ขอเอาบทความโดยคุณสิงห์นอกระบบจากโอเคเนชั่นมาลงนะครับ
นับแต่หลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โลกก็เริ่มรู้จักกับการก่อการร้าย
กลุ่มแรกที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายน่าจะเป็น องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (อังกฤษ: Palestine Liberation Organization, ย่อ: PLO; อาหรับ: منظمة التحرير الفلسطينية) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรัฐเอกราชปาเลสไตน์ประเทศต่างต่างกว่า 100 ประเทศให้การรับรององค์การฯ เป็น “ผู้แทนโดยชอบแต่ผู้เดียวของชาวปาเลสไตน์”
ซึ่งองค์การฯ มีความสัมพันธ์ทางทูตด้วย และได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์ที่สหประชาชาติตั้งแต่ปี 2517 สหประชาชาติและอิสราเอลมองว่าองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นองค์การก่อการร้ายกระทั่งการประชุมมาดริดในปี 2534 ในปี 2536 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์รับรองสิทธิดำรงอยู่อย่างสันติ (right to exist in peace) ของอิสราเอล ยอมรับข้อมติคณะมนตรรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ338 และปฏิเสธ “ความรุนแรงและการก่อการร้าย” อิสราเอลสนองโดยรับรองอย่างเป็นทางการว่าองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นผู้แทนชาวปาเลสไตน์
Yasser Arafat อดีตผู้นำองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์
องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นขบวนการต่อต้านของชาวปาเลสไตน์ที่กระจัดกระจายอยู่เป็นกลุ่มต่างๆร่วมกันจัดตั้งองค์การขึ้นเพื่อต่อต้านอิสราเอล และจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้นเป็นการถาวร อันจะช่วยให้ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกขับไล่และลี้ภัยอยู่ตามประเทศอาหรับทั้งหลายได้กลับคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม อันหมายถึงดินแดนที่เรียกว่า ปาเลสไตน์ ที่อิสราเอลจัดตั้งประเทศในปัจจุบัน
องค์การนี้เคยใช้วิธีการรุนแรงโดยไม่จำกัดขอบเขต เช่น การจี้เครื่องบิน การลอบสังหารเป็นต้นปฏิบัติการดังกล่าวได้รับการต่อต้านจากนานาชาติ ปัจจุบันองค์การนี้ได้หันมารณรงค์ด้วยวิถีทางการทูตมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์ที่
ทำการต่อสู้เพื่อความชอบธรรมในการตั้งถิ่นฐานและการปกครองตนเององค์การนี้มีนายยัตเซอร์ อาราฟัต เป็นผู้นำคนแรกเขาได้รับ
เลือกตั้งและได้ประกาศจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้นในดินแดนฉนวนกาซาและบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (West bank)
ผลงานอันลือลั่นของกลุ่มนี้คือ การเข้าไปจับนักกีฬาอิสราเอลเป็นตัวประกันระหว่างกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๒๐ ปี คศ. 1972 ที่นครมิวนิก เยอรมันตะวันตกในขณะนั้น
เหตุการณ์กันยาทมิฬ
ในเวลา 04.30 น. ของวันที่ 5 กันยายน ระหว่างที่มหกรรมการแข่งขันดำเนินอยู่นั้น ได้มีกลุ่มโจรผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด 8 คน จากกลุ่มกันยาทมิฬ พร้อมอาวุธปืนและระเบิดมือ บุกเข้าโจมตีหอพักนักกีฬาชาวอิสราเอลในหมู่บ้านนักกีฬา สังหารนักกีฬาอิสราเอลลงทันที 2 คน แล้วจับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่รวม 9 คน เป็นตัวประกัน เรียกร้องให้อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมนี แต่รัฐบาลอิสราเอลปฏิเสธ
