โดยมีภารกิจหลักคือค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้การรักษาพยาบาลบริเวณเกาะต่างๆ และพื้นที่ทะเลด้านใต้ของเกาะภูเก็ต และเก็บกู้ศพและลำเลียงศพจากเกาะพีพีดอน นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนและรับการตรวจเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะและกองทัพเรือ
ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เดินทางถึงจังหวัดสงขลา โดยทอดสมอที่เกาะหนู เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

เหตุการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี (เกาะเต่า)
ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองทัพเรือได้จัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล กรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยสั่งการให้เรือหลวงจักรีนฤเบศรพร้อมด้วยอากาศยาน ร.ล.สุโขทัย และเรือของกองทัพเรืออีกหลายลำออกเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดค้างบนเกาะเต่า โดยลำเลียงผู้ประสบภัยจำนวนทั้งสิ้น 743 คน เดินทางมายังท่าเทียบเรือจุกเสม็ด
ปัจจุบันเรือหลวงจักรีนฤเบศรมีอากาศยานประจำการเพียงเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น
ขอบคุณที่มาของบทความและภาพ
justaot.wordpress.com www.eyeem.com www.thailandsusu.com www.manager.co.th th.wikipedia.org
ความเป็นไปได้ในการประจำการ Naval Gripen หรือ Sea Gripen บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

ซาบลุ้น Naval Gripen เมดอินอินเดีย เล็งกู้ชีพ รล.จักรีนฤเบศร
ขอบคุณบทความโดย MGR Online
29 ธันวาคม 2558 13:21 น. (แก้ไขล่าสุด 29 ธันวาคม 2558 16:19 น.)


AV-8 แฮริเออร์ (Harrier) “จั้มป์เจ๊ต” บน รล.จักรีนฤเบศร ในภาพเมื่อปี 2544 อีก 5 ปีต่อมา ทั้งราชนาวีสเปนและอังกฤษ ปลดระวางเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่งรุ่นนี้ทั้งหมด บนเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของไทย ก็เหลือเพียงเฮลิคอปเตอร์ซีฮอว์คหนึ่งฝูง เรือถูกนำไปใช้ในภารกิจช่วยเหลือช่วยเหลือกู้ภัยเป็นหลัก ปัจจุบันจอดนิ่งที่ฐานทัพเรือสัตหีบ .. หรือ จะกลับมาเปล่งแสนยานุภาพอีกครั้ง โดยมี Naval Gripen บนดาดฟ้า. — Wikiprdia/Defenseimagery.Mil
SeaGripen_032_landb copy (1).jpg
MGRออนไลน์ — บริษัทผู้ผลิตแห่งสวีเดนออกโรงอีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา เสนอโปรเจ็คท์ใหม่ใส่มืออินเดีย เพื่อร่วมผลิตเครื่องบินรบ JAS-39 กริพเพน (Gripen) เวอร์ชั่นใหม่ บนเรือบรรทุกเครื่องบิน Naval Gripen หรือ “ซีกริพเพน” (Sea Gripen) สำหรับกองทัพเรืออินเดีย โดยเรือจักรีนฤเบศรของราชนาวีไทย เป็นหนึ่งในบรรดาลูกค้าเป้าหมายสำคัญด้วย
กลุ่มซาบเสนอแผนการดังกล่าวต่อรัฐบาลอินเดียเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. และ ต่อมาสำนักข่าวของรัฐบาล ได้สัมภาษณ์ผู้บริหารของซาบ ซึ่งได้เปิดเผยรายละเอียดเรื่องนี้ในวันที่ 27 รวมทั้งแผนการณ์ใหม่ล่าสุดของฝ่ายสวีเดน ซึ่งมีชื่อ “กริพเพนทะเล” ผุดขึ้นมา
“เรามีโอกาสที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี..” อุลฟ์ นิลสัน (Ulf Nilsson) ผู้อำนวยการฝ่ายระบบอากาศยานของซาบกล่าวกับเพรสทรัสต์ (Press Trust of India)
บ. Tejas ที่อินเดียกำลังพัฒนา
ฝ่ายสวีเดนนำเสนอโครงการนี้ ในขณะที่อินเดียกำลังพัฒนาเครื่องบินโจมตี “เดชา” (Tejas) สำหรับกองทัพอากาศ รวมทั้งรุ่นที่จะใช้ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ ซึ่งเป็นลำแรกในประวัติศาสตร์ที่ต่อเองคือ เรือวิกรานต์ (INS Vikrant) ขนาด 40,000 ตัน ที่อินเดียต่อขึ้นเอง กับ ลำที่สองที่มีขนาดใหญ่กว่าอีกครึ่งเท่า
INS Vikrant

อินเดียเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมอากาศยานก้าวหน้ามากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ผลิตเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาใช้เอง และผลิตเครื่องบินรบแบบ “เดชา” (Tejas) ใช้เองอีกด้วย แต่ก็มีปัญหามากมายภายในตัว
บ. Tejas ที่อินเดียกำลังพัฒนา
เดชาผลิตออกมาตามโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีขนาดเบา (Light Combat Aircraft) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานฮินดูสถาน ตามความต้องการของกองทัพอากาศ มีมูลค่าลำละ 33 ล้านดอลลาร์ แต่เพียงข้ามปีก็ถูกวิจารณ์ว่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กองทัพวางเอาไว้ เพิ่งผลิตออกมาเพียง 16 ลำก็หยุดชะงักลง
ความไม่พึงพอใจของกองทัพอากาศ ทำให้เกิดโครงการ LCA Mk2 ขึ้นมาเพื่อปรับปรุง โดยองค์การวิจัยและพัฒนาด้านกลาโหม (Defence Research and Development Organization) ดำเนินโครงการเครื่องบินต้นแบบ “เดชา-2″ มาข้ามปี แต่ยังไม่มีความคืบหน้า
อย่างไรก็ตาม Tejas ยังเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 4 ซึ่งต่างกับ “กริพเพนสำหรับกองทักเรือ” ซึ่งเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 5 เต็มภาคภูมิ แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดมากมายก็ตาม
ตามรายงานของสำนักข่าว PTI ฝ่ายสวีเดนเสนอแผนการร่วมผลิตกับอินเดีย โดยจะถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องบินรบกริพเพนให้ “แบบไม่มีข้อจำกัด” และ จะให้ฝ่ายอินเดียควบคุมการผลิตเองในทุกขั้นตอน นอกจากนั้นกฎหมายของสวีเดนกับอินเดียก็คล้ายคลึงกัน คือ บัญญัติห้ามขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับบางประเทศ
ซาบลุ้น Naval Gripen เมดอินอินเดีย เล็งกู้ชีพ รล.จักรีนฤเบศร
เรือจักรีนฤเบศรแล่นขนานเรือบรรทุกเครื่องบินคิตตีฮอว์ก (USS Kitty Hawk, CV63) เมื่อก่อน อวดธงราชนาวีไทยในทะเลจีนใต้ หรือ เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกลำเดียว ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะกลับมาเปล่งสักดานุภาพอีกครั้ง? — Wikipedia/Defenseimagery.Mil
ซาบลุ้น Naval Gripen เมดอินอินเดีย เล็งกู้ชีพ รล.จักรีนฤเบศร
เรือพิฆาตชาฟี (USS Chafee, DDG 90) กองทัพเรือสหรัฐ แล่นนำขบวน รล.จักรีนฤเบศร รล.คีรีรัตน์ กับ รล.นเรศวร ระหว่างฝึก CARAT 2552 ในอ่าวไทย เป็นภาพแห่งความภูมิใจในอดีต ปัจจุบันเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของไทย จอดที่ฐานทัพเรือสัตหีบ. — US Navy Photo/Lt Ed Early.
ซาบลุ้น Naval Gripen เมดอินอินเดีย เล็งกู้ชีพ รล.จักรีนฤเบศร
เรือพิฆาตชาฟี (USS Chafee, DDG90) กองทัพเรือสหรัฐ แล่นเข้าขบวนกับ รล.จักรีนฤเบศร รล.คีรีรัตน์ รล.นเรศวร ระหว่างการฝึก CARAT ประจำปี 2553 ในอ่าวไทย เป็นภาพแห่งความภูมิใจในอดีต ปัจจุบัน เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของไทย จอดที่ฐานทัพเรือสัตหีบ. — US Navy Photo/Lt Ed Early.

