วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อาณาจักรสุโขทัย

ชนชาติไทยหรือสยามในระยะแรกแม้ไม่ปรากฏเรื่องราวมากนักแต่เชื่อว่าชนชาติไทยนั้นได้มีผู้นำของตนทำหน้าที่ดูแลบ้านเมืองอยู่ก่อนแล้ว ด้วยปรากฏชื่อชั้นยศ ในการยกย่องฐานะของผู้นำหรือผู้ครองเมืองนั้นว่า ขุน หรือ พ่อขุนเจ้าหรือพระเจ้า ในตำนานจีนนั้น ปรากฏว่า เจ้าตระกูลเมืองครองน่านเจ้า ในตำนานฝ่ายไทย-ลาว นั้นมีผู้นำ เป็นท้าว(เช่น ท้าวฮุ่ง)เป็นขุน(ขุนเจือง ขุนบลม) เป็นพระยา (พระยาแถน) ส่วนชนชาติไทยนั้น ปรากฏมีผู้นำปกครองชุมชน คือ ขุนศรีนาวถุมครองเมืองเชลียง

การที่ชนชาติไทยหรือชนชาติสยามได้รวบรวมเมืองตั้งเป็นแคว้นหรืออาณาจักรของตนนั้น ต้องศึกษาจากตำนานต่างๆ ทางภาคเหนือนั้น ซึ่งมีชื่ออาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรล้านนาไทยอาณาจักรล้านช้าง และอื่นๆ ที่มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพงศาวดารและตำนานท้องถิ่น

อาณาจักรโยนกหรืออาณาจักรเชียงแสน ถือเป็นอาณาจักรที่เป็นต้นราชวงศ์ กษัตริย์ของชนชาติไทย ซึ่งมีบุคคลที่มีบทบาทในการตั้งอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรอยุธยา ต่อมา เรื่องราวนั้นมีข้อศึกษาที่น่าสนใจตามหลักฐานเดิมและข้อมูลใหม่ ที่มีการศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง กล่าวคือ






แผนที่เมืองสวรรคโลก


พระปรางค์วัดมหาธาตุ เมืองสวรรคโลก


เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั้น ปรากฏว่าเหตุการณ์ว่า ชนชาติไทยกลุ่มต่างๆ นั้น ได้พากันสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นแล้วหลายแห่ง เช่น เมืองสุพรรณภูมิ เมืองอโยธยา เมืองละโว้ เมืองเชียงใหม่ และเมืองพะเยา เป็นต้น ครั้งนั้นได้มีคนไทยกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของขุนศรีนาวนำถุม (เชื่อสายราชวงศ์ศรีนาวนำถุม) ได้นำมาสถาปนาอำนาจขึ้นที่เมืองเชลียง (คือ เมืองศรีสัชนาลัย) ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม

พื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือภาคกลางตอนบนแห่งนี้ เป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ของภาคกลาง เกิดจากตะกอนทับถมของลำน้ำปิง ยม และน่าน พื้นที่ราบนี้มีลัษณะลูกฟูกสลับกับที่สูง โดยมีเทือกเขาอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นั้น บริเวณนี้ปรากฏว่ามีร่องรอยของชุมนุนโบราณ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่มีศาสนาเป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์กัน

ดังนั้นในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ ศูนย์กลางอำนาจของชุมชนโบราณดังกล่าวจึงตั้งอยู่ที่เมืองเชลียง เมืองศรีสัชนาลัย) เมืองสุโขทัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม และตั้งอยู่ที่เมืองสระหลวง เมืองสองแคว ในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า บริเวณลุ่มแม่น้ำทั้งสองนั้น มีชุมชนโบราณ ประมาณ ๔๖ แห่งอยู่กระจัดกระจายอยู่ตามลำน้ำยมและลำน้ำน่านและยังได้ขยายบริเวณออกไปทางด้านตะวันตก ถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ทางด้านตะวันออกไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักด้วย






แผนผังวัดมหาธาตุ เมืองสวรรคโลก (เมืองเชลียงเก่า)


ซุ้มเข้าวัดมหาธาตุ
เมืองสวรรคโลก (เมืองเชลียงเก่า)