ท่ามกลางสถานการณ์อันตึงเครียด เวลา 15.30 น. ได้มีการยุติการแข่งขันกีฬาไว้ชั่วคราว หลังจากนั้นกลุ่มผู้ก่อการร้ายได้ขอเครื่องบินเจ็ตเพื่อบินไปลงที่สนามบินกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และขอเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เพื่อขนตัวประกันกับสมาชิกในกลุ่มไปลงที่สนามบินมิวเซิน ฝ่ายตำรวจเยอรมันจัดให้ และในเวลา 22.30 น. เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ บรรทุกผู้ก่อการร้ายและตัวประกันจากหมู่บ้านโอลิมปิกไปลงยังฐานบินฟูลสเตนเฟลด์บรูก ซึ่งมีเครื่องบินโบอิ้ง 727 จอดรออยู่ โดยที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายคิดว่าที่นั่นเป็นสนามบินเรียม ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลของมิวเซิน พร้อมเครื่องบินโบอิ้งที่เตรียมไว้ แต่จริง ๆ แล้วเป็นหุ่นจำลอง
เมื่อล่วงมาจนถึงเวลา 00.30 น. ของวันที่ 6 กันยายน ด้วยการไม่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของอิสราเอล ตำรวจเยอรมันก็ลงมือทันที จากนั้นการยิงต่อสู้กันก็เริ่มขึ้น ผู้ก่อการร้ายได้กราดปืนยิงเร็วและขว้างระเบิดมือซ้ำถล่มเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ลำที่กักตัวประกันไว้ ทำให้ตัวประกันเสียทั้งชีวิตหมด
ศพของผู้ก่อการร้ายรายหนึ่ง ที่ถูกยิงโดยนักแม่นปืนของตำรวจเยอรมัน
ซากเฮลิคอปเตอร์ของเยอรมันตะวันตกที่ผู้ก่อการร้ายใช้กักตัวประกันและถูกระเบิดทำลายจนตัวประกันเสียชีวิตหมด
เวลาประมาณ 01.30 น. การยิงต่อสู้จบลง ผู้ก่อการร้ายเสียชีวิตไป 3 คน ถูกจับ 3 คน ฝ่ายตำรวจเยอรมันเสียชีวิต 1 นาย ส่วนทางฝ่ายอิสราเอลสูญเสียตัวประกันทั้ง 9 คน กับอีก 2 คนที่เสียชีวิตในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายที่บ้านพักนักกีฬา
หลังจากการปะทะกันแล้ว การแข่งขันได้หยุดลงเป็นเวลา 36 ชั่วโมง ได้มีการชักธงครึ่งเสาเพื่อเป็นการไว้อาลัย และนักกีฬาอิสราเอลทั้งหมดเดินทางกลับประเทศทันที แต่การแข่งขันก็ยังคงดำเนินต่อไป
นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ชาวอิสราเอลทั้ง 11 คน ที่เสียชีวิตไปในเหตุการณ์ครั้งนี้
ปัญหาปาเลสไตน์เกิดจากอะไร ขอนำบทความจากหนังสือ”ปาเลสไตน์ แผ่นดินที่ไร้ประชาชน เพื่อทรชนผู้ไม่มีแผ่นดิน” โดย อาจารย์มัสลัน มาหะมะ สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มาให้อ่านเพื่อพิจารณานะครับ
ปาเลสไตน์ อดีตและปัจจุบัน
แผ่นดินปาเลสไตน์ มีหลายชนชาติเข้ามาจับจองพื้นที่สร้างบ้านเมืองของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ชาวกันอานซึ่งเป็นชนชาติอาหรับ และเป็นบรรพบุรุษของชาวปาเลสไตน์ ชาวกิบบิโอน ชาวฟิลิสติน ปาเลสไตน์เป็นชื่อเรียกดินแดนที่อยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแม่น้ำ จอร์แดน ชื่อ “ปาเลสไตน์” มาจากคำว่า “Philistine” ซึ่งหมายถึงชนเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทางใต้ของดินแดนนี้ มีเนื้อที่ประมาณ 27,009 ตร.กม.