“การทำอะไรก็ตามย่อมมีต้นทุน แต่คุณสามารถเจรจาได้เสมอเกี่ยวกับความแตกต่างในแง่ของการลงทุน ถ้าหากคุณมองเห็นลูกค้าที่มีศักยภาพ .. คุณก็อาจจะทำ (สร้าง) โดยร่วมกับบราซิลได้ ประเทศไทยก็เป็นลูกค้าที่มีศักยภาพสูงอีกรายหนึ่ง สำหรับกริพเพนทะเล” PTI อ้างคำพูดของผู้บริหารซาบ
ซาบมองว่า ไม่เพียงแต่อินเดียจะสามารถผลิต Sea Gripen สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งสองลำเท่านั้น แต่เทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดจากซาบ อาจจะนำไปผเสริมการผลิตเครื่องบิน LCA Mk2 สำหรับกองทัพอากาศได้อีกด้วย ทัพฟ้าอินเดียตั้งงบประมาณจัดหา LCA Mk2 ถึง 120 ลำ ในขณะที่กองทัพเรือหวังพึ่งพาเวอร์ชั่นสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินเช่นกัน
ปัจจุบันกองทัพเรืออินเดียมีเรือบรรทุกเครื่องบินใช้งานได้จริงอยู่ 3 ลำ คือ เรือวิกรมทิตย์ (INS Vikramaditya) ที่ซื้อจากรัสเซีย เรือวิกรานต์ (INS Vikrant, R11) ขนาด 13,400 ตัน
กับเรือวิระอาต (INS Viraat, R12) ขนาด 23,900 ตัน สองลำหลังเป็นเรือเก่าของกองทัพเรืออังกฤษ ซื้อมาพร้อมกับเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่งแบบซีแฮริเออร์ เช่นเดียวกันกับที่ประจำการบนเรือจักรีนฤเบศรปีแรกๆ

เรือวิกรมทิตย์ (INS Vikramaditya) และ เรือวิกรานต์ (INS Vikrant, R11)
ทั้งเรือวิกรานต์ (คนละลำกับเรือที่ต่อเองลำแรก) และ วิระอาต ใช้งานมานาน 50-60 ปี เก่ามากและไม่เหมาะกับยุคปัจจุบันอีกต่อไป
ส่วนเรือวิกรมทิตย์ขนาด 45,400 ตัน เป็นเรือชั้นเคียฟ (Kiev-Class) ของกองทัพเรือโซเวียตเมื่อก่อน ซึ่งต่อออกมาทั้งหมด 4 ลำ และต่อมากลายมาเป็นเรือแอดมิรัลกอร์ชคอฟ (Admiral Gorshkov) ของกองทัพเรือรัสเซียในช่วงทศวรรษที่ 1990 ประจำกองเรือทะเลดำ ปลดระวาง พ.ศ.2536 จนกระทั่งปี 2547 รัสเซียเสนอ “ให้ฟรี” แก่อินเดีย โดยมีค่าฟื้นฟู และ “รีฟิต” ใหม่ทั้งหมดเป็นมูลค่ากว่า 2,400 ล้านดอลลาร์ ส่งมอบเมื่อปลายปี 2556
Mikoyan MiG-29K of the Indian Navy.jpg
มิก-29K
ปัจจุบันเรือวิกรมทิตย์ ใช้เครื่องบินแบบ มิก-29K ประจำการ เช่นเดียวกันกับเรือแอดมิรัลคุซเน็ตซอฟ (Admiral Kuznetsov) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเพียงลำเดียวของกองทัพเรือรัสเซียในปัจจุบัน
อินเดียทำโครงการต่อเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant เมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว มีความล่าช้าอย่างน้อย 3 ปี จนกระทั่งแล้วเสร็จและปล่อยลงน้ำเดือน มิ.ย.ปีนี้
ลูกค้ารายใหญ่
Times of India/Economic Times

ซาบลุ้น Naval Gripen เมดอินอินเดีย เล็งกู้ชีพ รล.จักรีนฤเบศร
กริพเพนสำหรับนาวี (Naval Gripen) ภาพจากคอมพิวเตอร์โดยกลุ่มซาบ ดูจะไม่มีอะไรต่างจาก JAS-39 ในปัจจุบันมากมาย แต่อย่างน้อยต้องติดตะขอเครื่องดีดกับเครื่องรั้ง สำหรับการบินขึ้นและลงจอด บนรันเวย์ดาดฟ้าเรือ และ ท่อนปลายปีกอาจเก็บพับได้. — Saab Group.

เรือวิกรมทิตย์ (INS Vikramaditya) ขนาด 44,500 ตัน ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ที่สุด และ ใหญ่ที่สุด ของกองทัพเรืออินเดียในปัจจุบันใช้มิก-29K จากรัสเซีย แต่จะไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับ Naval Gripen ในอนาคต.
เรือวิกรานต์ (INS Vikrant) 40,000 ตัน ต่อเสร็จและปล่อยลงน้ำเดือน มิ.ย.ปีนี้ มีกำหนดขึ้นระวางประจำการปี 2562 ลำต่อไปคือ เรือวิศาล (INS Vishal) ใหญ่กว่าอีก เป็นที่หมายตามากที่สุดสำหรับ Naval Gripen.