ต่อมา ขุนศรีนาวนำถุม ผู้นำเมืองเชลียงได้ทำการขยายอำนาจของเมืองเชลียงเข้าไปในเมืองสุโขทัย โดยมีการรวมเมืองสองเมือง ปรากฏชื่อในจารึกว่า นครสองอัน หมายถึงเมืองสุโขทัย เมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) เมืองสำคัญของชนชาติไทยสองแห่งนี้ จึงมีภูมิสถานที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลางชุมชนคนเมืองไทยในบริเวณนั้น ทำให้อาณาจักรแห่งนี้มีเมืองสำคัญ ดังนี้

เมืองเชลียง (เมืองสวรรคโลกหรือเมืองศรีสัชนาลัยเดิม ปัจจุบันคืออำเภอสวรรคโลก จังหวัด สุโขทัย) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมตรงพื้นที่เ ป็นแม่น้ำคดเป็นไส้ไก่ทำให้เกิดลำน้ำอ้อมล้อมบริเวณเมืองสามด้านบริเวณที่ตั้งเมืองนั้นพบว่าวัดเจ้าจันทร์เป็นโบราณสถานหลักของเมืองเชลียงเดิม เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ภายหลังได้มีการขยายเมืองเชลียงมาทางตะวันตกโดยใช้แม่น้ำยมเป็นคูเมืองด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว โดยขุดคูเมืองด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว โดยขุดดูเมืองขึ้น ๓ ด้าน และทำกำแพง ๓ ชั้นล้อมตัวเมือง (เรียกว่าตรีบูร?)บริเวณที่ตั้งของเมืองเ ชลียงแห่งนี้จึงตั้งเป็นศูนย์กลางเส้นทางคมนาคมทางน้ำ (แม่น้ำยม) ที่สามารถติดต่อไปยังชุมชนโบราณทางตอนเหนือ คือ เมืองแพร่ เมืองงาว ไปจนถึงเมืองพะเยา เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน ส่วนทางด้านตะวันออกนั้นสามารถติดต่อไปถึงเมืองทุ่งยั้งและชุมชนโบราณในบริเวณลุ่ม แม่น้ำน่านในเมืองอุตรดิตถ์ สามารถติดต่อไปยังบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านตอนบน ออกไปบังบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ส ามารถติดต่อไปถึงเมืองหลวงพระบางในอาณาจักรล้านช้างได้




วัดมหาธาตุเมืองเชลียงเดิม
(สวรรคโลก) ตั้งอยู่ริมน้ำยม


ดังนั้น เมืองเชลียงที่ตั้งอยู่ด้านตะวันอออกตรงบริเวณวัดจันทร์ วัดชมชื่นนั้น ได้มีการส ร้างโบราณสถานสำคัญ คือ วัดพระปรางค์วัดศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนเมืองเชลียงที่ย้ายไปสร้างขึ้นใหม่ทางด้านตะวันตกบริเวณเขาสุวรรณคีรีและเขาพนมเพลิงนั้น ได้สร้างเป็นเมืองขนาดใหญ่มีกำแพง 3 ชั้นคูเมือง 3 ด้าน (ตรีบูร) โดยให้แม่น้ำยมเป็นคูเมืองด้านหนึ่งนั้น ได้มีการสร้างโบราณสถานสำคัญขึ้นบนเขาในเมือง คือ วัดเขาสุวรรณคีรี วัดเขาพนมเพลิง และวัดเขาใหญ่ที่อยู่นอกเมือง สำหรับด้านทิศใต้นั้น เป็นบริเวณที่ราบนั้นสร้างวัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้ว อุทยานน้อย วัดสวนแก้วอุทยานกลาง วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดนางพญา วัดอุดมป่าสัก เป็นต้น ด้านเหนือของตัวเมืองเป็นแหล่งเตาทุเรียน ด้านตะวันออกและด้านใต้เป็นป่าไผ่ ด้านตะวันออกเป็นแม่น้ำยมที่มีแก่งหลวง (เขื่อนกั้นน้ำโบราณ?) เมืองเชลียงแห่งใหม่นี้ จึงเป็นศูนย์กลางของการปกครอง และเรียกเป็น
เมืองศรีสัชนาลัย (อาณาจักรเชลียง?)





