วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กองทัพอากาศไทยเข้าร่วมซ้อมรบ


 

กองทัพอากาศไทยร่วมการฝึก “พิช แบล็ค” ในออสเตรเลีย

ทอ.ออสเตรเลียได้ต้อนรับเครื่องบินกริพเพน (JAS-39 Gripen) จากกองบินที่ 7 แห่งกองทัพอากาศไทย เข้าร่วมในการฝึกปฏิบัติการทางอากาศและทดสอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ ภายใต้รหัสการฝึก “พิช แบล็ค 2014” ซึ่งจัดขึ้นในเขตการปกครองนอร์ทเทิร์น เทอร์ริทอรี ระหว่างวันที่ 1 – 22 สิงหาคม 2557 นับเป็นครั้งแรกที่กองบินที่ 7 ของไทยพร้อมด้วยเครื่องบินกริพเพนเดินทางไปเปิดตัวในต่างประเทศ นอกจากนี้ กองทัพอากาศไทยยังได้ส่งเครื่องบินลำเลียงเข้าร่วมในการฝึกครั้งนี้อีกด้วย

“พิช แบล็ค” เป็นการฝึกทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดของกองทัพอากาศออสเตรเลีย จัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปีที่ฐานทัพของกองทัพอากาศออสเตรเลียในเขตการปกครองนอร์ทเทิร์น เทอร์ริทอรี โดยการฝึกขณะนี้มีขึ้นที่ฐานทัพอากาศในเมืองดาร์วิน และทินดอล มีหลายประเทศซึ่งล้วนแล้วแต่มีสายสัมพันธ์ทางทหารกับประเทศออสเตรเลียเข้าร่วม อาทิ ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกองทัพฝรั่งเศสในนิวแคลิโดเนีย

Pitch Black 2014 - Hornet - Super Hornet - Mirage 2000-9 - Gripen - foto MD Australia

ปฏิบัติการครั้งนี้จะเกิดขึ้นในหนึ่งในน่านฟ้าสำหรับการฝึกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้เข้าร่วมจะฝึกการต่อต้านทางอากาศเชิงรุก และการสนับสนุนทางอากาศเชิงรุก

Pitch Black 2014 - Hornet - Super Hornet - Mirage 2000-9 - Gripen - F-16 - F-15 - foto MD Australia

ผู้บัญชาการทางอากาศแห่งออสเตรเลีย พลอากาศตรี เมล ฮัพเฟลด์ กล่าวว่า การฝึกครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีด้านการบินทางการทหารที่มีความทันสมัยเป็นอย่างมาก มีผู้เข้าร่วมการฝึกทั้งที่เคยเข้าร่วมแล้วและที่เข้าร่วมเป็นครั้งแรก เป็นการฝึกที่ล้ำหน้ามากที่สุดในระยะเวลา 24 ปีที่เคยมีการจัดการฝึกนี้มา

Pitch Black 14 - Gripen da Tailândia - foto 2 MD Australia

สายสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างออสเตรเลียและไทย ก่อให้เกิดความร่วมมือใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึง การเป็นเจ้าภาพร่วมของการฝึกปฎิบัติการรักษาสันติภาพภายใต้รหัส พิราบ-จาบิรู ปี 2557 ในประเทศไทยเมื่อเร็วๆนี้

ที่มา http://www.thailand.embassy.gov.au/bkok/PR2014_PitchBlack_Th.html


เครื่องบินมากกว่า 110 ลำและเจ้าหน้าที่ 2,300 นายจากกองทัพอากาศนิวซีแลนด์ ไทย สิงคโปร์ฝรั่งเศส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ [ยูเออี] และสหรัฐอเมริกา เติมเต็มท้องฟ้าของออสเตรเลียตอนเหนือใน การซ้อมรบพิทช์ แบล็ค 2014 ซึ่งจัดขึ้นในปีนี้โดยมีกองทัพอากาศออสเตรเลีย [RAAF] เป็นเจ้าภาพ

Pitch Black 14 is held in the Northern Territory from 1-22 August 2014

การซ้อมรบนี้เน้นที่บทบาทความโดดเด่นและที่เพิ่มขึ้นของออสเตรเลียในความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและชาติประชาธิปไตยชั้นนำของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใน การป้องกันประเทศระดับซีกโลก