ดินแดนแถบนี้ก็ถูกปกครองโดยกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นบาบิโลน อัส สิเรียน เปอร์เซีย กรีก โรมัน ในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน ชาวยิวกลุ่มหนึ่งได้ลุกขึ้นแข็งข้อต่ออำนาจของจักรพรรดิติตัสของโรมัน จักรพรรดิติตัสจึงสั่งทำลายกรุงเยรูซาเล็มซึ่งอยู่ทางตอนเหนือเสียจนราบคาบ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 4 ปาเลสไตน์ก็ตกเป็นของชาวคริสต์ จักรพรรดิคอนสแตนติน ซึ่งเข้ารีตคริสต์ได้สร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม กลายเป็นสถานที่ดึงดูดให้คริสต์ศาสนิกชนเข้ามาจาริกแสวงบุญกันมากขึ้น จนกลายเป็นศูนย์กลางระบบสงฆ์และนักบวชในศาสนาคริสต์ จนเกิดการสร้างโบสถ์และวิหารต่างๆ ตามมาอีกมากมาย ดินแดนแถบนี้จึงกลายเป็นดินแดนแห่งสงครามและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนต่างๆ
จนกระทั่งสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัร บินค็อฏฏอบได้ส่งกองทัพภายใต้การนำของ อัมร์ บินอาศ มาเปิดดินแดนแถบนี้ ในปี ค.ศ. 636 (ฮศ.16) ประชากรที่เคยนับถือคริสต์ก็เริ่มแปรเปลี่ยนมานับถืออิสลามมากขึ้น จนประชากรส่วนใหญ่กลายเป็นชาวมุสลิมไปจนเกือบทั้งหมด ดินแดนนี้จึงมีความสันติสุขเรื่อยมาตลอดระยะเวลา 13 ศตวรรษ ยกเว้นช่วงเกิดสงครามครูเสดระหว่าง คศ.1099-1187 ซึ่งได้ถูกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันครอบครองจากสองชนชาติคือ อาหรับมุสลิมและอาหรับคริสต์ มานานกว่า 800 ปี มีอยู่ช่วงหนึ่งที่อาณาจักรอุษมานียะฮฺได้ครอบครองนานถึง 400 ปี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ดร.คาอิม ไวช์มันน์ นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่มไซออนนิสต์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด และได้เปลี่ยนสัญชาติจากลัตเวียมา เป็นอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1910 ได้ ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย เนื่องจากก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ อาซีโทน (Acetone) โดย อาซีโทนนี้จำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย อังกฤษจึงยังคงสามารถเข้าร่วมรบในสงครามโลกต่อไปได้
Lord Arthur James Balfour
จากการช่วยเหลือของ ดร.คาอิม (ต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กระทรวงทหารเรือของอังกฤษ ในช่วงปี 1916-1919) ทำ ให้อังกฤษซึ่งมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางในช่วงนั้น ตอบแทนโดยการมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พักพิงถาวรของชาวยิว โดย ลอร์ด อาร์เธอร์ เจมส์ บัลฟอร์ (Lord. Arthur James Balfour) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามใน “สนธิ สัญญาบัลฟอร์” เมื่อปีค.ศ.1917 ซึ่ง ถือเป็นการมอบที่แปลกพิศดารและอัปยศที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะผู้มอบไม่ใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริง ในขณะที่ผู้รับมอบเองก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะรับ ส่วนเจ้าของที่แท้จริงไม่มีสิทธิ์แม้กระทั่งเรียกร้องโดยวาจา ได้แต่มองด้วยสายตาอันน่าเวทนา
Sir Henry McMahon
ขณะเดียวกันก็เกิดสนธิสัญญาขึ้นซ้อนอีกหนึ่งฉบับที่ลงนามโดย เซอร์เฮนรี่ แม็กมาฮอน (Sir Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอียิปต์ ซึ่งไปตกลงกับชาวอาหรับว่า หากชาวอาหรับช่วยอังกฤษทำสงครามกับเยอรมันแล้ว อังกฤษจะยกดินแดนบางส่วน รวมถึงปาเลสไตน์คืนให้แก่ชาวอาหรับ แต่เมื่อสิ้นสงคราม อังกฤษก็ยังคงยึดครองปาเลสไตน์โดยมิได้มอบให้แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องด้วยฝ่ายยิวและอาหรับต่างก็อ้างสนธิสัญญาที่ตนเองถือเป็นข้ออ้างในการ ครอบครองดินแดน