เจดีย์เขาวัดสุวรรณคีรีเมืองศรีสัชนาลัย


สำหรับเมืองสุโขทัยนั้นอยู่ทางทิศใต้ ถัดลงมาจากเมืองศรีสัชนาลัยลงไป ไม่ได้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม แต่อยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขา ห่างจากฝั่งแม่น้ำยมไปทางทิศตะวันตก บริเวณเมืองสุโขทัยเดิมนั้น ตั้งอยู่ที่วัดพระพายหลวง มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคูน้ำล้อมรอบ สร้างศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานขึ้น เป็นพระปรางค์ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปลวปุระ(ศิลปลพบุรี)โดยก่อสร้าง ตามสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองละโว้(เมืองลพบุรี)กล่าวคือ การก่อสร้างรูปแบบและประดับลวดลายปูนปั้นองค์พระปรางค์ในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณวัดพระพายหลวงแห่งนี้ ได้เคยเป็นชุมชนโบราณที่ ตั้งอยู่ก่อนการสร้างเมืองสุโขทัย กล่าวคือทางด้านทิศใต้นั้นมีศาสนสถานสำคัญอยู่ ๒ แห่ง คือ วัดศรีสวายและศาลาผาแดง ดังนั้น ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ นั้น น่าจะมีการสร้างเมืองสุโขทัยขึ้นที่บริเวณแห่งนี้และมีความสัมพันธ์กับเมืองละโว้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรขอมแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จนได้รับเอาวัฒนธรรมและการเมืองจากเมืองละโว้ และเมืองพระนคร (ยโสธรปุระหรือนครธม) เข้ามาใช้ในเมืองสุโขทัยโบราณ ต่อมานั้นได้มีการย้ายมาสร้างเมืองสุโขทัยใหม่ โดยขุดคูเมืองและสร้างกำแพง ๓ ชั้น ดังมีจารึกว่า “รอบเมือง สุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา” มีโบราณสถานสำคัญมากมายเช่น พระราชวัง วัดมหาธาตุ และวัดศรีชุมอยู่นอกกำแพงเมือง เป็นต้น

ภายหลังนั้นขุนศรีนาวถุมได้ขยายอำนาจจากเมืองเชลียงเข้ามายังเมืองสุโขทัย จึงทำให้เมืองเชลียงและเมืองสุโขทัยเป็นนครหรือเมืองขนาดใหญ่ที่อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม ปรากฏเรียกในจารึกว่า นครสองอัน จึงหมายถึงเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัย นั่นเอง






พระปรางค์ที่วัดพระพายหลวง


พระปรางค์ขอมที่วัดศรีสวาย เมืองสุโขทัย


ส่วนบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน นั้นปรากฏชื่อเมืองสระหลวง อยู่ทางด้านเหนือของแม่น้ำน่านบางแห่งเรียกว่า โอฆบุรี (เมืองพิจิตรโบรา ณ) บ้างสันนิษฐานว่าเป็นเมืองทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ (ได้มีการศึกษาแล้วว่าน่าจะเป็นเมืองราดของขุนผาเมือง) ซึ่งต่างก็มีเส้นทางน้ำที่สามารถติดต่อกับแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับชุมชนอื่นๆ ได้สะดวก โดยมีเส้นทางติดต่อระหว่างเมืองเชลียง เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางและมีทางแยกไปยังเมืองราด (เมืองนครไทย) ซึ่งสามารถติดต่อไปถึงเมืองเวียงจันทน์ เมืองเวียงคำ (สองเมืองนี้มีอายุสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยลงมา) ที่อยู่ในอาณาจักรล้านช้างได้

บริเวณตะวันออกของแม่น้ำน่านนั้นเป็นที่ตั้งของเมืองสองแคว (เมืองพิษณุโลก) โดยตัวเมืองเดิมนั้นมีภูมิสถานตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ สองสาย คือแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันตก และลำน้ำเก่า (แควน้อย)ด้านทิศตะวันออกทำให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมติดต่อกับชุมชนที่ตั้งในบริเวณนั้นได้เป็นอย่างดี พบว่ามีชุมชนโบราณตั้งอยู่ตามลำน้ำแห่งนี้ ได้แก่ เมืองสองแควโบราณ (อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดพิษณุโลก) สำหรั บโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยเมืองสุโขทัย นั่นคือ วัดพระศรีมหาธาตุ และวัดเจดีย์ยอดทอง และร่องรอยโบราณสถานของวัดจันทน์ที่สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย





