โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com) เฟซบุ๊ก Travel-Unlimited-เที่ยวถึงไหนถึงกัน |
|||||
นอกจากนี้ก็ยังมี “บ้านดำ” จ.เชียงราย ที่ อ.ถวัลย์ ได้ทิ้งไว้ให้เป็นมรดกอันทรงคุณค่าคู่ฟ้าเมืองไทย รวมถึงมีตำนาน เรื่องราว และผลงานต่างๆ ที่ อ.ถวัลย์ ฝากทิ้งไว้ให้จดจำรำลึกถึงกัน และเพื่อเป็นการไว้อาลัยต่อการจากไปของยอดศิลปินท่านนี้ ผมขอพูดถึงงานพุทธศิลป์ 2 สิ่งในดินแดนล้านนาที่ อ.ถวัลย์ ชื่นชมยกย่องในความยอดเยี่ยมของฝีมือคนรุ่นก่อน |
|||||
วัดภูมินทร์ เป็นสถานที่สำคัญของ จ.น่าน ตั้งอยู่ที่ข่วงเมือง บนถนนผากลอง อ.เมือง วัดภูมินทร์ เป็นวัดสำคัญเก่าแก่อายุกว่า 400 ปีที่มีความงดงามไปด้วยงานพุทธศิลป์อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในเมืองไทย ซึ่งถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในไฮไลต์สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญประจำจังหวัดน่าน ซึ่งหากใครที่ไปแอ่วน่านแล้วยังไม่เคยไปเยือนวัดภูมินทร์ก็เหมือนยังไปไม่ถึง |
|||||
|
|||||
|
|||||
|
|||||
|
|||||
นั่นคือสิ่งน่าสนใจของวัดภูมินทร์ที่ใครหลายคนพุ่งเป้าไป แต่ที่วัดภูมินทร์ยังมีอีกหนึ่งของดีเป็นความงามอันสุดคลาสสิกที่ใครๆ หลายคนอาจมองข้าม แต่ อ.ถวัลย์ กลับลึกซึ้งในความงามของสิ่งนั้น นั่นก็คือ “พญานาคแห่งวัดภูมินทร์” |
|||||
|
|||||
สำหรับในทางพระพุทธศาสนา พญานาคทั้ง 2 เปรียบเสมือนผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา แต่ในทางศิลปะงานช่างโบราณนั้น อ.ถวัลย์ที่เมื่อได้เห็นนาค 2 ตนนี้ ได้ยกย่องให้เป็น “พญานาคที่ดูมีชีวิตและทรงพลังที่สุดในเมืองไทย” งานนี้ใครจะดูนาคทรงพลังแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แต่กับคำพูดของ อ.ถวัลย์น่ะ ดูจะทรงพลังต่อผมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเวลาที่ไปวัดภูมินทร์คราใดผมเป็นต้องไม่พลาดการชมนาคสะดุ้งมีชีวิตอันทรงพลังคู่นี้ด้วยประการทั้งปวง |
|||||
จากวัดภูมินทร์ จ.น่าน มาที่ “วัดศรีอุโมงค์คำ” จ.พะเยา กันบ้าง วัดศรีอุโมงค์คำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดสูง” ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ถ.ท่ากว๊าน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา วัดแห่งนี้สร้างขึ้นมาแต่หนใด ไม่มีใครรู้ เพราะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 วัดสูงถือเป็นหนึ่งในวัดสำคัญของจังหวัดพะเยาที่มีของดีในระดับโดดเด่นเป็นเอกอุอยู่มากพอดู ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธรูปหินทรายกับงานแกะสลักหินทรายต่างๆ อาทิ เทวรูป รูปสัตว์ต่างๆ ที่เป็นตัวช่วยในการสันนิษฐานถึงความเป็นมาของวัดแห่งนี้ |
|||||