ปี ค.ศ. 1923 องค์การ สันนิบาตชาติ มอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว แต่อังกฤษก็ยังคงครอบครองดินแดนไว้เพื่อใช้ต่อรองกับกลุ่มชาติอาหรับ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแน่นอนว่าภายหลัง สงคราม ดินแดนเจ้าปัญหานี้ก็ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่ฝ่ายไหนอยู่ดี อีกทั้งปัญหาการอพยพเข้ามาของชาวยิวจำนวนมากก็ยังทวีความวุ่นวายเข้าไปทุก ขณะ โดยมีกลุ่มชาติอาหรับแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด
ปี ค.ศ. 1947 สมัชชา สหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย
การแบ่งดินแดนในครั้งนั้น ทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวมุสลิมอาหรับ
ปี ค.ศ. 1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์โดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล นับแต่นั้นมา อิสราเอลก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่มีแผ่นดินครอบครองเลย
รัฐอิสราเอลถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นยามเฝ้าน้ำมันในตะวันออกกลางของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา อิสราเอลมีหน้าที่หลักในการเป็นพันธมิตรของตะวันตกเพื่อสกัดกั้นและไล่กัด กระแสชาตินิยมอาหรับที่ต้องการควบคุมน้ำมันเพื่อประโยชน์ของคนในพื้นที่ แทนประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติตะวันตก
รัฐอิสราเอลเป็นรัฐ เหยียดเชื้อชาติ เพราะเป็นรัฐที่กีดกันคนที่ไม่ใช่ชาวยิว และที่สำคัญคือถูกสร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านเกิดด้วยความรุนแรงโหดร้ายทารุณ บ่อยครั้งมีการเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อฆ่าชายหญิงและเด็ก ซึ่งเป็นวิธีสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวปาเลสไตน์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ชาวปาเลสไตน์หมดกำลังใจในการต่อสู้ และหลบหนีออกจากพื้นที่จนกลายเป็นผู้ลี้ภัยถาวรในค่ายรอบๆ อิสราเอล
การ สร้างรัฐอิสราเอลไม่ได้สร้างสันติภาพแต่อย่างใด เพราะอิสราเอลพยายามขยายพื้นที่และพรมแดนผ่านการทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์ รวมถึงมีการสร้างหมู่บ้านใหม่ให้ชาวยิวที่อพยพเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้อิสราเอลพยายามคุมชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ จอร์แดน ด้วยการสร้างภาพลวงตาว่าให้อำนาจในการปกครองตนเอง แต่ที่จริงมีการสร้างกำแพงล้อมรอบชุมชนชาวปาเลสไตน์ จนกลายเป็นคุกใหญ่เพื่อกักกันชาวปาเลสไตน์ การกำเนิดรัฐอิสราเอล ซึ่งถือเป็นลูกนอกสมรสของสหรัฐอเมริกากับอังกฤษ พอเติบใหญ่ก็กลายเป็นเด็กเกเร เที่ยวระรานราวีสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนโดยเฉพาะชาวปาเลสไตน์ แต่ก็มีพ่อแม่ใจทรามคอยให้ท้ายอยู่ตลอดเวลา สร้างความไม่พอใจให้ชนชาติอาหรับ จนกลุ่มชาติอาหรับจัดตั้งกองกำลังบุกเข้าอิสราเอล
แต่ทุกครั้งที่เกิดสงคราม ก็ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของชาติอาหรับ และปาเลสไตน์ก็ต้องเสียดินแดนไปทุกครั้ง โดยเฉพาะ “สงคราม 6 วัน” ในปี ค.ศ. 1967 ประธานาธิบดีนัสเซอร์ แห่งอียิปต์ ส่งกองกำลังทหารกว่า 7 แสนนาย จากความร่วมมือของ 7 ชาติอาหรับ เข้าถล่มอิสราเอลที่มีกองกำลังเพียง 2 แสน นายเท่านั้น เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นว่ายิวเป็นฝ่ายมีชัยในสงคราม อีกทั้งยังยึดดินแดนของฝ่ายชาติอาหรับมาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นเขตกาซ่าตะวันออก แหลมซีนายของอียิปต์ ชายฝั่งตะวันตกบางส่วนของแม่น้ำจอร์แดน (เขตเวสต์แบงก์) ที่ราบสูงโกรันของซีเรีย นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก ซึ่งดินแดนที่ว่านี้ก็ยังถูกอิสราเอลครอบครองมาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจากชัยชนะครั้งนี้แล้ว อิสราเอลยังฉวยโอกาสนี้ทำการขับไล่ชาวอาหรับออกจากจากดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก
รถถังอิสราเอลยึดที่ราบสูงโกลาน
ประธานาธิบดี นัสเซอร์
จากความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มชาติอาหรับลดความนับถือต่อประธานาธิบดี นัสเซอร์ เป็นอย่างมาก และยังทำให้ “องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์” (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ มีการเลือกประธานคนใหม่ที่มาพร้อมกับนโยบายที่แข็งกร้าวขึ้น นั่น คือนายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat)
อาราฟัต เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยที่ยังศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งกษัตริย์ฟาฮัดที่ 1 ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพอียิปต์เมื่อครั้งสงครามคลองสุเอซ ในปี ค.ศ.1956 จากนั้นได้ไต่เต้าขึ้นมาสู่ตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนกระทั่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในที่สุด
Mubarak, Saddam, Arafat
อาราฟัตพยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลกยอมรับการมีตัวตนของชาวปาเลสไตน์และ พยายามแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรม ในการกอบกู้ดินแดนของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล
หลัง จากที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติการด้วยความรุนแรงทั้งอย่างลับๆ และอย่างโจ่งแจ้งมาช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็พบว่าการใช้ความุรนแรงไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ผู้นำของ PLO และอิสราเอล ยอมหันหน้าเข้าหากัน โดยเจรจาผ่านทางสหประชาชาติในปี 1972 การประนีประนอมครั้งนี้เป็นผล ก่อให้เกิดการลงนามใน “ข้อตกลงสันติภาพออสโล ฉบับที่ 1″ ในปี 1993 เป็นการประกาศว่าโลกยอมรับให้มีดินแดนปกครองตนเองที่ชื่อปาเลสไตน์ ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า
Rabin, Clinton, Arafat
จากข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว ทำให้นายอาราฟัต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1994 ร่วมกับ พลเอกยิตซัค ราบิน (Yitzhak Rabin) และนายชิมอน เปเรส (Shimon Peres) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลในสมัยนั้น
แต่ แล้วความสงบสุขก็อยู่ได้ไม่นาน เมื่อกลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงในอิสราเอล ไม่พอใจท่าทีที่ยอมอ่อนข้อของนายราบิน จึงเกิดการลอบสังหารขึ้น ในปี 1995 ตาม ด้วยการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์ จากนั้นสันติภาพก็ลอยห่าง ความขัดแย้งทวีเพิ่มขึ้น แม้นายอาราฟัตจะได้เป็นประธานาธิบดีปาเลสไตน์ในปีถัดมา ซึ่งมีการถ่ายทอดสดพิธีแต่งตั้งประธานาธิบดีไปยังทั่วโลก ถือเป็นประธานาธิบดีคนเดียวและคนแรกในโลกนี้ ที่ไม่มีอำนาจใดๆ แม้กระทั่งจะเดินทางออกนอกประเทศก็ต้องขอวีซ่าจากรัฐบาลอิสราเอล เสรีภาพ ที่ได้มาทำให้ชาวปาเลสไตน์ปิติยินดี ออกมาฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ มีการยิงปืนขึ้นฟ้าและลุกลามไปถึงขั้นจุดไฟเผาทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น สัญลักษณ์ของชาวยิว จากนั้นก็ชักธงชาติปาเลสไตน์ขึ้นยอดเสา แต่ขณะเดียวกันชาวยิวบางส่วนที่ยังอาศัยอยู่ในดินแดนนี้ก็เกิดความไม่พอใจ ออกมาก่อความวุ่นวายตามท้องถนนจนเกิดเป็นจลาจลไปทั่วเมือง