เมืองพิษณุโลก แสดงบริเวณพระราชวังสมัยสุโขทัย (ฝีพระหัตถ์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงร่าง)


ส่วนบริเวณต้นลำน้ำแควน้อยนั้น เป็นที่ตั้งของเมืองราด เดิมนั้นสันนิษฐานไว้ว่าคือเมืองนครไทย (อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก) ด้วยเหตุที่เมืองแห่งนี้มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ และมีเส้นทางที่สามารถติดต่อกับเมืองสองแคว (เมืองพิษณุโลก) ได้จากการศึกษาภายหลังพบว่ามีชุมชนโบราณตั้งอยู่และมีอายุอยู่ในสมัยทวาราวดีตอนปลาย และสืบทอดมาถึงสมัยลพบุรีและสมัยสุโขทัย โดยชุมชนเหล่านี้มีการสร้างวัดเป็นศูนย์กลาง ตั้งอยู่เป็นระยะตามเส้นทางดังกล่าว ภูมิสถานของเมืองนครไทยนี้จึงมีทำเลเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางที่ติดต่อกับชุมชนอื่นได้สะ ดวก โดยใช้แม่น้ำน่าน และแม่น้ำโขง เป็นจุดรวมกำลังสำคัญที่สามารถจัดตั้งกำลังไพร่พล และเป็นศูนย์รวมอำนาจการสู้รบในแถบนี้ได้ ภายหลังได้มีการศึกษาใหม่ จึงมีข้อสรุปไว้ว่า เมืองราดนั้นน่าจะตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำน่าน ในจังหวัดอุตรดิตถ์ คือ ชุมชนโบราณในอำเภอทุ่งยั้ง ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับ เมืองสะค้า เมืองลุมบาจาย

ดังนั้น
เมืองบางยาง ของขุนบางกลางหาว นั้น จึงน่าจะเป็นเมืองนครไทย ตามที่มีการสันนิษฐานไว้แต่เดิม

บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงนั้น ในสมัยพระมหาราชาลิไทยได้สถาปนาพระบรมธาตุขึ้นที่
เมืองนครชุม (อำเภอนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร) ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง จากเมืองนครชุมแห่งนี้มีเส้นทางตามแนวถนนพระร่วงไปยังเมืองสุโขทัยได้ ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือตาม ลำแม่น้ำปิงนั้น ที่ตั้งของเมืองตาก ที่สามารถใช้เส้นทางนี้ข้ามไปยังอาณาเขตของมอญ ส่วนทางด้านทิศตะวันออกนั้นติดต่อไปยังเมืองพิจิตร และทางด้านทิศใต้ติดต่อไปยังเมืองพระบาง (คือ เมืองโบราณในจังหวัดนครสวรรค์)





พระราชวังสนามจันทน์ เมืองพิษณุโลก (ฝีพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)


ส่วนบริเวณฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออกตรงข้ามกับเมืองนครชุมนั้น เป็นที่ตั้งของ
เมืองกำแพงเพชรที่สร้างขึ้นช่วงปลายของอาณาจักร เมืองสุโขทัย ในจารึกวัดอโศการาม ได้กล่าวว่าพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์โปรดให้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่จากเมืองนี้ ไปปกครองวัดอโศการามที่เมืองสุโขทัย

ดังนั้นศูนย์กลางชุมชนของชนชาติในระยะแรกนั้น น่าจะมีการตั้งบ้านเมืองอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ซึ่งพอประมาณขอบเขตทางภูมิศาสตร์ได้ว่าศูนย์กลางชุมชนคนชาติไทยสมัยขุนศรีนาวนำถุมนั้น