ซาบลุ้น Naval Gripen เมดอินอินเดีย เล็งกู้ชีพ รล.จักรีนฤเบศร

อินเดียเร่งติดตั้งระบบต่างๆ และ ทดสอบ เรือบรรทุกเครื่องบินที่ต่อเองลำแรก เรือวิกรานต์ (INS Vikrant) มีหนดนำเข้าประจำการอีก 3 ปีข้างหน้า ปีโน้นอาจจะมีเครื่องบินรบยุคที่ 5 อย่าง Naval Gripen อยู่บนดาดฟ้า แทนที่จะเป็น MiG-29K ที่ยังเป็นยุคที่ 4+. — กระทรวงกลาโหมอินเดีย.

เรือวิกรานต์มีส่วนหัวงอนที่ขึ้น เป็น “สกีแร็มป์” (Ski Ramp) หรือ สกีจัมป์ เช่นเดียวกับเรือจักรีนฤเบศร แต่เรือลำที่สองในชั้น คือเรือวิศาล (INS Vishal) ออกแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 65,000 ตัน มีชั้นดาดฟ้าแบนราบ (Flat Top) แบบเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ และ รัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ให้คำมั่นจะร่วมมือช่วยเหลืออินเดียในการออกแบบ

ซาบลุ้น Naval Gripen เมดอินอินเดีย เล็งกู้ชีพ รล.จักรีนฤเบศร
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งเรือวิกรานต์ และ เรือวิศาล ต่างหวังพึ่งพาเครื่องบินภายใต้โครงการ LCA Mk2
รัฐบาลอินเดียได้ออกนโยบาย ให้กระทรวงกลาโหมกับกองทัพลดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ และ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและสร้างอาวุธใช้เอง ซึ่งส่งผลให้การจัดหาเครื่องบินแบบราฟาล (Rafale) จากฝรั่งเศสล่าช้า และ ยังต้องลดจำนวนลง แต่สถานการณ์ทั้งหมดนี้ เข้าทางข้อเสนอของฝ่ายซาบทุกประการ หลังจากกริพเพนพ่ายแพ้แก่ราฟาล ในแผนการจัดหาเครื่องบินรบของอินเดียเมื่อปี 2554
ปี 2558 ซาบประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการเจรจาทำสัญญาผลิตกริพเพน NG หรือ กริเพนเน็กซ์เจเนอเรชั่น (Gripen Next Generation) ในประเทศบราซิล เป็นจำนวนเกือบ 40 ลำ พร้อมต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ทั้งหมด และ ทุกอย่างยังเป็นไปตามคาด นักวิเคราะห์มองก่อนหน้านี้ว่า ซาบกำลังจะนำ “บราซิลโมเดล” ไปใช้กับอินเดียเป็นรายต่อไป
สำหรับ รล.จักรีนฤเบศร ต่อในประเทศสเปน และ กลายเป็นเรือปรินซิเปแอสทูเรียส (Príncipe de Asturias) ของราชนาวีสเปน ไทยซื้อมาเมื่อปี 2537 เป็นมูลค่า 336 ล้านดอลลาร์ ส่งมอบและขึ้นระวางปี 2540 ได้มาพร้อมเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่ง AV-8S “มาทาดอร์” (Matador) จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็น “จัมป์เจ็ต” รุ่นแรกๆ ของแฮริเออร์
ไทยเป็นชาติแรกที่มี “เรือบรรทุกเครื่องบิน” ประจำการในย่านนี้ แต่ราชนาวีอังกฤษและสเปนปลดระวางไป “มาทาดอร์” ไปทั้งหมดเมื่อปี 2559 ทำให้ AV-8S บนเรือจักรีนฤเบศรใช้่ไม่ได้อีกต่อไป ไม่คุ้มค่าที่จะซ่อมบำรุง และ เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกเพียงลำเดียวของไทย ถูกนำไปใช้ในภารกิจช่วยเหลือกู้ภัยเป็นงานหลัก
สำนักข่าวกลาโหมบางแห่งเขียนเอาไว้ว่า – เรือจักรนฤเบศร ยังไม่เคยบรรลุภารกิจ ตามคำขวัญ “Rule The Sky, Rule The Sea, Chakri Naruebet” หรือ “ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร” ปัจจุบันจอดที่ฐานทัพเรือสัตหีบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น