หลังจากนั้น ชาวปาเลสไตน์เริ่มเข้าใจว่า เสรีภาพที่ได้มา มิใช่อื่นใดนอกจากละครหลอกคนดูทั้งโลก นายอาราฟัตก็มิใช่เป็นคนอื่นนอกจากเป็นข้าราชการใกล้เกษียนของรัฐบาล อิสราเอลเท่านั้น ทำให้ความนิยมในตัวเขาลดลง หนำซ้ำ นายอา เรียล ชารอน(Ariel Sharon) นายก รัฐมนตรีคนใหม่ของอิสราเอล ก็มีทีท่าแข็งกร้าว ไม่ยอมเจรจากับเขา เนื่องจากเห็นว่านายอาราฟัตยังแอบหนุนให้มีการใช้ความรุนแรงกับอิสราเอลอยู่ และที่สำคัญไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตำรวจให้กับรัฐบาลอิสราเอลในการปราบปราม ขบวนการใหม่ของชาวปาเลสไตน์โดยการนำของขบวนการฮามาส
ปัญหาปาเลสไตน์นับเป็นประเด็นความขัดแย้งที่สำคัญยิ่งของโลก เพราะมีมหาอำนาจหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ที่ผ่านมาได้มีความพยายามกันแล้วหลายครั้งหลายคราที่จะแก้ไขปัญหาผ่านกระบวน การเจรจาแบบสันติวิธี แต่ท้ายที่สุดความพยายามเหล่านั้นก็ล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า ส่วนคณะปกครองปาเลสไตน์หรือรัฐบาลปาเลสไตน์ภายใต้การนำของ กลุ่มฟาตะห์ (ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหลังการเจรจาสันติภาพที่กรุงมาดริดในปี ค.ศ. 1993) ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่า การให้ความหวังต่อชาวปาเลสไตน์ทั้งมวลว่า พวกเขาจะได้รัฐเอกราชกลับคืนมา อันจะเป็นดินแดนที่ประกอบไปด้วยพื้นที่เหล่านี้รวมกันคือ ฉนวนกาซ่า ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (West Bank) และเยรูซาเล็มตะวันออก ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นดินแดนที่อิสราเอลยึดครองอย่างผิดกฎหมาย มาตั้งแต่หลังสงคราม 6 วันในปี ค.ศ. 1967
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 ที่กระบวนการสันติภาพได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งมีการตกลงเห็นพ้องกันว่า รัฐปาเลสไตน์จะได้รับการสถาปนาขึ้นภายในอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น แต่จนกระทั่งถึงบัดนี้ ชาวปาเลสไตน์ยังคงมีแต่ความว่างเปล่า ไม่เคยได้อะไรจากความหวังที่ตนตั้งหน้าตั้งตารอคอยเลย มิหนำซ้ำพวกเขากลับต้องทนทุกข์ทรมานจากมาตรการอันป่าเถื่อนของยิวไซออนิสต์ และการปิดกั้นทางเศรษฐกิจของฝ่ายอิสราเอล ส่วนทางด้านคณะปกครองปาเลสไตน์นั้น นับวันก็ยิ่งสร้างความผิดหวังให้แก่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากจะไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว ยังมีการคอร์รัปชั่นกันภายในอย่างมโหฬารและมีความแตกแยกกันเองภายในกลุ่ม มิหนำซ้ำ นายยัซเซอร์ อาราฟัต ผู้นำหนึ่งเดียวของฟาตะห์วีรบุรุษจอมปลอมและสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้อันว่าง เปล่าของชาวปาเลสไตน์ กลับต้องมาจบชีวิตลงในช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อนี้อีกด้วย
เมื่อต้นปี ค.ศ. 2006 พรรค ฮามาส ชนะในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ยังความไม่พอใจให้แก่กลุ่มอำนาจเก่าอย่างฟาตะห์เป็นอย่างยิ่ง นับจากนั้นเป็นต้นมากระบวนการที่จะโค่นล้มรัฐบาลฮามาสจึงเริ่มต้นขึ้น ทั้งจากภายในและภายนอกโดยมีสหรัฐฯและอิสราเอลเป็นแกนนำ แม้รัฐบาลฮามาสจะพยายามประนีประนอม โดยยอมแบ่งสรรอำนาจให้กลุ่มฟาตะห์อย่างที่ไม่เคยมีพรรคการเมืองที่ไหนทำกัน
แต่ความพยายามเหล่า นั้นก็ไม่เป็นผล ท้ายที่สุดเหตุการณ์จึงจบลงด้วยการปะทะต่อสู้กันอย่างดุเดือด เป็นสงครามกลางเมืองภายใน อันนำไปสู่การยึดอำนาจในเมืองกาซ่าโดยพรรคฮามาส ในขณะที่กลุ่มฟาตะห์ก็หันไปยึดครองเวสต์แบงค์ และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ที่นั่นเมื่อช่วงกลางปี 2007 ซึ่งก็เท่ากับว่า ขณะนี้ดินแดนปาเลสไตน์ในอดีตไม่ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามที่เข้าใจกันอีกต่อไปแล้ว แต่ยังเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งส่วน กลายเป็น 3 ส่วน คือ