ด้านเหนือนั้นจุดเมืองแพร่ ด้านใต้จดเมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค์) ด้านตะวันตกจดเมืองฉอด (อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก) และด้านตะวันออกจดเมืองสะค้า (เมืองหนึ่งในเขตอีสานเหนือใกล้กับแม่น้ำโขง)

ด้วยเหตุนี้เมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) เมืองสุโขทัย เมืองสระหลวงและเมืองสองแคว ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่นั้น จึงเป็นศูนย์กลาง ของชุมชนชาติไทย ที่สามารถติดต่อกับชุมชนอื่นในลุ่มแม่น้ำโขง หรือดินแดนของชาติมอญ-พม่า ฃจนกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจของชุมชนขนาดใหญ่ในสมัยนั้น






พระบรมธาตุที่นครชุม (กำแพงเพชร)


เจดีย์เก่าที่เมืองราด


ขณะนั้นบริเวณตอนล่างแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็มีการสร้างเมืองละโว้ขึ้น จึงมีความต้องการวัตถุดิบที่มาจากเมืองต่างทางตอนเหนือ มากมาย โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นของป่า ทำให้ชุมชนทางตอนเหนือนั้นมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนต่างของอาณาจักรเมืองละโว้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรขอมในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นั้นได้ส่งพระโอรส เจ้าชายละโว้ทเยศ มาครองเมืองละโว้ (เมืองลพบุรี) ขณะนั้นเมืองอโยธยาเป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรละโว้ ทำให้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่มีเรือสินค้าโบราณจากเมืองอื่น (จีนโบราณ และอินเดียโบราณ?) พากันมาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยเดินทางเรือมายังอ่าวไทย โดยใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมเข้ามายังบริเวณปากน้ำโพ กล่าวคือ พบว่าบริเวณปากน้ำโพนั้น เคยเป็นอ่าวของทะเลมาก่อนในสมัยดึกดำบรรพ์)

เมืองอโยธยานั้นมีกษัตริย์ครองเมืองต่อมาจนมีความมั่งคั่ง จนเป็นที่มาของพระนาม“อู่ทอง” จนมีตำนานเรื่อง พระเจ้าอู่ทอง เดินทางเรือมาจากเมืองจีนตั้งบ้านเมืองที่บริเวณนี้




พระมหาธาตุ เมืองสุโขทัย



ด้วยเหตุที่เมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัย นั้น เป็นแหล่งสินค้าสำคัญจากทางเหนือ จึงทำให้มีความเจริญทางเศรษฐกิจจนสามารถดำเนินการค้ากับชาวจีน อินเดีย ลังกา กุพาม ขอม และมีความมั่นคง จนสามารถแผ่ขยายอำนาจของตนขึ้นมาได้

การครองเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัยของขุนศรีนาวนำถุม นั้น ไม่ปรากฏข้อมูลให้ศึกษามากนัก และเชื่อว่าขุนผู้นี้ครองเมืองอยู่ได้ไม่นานนัก เมื่อขุนศรีนาวนำกุมสิ้นพระชนม์ลง ก็ทำให้อำนาจของอาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้นถูกแย่งชิงจนเสียเมือง(บริเวณลุ่มแม่น้ำยมและลุ่มแม่น้ำน่าน? ให้กับอำนาจของอาณาจักรขอม

กล่าวคือเมืองสุโขทัย นั้น น่าจะได้มีกษัตริย์ครองเมืองนี้มาก่อน จนเมื่อขุนศรีนาว นำถุม? ได้เข้ามามีอำนาจในเมืองสุโขทัย และรวมเอาเมืองเชลียงปกครองเป็นระบบเมืองคู่ เรียกเมืองนครสองอันนั้น เป็นช่วงสมัยเดียวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (จารึกว่า ผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ) ได้ครองอาณาจักรขอมเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๔๒-๑๗๖๓ ได้ปรากฏชื่อ ขุนศรีนาวนำถุม ได้ครองเมืองนครสองอันดังกล่าว อยู่ก่อนที่ขอมจะเข้ามามีอำนาจ แต่ไม่มีหลักฐานใดที่ทำให้รู้เรื่องราวของขุนผู้นี้มากนัก.

 

 

 

 

http://haab.catholic.or.th/history/history002/sukhothai/sukhothai.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น