F/A-18 ฝูงบินที่ ๗๗ ทอ.ออสเตรเลีย

การซ้อมรบทางอากาศพิทช์ แบล็ค จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ สองปี ออสเตรเลียน บรอดคาสติ้ง คอร์ป [ABC] ได้อธิบายถึงพิทช์ แบล็ค ว่าเป็นการซ้อมรบที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนมากที่สุดที่จัดโดย RAAF

เครื่องบินไอพ่นเคลื่อนไปตามลานบิน: เครื่องบินเอฟ/เอ-18เอ ฮอร์เน็ท เคลื่อนไปตามลานบินสู่ทางขึ้นลงเครื่องบินของฐานทัพอากาศดาร์วิน ออสเตรเลีย ระหว่างการซ้อมรบพิทช์ แบล็ค 2014 [ส.ท. เดวิด เซอิด แห่งกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย]

เฮอร์คิวลิส: เครื่องบินแบบ ซี-130เจ เฮอร์คิวลิส ของกองทัพอากาศออสเตรเลีย ที่เข้าร่วมในการซ้อมรบพิทช์ แบล็ค 2014 จอดอยู่บนทางขึ้นลงเครื่องบินที่ฐานกองทัพอากาศออสเตรเลียในเมืองทินดาล [ส.ท. เดวิด กิบส์ แห่งกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย]

เฮอร์คิวลิส: เครื่องบินแบบ ซี-130เจ เฮอร์คิวลิส ของกองทัพอากาศออสเตรเลีย ที่เข้าร่วมในการซ้อมรบพิทช์ แบล็ค 2014 จอดอยู่บนทางขึ้นลงเครื่องบินที่ฐานกองทัพอากาศออสเตรเลียในเมืองทินดาล [ส.ท. เดวิด กิบส์ แห่งกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย]

“เครื่องบินรบจำนวนมากสูงสุดถึง 110 ลำจากกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ประเทศไทย สิงคโปร์ และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะบินอยู่ในท้องฟ้าระหว่างนครดาร์วินและแคทเธอรีนในช่วงการซ้อมรบซึ่งกินเวลา 22 วันและจัดขึ้นทุก ๆ สองปี” สำนักข่าว เอบีซี ระบุ

ภาพเก่าจาก Pitch Black 2012 Mig-29 ทอ.อินโดนีเซีย และ F/A-18 ทอ.ออสเตรเลีย

การซ้อมรบนี้จะครอบคลุมภารกิจภาคกลางวันและกลางคืน และหลังจากการสิ้นสุดของพิทช์ แบล็คในวันที่ 22 สิงหาคมแล้ว “คาดกันว่าเครื่องบินของสิงคโปร์จะปฏิบัติการฝึกซ้อมต่อเนื่องในน่านฟ้าออสเตรเลียในช่วงระยะเวลานี้” ภาคการบริการแพร่ภาพกระจายเสียงระบุ

F-16 Fighting Falcon performs coalition air-to-air formation during Pitch Black 2014

“การซ้อมรบนี้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและได้รับการคาดหมายว่าจะอัดฉีดเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้าสู่ชุมชนท้องถิ่น” สำนักข่าว เอบีซี ระบุ

“การซ้อมรบซึ่งกินเวลาสามสัปดาห์จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ปฏิบัติภารกิจตอบโต้ทางอากาศเชิงรุกและภารกิจตอบโต้ทางอากาศเชิงรับจากฐานกองทัพอากาศออสเตรเลียในนครดาร์วินและทินดาล โดยใช้สถานที่เดลาเมียร์ เรนจ์ และบริเวณฝึกซ้อมภาคสนามแบรดชอว์” องค์กรการบินออสเตรเลีย รายงาน

Royal Australian Air Force Aircraft

KC-30A

“รูปแบบเครื่องบินที่เข้าร่วมในการซ้อมรบรวมถึงเครื่องบินแบบฮอร์เน็ทดั้งเดิมและซุปเปอร์ฮอร์เน็ท เครื่องบินเติมน้ำมันทางอากาศแบบเคซี-30เอ เครื่องบินที่มีเรดาร์แจ้งเดือนล่วงหน้าและการควบคุมทางอากาศแบบอี-7เอ เวดจ์เทล เออีดับเบิลยูแอนด์ซี และซี-130 เฮอร์คิวลีสจาก RAAF รวมทั้งเครื่องบินแบบเอฟ-15เอสจี และเอฟ-16ซี/ดีจากสิงคโปร์ เครื่องบินซาบกริพเพนของไทย เครื่องบินมิราจ 2000-9 และเอ330 เอ็มอาร์ทีทีจากยูเออี เครื่องบินแบบซีเอ็น-235 จากนิวคาลิโดเนีย และเครื่องบินแบบเอฟ-16ซี/ดี และบี-52เอชจากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา” องค์กรการบินออสเตรเลีย รายงาน