ด้วยความที่ในอดีตเจดีย์องค์นี้มักถูกฟ้าผ่าอยู่บ่อยครั้ง ทำให้คนโบราณหลายคนเชื่อว่าเป็น “เจดีย์อาถรรพ์” ส่วนถ้ามองกันตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บนเนินกลางแจ้ง สมัยก่อนยังไม่มีการติดตั้งสายล่อฟ้า ทำให้เจดีย์ย่อมถูกฟ้าผ่าบ่อยเป็นธรรมดา แต่เมื่อมายุคปัจจุบันมีการติดตั้งสายล่อฟ้าก็ทำให้ปัญหาเรื่องฟ้าเจดีย์หักพังเป็นอันหมดไป จากเจดีย์มาไหว้พระกันบ้างที่วัดศรีอุโมงค์คำมี “พระเจ้าทันใจ” ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระหลังเล็กเป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ เพราะเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่ได้ชื่อว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดในบรรดาพระพุทธรูปหินทรายที่ขุดค้นพบในพะเยา |
|||||
องค์แรกเป็น“พระเจ้าแข้งคม” ซึ่งเหตุที่คนเรียกขานช่อกันแบนี้เป็นเพราะท่านมีหน้าแข้ง(พระชงฆะ) เป็นเหลี่ยมเป็นสันคมชัดอย่างชัดเจน นับเป็นอีกหนึ่งในงานพุทธศิลป์พื้นบ้านล้านนาที่ปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง |
|||||
พระเจ้าล้านตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำจากทองสำริด หน้าตักกว้าง 184 เซนติเมตร สูง 270 เซนติเมตร มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าเมืองสร้อยพะเยา ในราวปี พ.ศ. 2058 แต่ไม่ทราบว่าดั้งเดิมมาจากที่ไหน เพราะพบถูกทิ้งอยู่ที่สนามเวียงแก้ว(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลหลักเมืองพะเยา) ก่อนถูกอัญเชิญมาเป็นพระประธานภายในโบสถ์วัดศรีอุโมงค์คำ |
|||||
พระเจ้าล้านตื้อยังมีอีก 2 ชื่อเรียกขาน เริ่มจาก “พระเจ้าแสนแส้” (บางข้อมูลเขียนว่าแสนแซ่) ที่มาจากคำว่า “แส้” ในภาษาล้านนาหมายถึงสลัก ซึ่งตลอดทั้งองค์ของท่านช่างได้ทำเป็นสลัก สามารถถอดประกอบได้ มีทั้งหมด 4 จุดด้วยกัน คือที่คอ(พระศอ) ข้อศอกทั้ง 2 ข้าง และที่เอว นับเป็นอีกหนึ่งความพิเศษของพระพุทธรูปองค์นี้ ส่วนอีกหนึ่งชื่อเรียกขานของพระเจ้าล้านตื้อก็คือ “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์” ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อยกย่องให้เกียรติในความงามอย่างยิ่งยวดของพระเจ้าล้านตื้อ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งแห่งล้านนา |
|||||
หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์เป็นชื่อที่มาตั้งกันภายหลัง ที่มาของชื่อก็มีความเกี่ยวพันกับ อ.ถวัลย์ ดัชนี โดยหลวงพี่ที่(เคย)พาผมชมสิ่งน่าสนใจภายในวัดวัดศรีอุโมงค์คำ เล่าให้ฟังว่า อ.ถวัลย์ เมื่อได้มาเห็นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ไม่รีรอที่จะบอกว่า “พระเจ้าล้านตื้อมีความงดงามที่สุดในล้านนา” นับตั้งแต่แกเคยพบเจอมา
|
ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ Thailand > เรื่องทั่วๆไปที่คนไทยควรรู้ >
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557
งดงาม-ทรงพลัง รำลึก “ถวัลย์ ดัชนี” ผ่าน 2 งานพุทธศิลป์ที่ยอดศิลปินยกย่อง/ปิ่น บุตรี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น