1. อิสราเอล
2. กาซ่าภายใต้การนำของรัฐบาลฮามาส และ
3. เวสต์แบงค์ภายใต้การนำของรัฐบาลฟาตะห์
แน่นอนความแตกแยกในหมู่ปาเลสไตน์ในลักษณะเช่นนี้ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนใน ประวัติศาสตร์
การแบ่งแยกกันระหว่างกาซ่ากับเวสต์แบงค์ เป็นการเอื้อประโยชน์แก่อิสราเอลที่ต้องการเห็นการชุลมุนวุ่นวายเช่นนี้ ดำเนินต่อไป และอิสราเอลก็คงจะทำทุกอย่างให้มีการแบ่งแยกกันอย่างจริงจัง เพราะการแบ่งแยกอย่างนี้จะก่อให้เกิดปัญหาชุดใหม่ที่ชาวปาเลสไตน์ต้องเสีย เวลาหาทางแก้ไข ซึ่งเท่ากับเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของชาวปาเลสไตน์ จากความปรารถนาเดิมที่จะปลดปล่อยชาติ และหากปัญหานี้ดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ มันก็จะเป็นปัจจัยที่เข้าไปทำลายความฝันของชาวปาเลสไตน์ ที่จะจัดตั้งรัฐเอกราชของตนเองขึ้นมา
พรรคฮามาส
ในขณะที่ พรรคฮามาสที่สามารถเข้ามาบริหารปาเลสไตน์นั้น อิสราเอลมองไว้เป็นกลุ่มหัวรุนแรงและใช้ทุกวิถีทางบีบการบริหารของพรรคฮามาส และอิสราเอลเองมีแผนโดยอ้างความชอบธรรมในการใช้กำลังอย่างรุนแรง ซึ่งจริง ๆ แล้ว กาซ่าก็เป็นดินแดนเปิดสำหรับอิสราเอลอยู่แล้ว ที่จะสามารถรุกเข้ามาโจมตีทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศได้ตลอดเวลา
ฮามาสเองตระหนักถึงผลลัพธ์อันนี้ดี เพราะฉะนั้น ฮามาสคงจะให้ความใส่ใจต่อการสร้างความสามัคคี และสร้างเอกภาพของผู้คนภายในเมืองกาซ่าเป็นลำดับแรก ในขณะเดียวกันก็คงไม่พยายามจะยั่วยุอิสราเอล และได้ตกลงหยุดยิงนาน 6 เดือนตั้งแต่ 20 มิถุนายนถึง 19 ธันวาคม 2551
ท้ายสุดวันที่ 27 ธันวาคม 2551 กองทัพอิสราเอลได้โจมตีทางอากาศซึ่งตั้งเป้าที่ฐานที่ตั้งเครื่องยิงจรวดของพรรคและแนวร่วม ของฮามาส ซึ่งอยู่ในเขตชุมชนของฉนวนกาซ่า จากการยิงจรวดเข้าใส่ของอิสราเอลที่ยาวนานติดต่อกันหลายสิบวันในครั้งนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตพุ่งสูงถึงกว่า 1,000 คน และผู้บาดเจ็บมากกว่า 4,000 คน 50% ของเหยื่อดังกล่าวคือสตรีและเด็ก นับเป็นสังหารหมู่อย่างรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การสู้รบ อิสราเอลปาเลสไตน์นับตั้งแต่ได้เกิดข้อขัดแย้งมาเป็นเวลาหลายสิบปี
ทางการอิสราเอลระบุว่า การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลต่อฉนวนกาซ่าครั้งนี้ รวมทั้งการทิ้งระเบิดมากกว่า 100 ตัน ต่อบรรดาฐานที่มั่นหลักๆ ของฮามาส เป็นสิ่งจำเป็นและต้องดำเนินการไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมั่นใจว่าอิสราเอลจะปลอดภัย สร้างความตื่นตะหนกและความสับสนอย่างกว้างขวาง ขณะที่ควันสีดำพวยพุ่งเหนือดินแดนปาเลสไตน์
ขณะที่นายเอฮุด บารัค รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลกล่าวว่า “ปฏิบัติการคาสต์ ลีด” (Operation Cast Lead) เพื่อ ปราบปรามพรรคฮามาสครั้งนี้ จะยังคงดำเนินต่อไปตามความจำเป็น และแม้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้จะต้องใช้เวลานานและเต็มไปด้วยความยากลำบาก แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่อิสราเอลจะต้องดำเนินการในเรื่องนี้และปราบปรามการ บริหารงานของพรรคฮามาส
ภาพเด็กเด็กปาเลสไตน์ที่เสียชีวิต
ไม่ค่อยปรากฎเป็นข่าว
ในสื่อตะวันตก
เหรียญมีสองด้านเสมอ
และสื่อหลักของโลกมักนำเสนอ
แต่ด้านของเหรียญที่อยากจะให้
โลกเห็นเท่านั้น
วันนี้โลกเห็นแต่คนบาดเจ็บล้มตาย
ในฝรั่งเศส
แต่ไม่เห็นภาพ
คนที่บาดเจ็บล้มตาย
ใน ซีเรีย อิรัก เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น