Royal Australian Air Force Aircraft

A-7E Wedgetail

การซ้อมรบพิทช์ แบล็ค มีมาตั้งแต่สองทศวรรษที่แล้ว

ภาพเก่าจาก Pitch Black 2008 F-16 ทอ.สิงคโปร์

รัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีของออสเตรเลียได้เป็นเจ้าภาพจัดการซ้อมรบทางอากาศพิทช์ แบล็ค มาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ซึ่งยังคงส่งเสริม “ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นระหว่างออสเตรเลียและประเทศอื่น ๆ” ต่อไป เว็บไซต์บิซิเนส อินไซเดอร์ ออสเตรเลีย [BIA] ตั้งข้อสังเกต

บรรยายสรุปด้านความปลอดภัย: สมาชิกกองทัพอากาศไทยและนักดับเพลิงจากฐานกองทัพอากาศออสเตรเลียในนครดาร์วินหารือถึงระเบียบการด้านความปลอดภัยสำหรับเครื่องบินแบบเจเอเอส-39 กริพเพน เครื่องใหม่ของประเทศไทย [ส.ท. เดวิด เซอิด แห่งกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย]

บรรยายสรุปด้านความปลอดภัย: สมาชิกกองทัพอากาศไทยและนักดับเพลิงจากฐานกองทัพอากาศออสเตรเลียในนครดาร์วินหารือถึงระเบียบการด้านความปลอดภัยสำหรับเครื่องบินแบบเจเอเอส-39 กริพเพน เครื่องใหม่ของประเทศไทย [ส.ท. เดวิด เซอิด แห่งกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย]

“กิจกรรมฝึกซ้อมทั้งหลายรวมถึงการรบจากอากาศสู่อากาศ การโจมตีจากอากาศสู่พื้น การแจ้งเดือนล่วงหน้าและการควบคุมทางอากาศ การเติมน้ำมันจากอากาศสู่อากาศ การขนส่งทางอากาศเชิงยุทธวิธี และการฝึกซ้อมหลากหลายบนภาคพื้นดินและบทบาทจำลอง” BIA ระบุ

ไอเอชเอส เจนส์ ดีเฟนส์ วีคลี [เจดีดับเบิลยู] นิตยสารด้านกลาโหมของอังกฤษ ชี้ให้เห็นว่ากองทัพอากาศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้าร่วมในการซ้อมรบครั้งนี้เป็นครั้งแรกในปีนี้

ยูเออี “ได้ส่งเครื่องบินรบแบบดัซโซลท์ มิราจ 2000-9 จำนวนหกลำซึ่งสนับสนุนโดยเครื่องบินเติมน้ำมันทางอากาศเอนกประสงค์แบบแอร์บัส เอ330 [MRTT] นี่เป็นการปรากฎตัวเป็นครั้งแรกโดยกำลังยุทธ์ทางอากาศจากตะวันออกกลางที่ ‘พิทช์ แบล็ค’ และเป็นการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ด้านกลาโหมที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างออสเตรเลียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” ไอเอชเอส เจดีดับเบิลยู ระบุ

ประเทศไทยก็ก้าวเข้าไปมีส่วนร่วมในการซ้อมรบปีนี้ด้วยเช่นกัน ไอเอชเอส เจดีดับเบิลยู ตั้งข้อสังเกต

“และที่ปรากฎตัวเป็นครั้งแรกก็ยังรวมถึงซาบเจเอเอส-39ซี/ดี กริพเพนจากกองทัพอากาศไทย [RTAF] เครื่องบินหกลำบินจากปีก 701 ที่สุราษฎร์ธานีในตอนใต้ของประเทศไทยไปยังนครดาร์วินผ่านสิงคโปร์และบาหลี อินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมใน ‘พิทช์ แบล็ค’ ครั้งที่ห้าต่อเนื่องของ RTAF” รายงานดังกล่าวระบุ “เป็นครั้งแรกที่เครื่องบินกริพเพนของ RTAF ได้เดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อซ้อมรบ”

CN-235 ทอ.ฝรั่งเศส

“ฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินขนส่งแบบซีเอ็น 235 ที่ประจำการอยู่ที่นิวคาลิโดเนีย ซึ่งเป็นการปรากฎตัวของกองทัพอากาศฝรั่งเศสที่ ‘พิทช์ แบล็ค’ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่พ.ศ. 2547” ไอเอชเอส เจนส์ ระบุ

สหรัฐฯ ส่งบี-52 สตราโตฟอร์เทรส

เครื่องบิน โบอิ้งบี-52 สตราโตฟอร์เทรสของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ขนาดยักษ์ซึ่งเข้าร่วมในพิทช์ แบล็ค 2014 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการป้องกันน่านฟ้า [CBP] ที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ในเกาะกวมนับตั้งแต่พ.ศ. 2547

“โดยการสลับสับเปลี่ยนเครื่องบินหกลำและทหารอากาศ 300 นายผ่าน ฐานทัพอากาศแอนเดอร์สันในเกาะกวม ทุก ๆ สองสามเดือน กองทัพอากาศ [สหรัฐฯ] ยังคงวิสัยทัศน์ซึ่งมองไปข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอเอาไว้ซึ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อเอเชียและแปซิฟิกตะวันตก” โรเบิร์ต เอฟ ดอรร์ รายงานบนดีเฟนส์ มีเดีย เน็ตเวิร์ก [DMN]

บี-52: เครื่องบินแบบบี-52 ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาจากฐานทัพอากาศแอนเดอร์สัน เกาะกวม เคลื่อนไปตาม ลานบินหลังจากลงแตะพื้นที่ฐานกองทัพอากาศออสเตรเลียในนครดาร์วิน

“ระหว่างการพักเป็นการชั่วคราวบนเกาะกวม บรรดาเครื่องบินทิ้งระเบิดต่างก็บินเที่ยวบินปฏิบัติการระยะไกลเหนือพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของมหาสมุทรแปซิฟิก ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของการฝึกซ้อมในออสเตรเลียและนอกฝั่ง ฮาวายและฝึกซ้อมกับภาคส่วนบริการและพันธมิตรพี่น้อง” นายโรเบิร์ต ดอรร์ เขียนไว้

140128-F-YA404-001

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 จอร์จ ลิตเทิล โฆษกเพนตากอน กล่าวว่าเครื่องบินบี-52 สามารถ “ปฏิบัติการในภารกิจหลากหลายได้ ซึ่งรวมถึงการบรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์แบบดั้งเดิมหรืออาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้ระบบนำวิถีอย่างแม่นยำ”

“เราจะทำการบินภารกิจฝึกซ้อมเหล่านี้ต่อไปโดยเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการต่อเนื่องในการยกระดับสถานะทางยุทธศาสตร์ของเราในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” เขากล่าวกับผู้สื่อข่าว

โครงการการป้องกันน่านฟ้า (CBP) คือ “สิ่งที่ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจของโลก” ร.อ. แบนดี เจฟฟรีย์ ต้นหนเรดาร์ฝูงบินทิ้งระเบิดปฏิบัติการรบนอกประเทศ บอกกับ DMN “เรากำลังฝึกซ้อม การคงกำลังของสหรัฐฯ อยู่ที่นี่”

ราล์ฟ วินนี รองประธานองค์กรการประสานงานทางธุรกิจของยูเรเซียน ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. บอกแก่ เอเชีย แปซิฟิก ดีเฟนซ์ ฟอรัม ว่าการคงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศที่กำลังดำเนินไปอยู่ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

“เอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นเครื่องจักรหลักที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกซึ่งได้เริ่มขึ้นใหม่” นายราล์ฟ วินนี กล่าว “ความเชื่อมั่นในการคงไว้ซึ่งความมั่นคงในภูมิภาคโดยมีเส้นทางคมนาคมทางทะเลและอากาศที่ปลอดภัยและมั่นคงเพื่อดำเนินการค้านั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อบรรยากาศที่มีมุมมองในทางที่ดีและการลงทุนเช่นนี้ให้คงอยู่ต่อไปในอนาคต”

แม้ว่าเครื่องบินแบบบี-52 จะได้เข้าประจำการในภารกิจอย่างแข็งขันกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เครื่องบินแบบนี้ก็ใช้อุปกรณ์ที่ล้ำสมัย ซึ่งรวมถึง “ห้องค้นหาเป้าหมายขั้นล้ำยุคและรายการยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบ” ดอรร์ เขียนไว้

“การที่สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่เกิดการสะดุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยได้รับการแจ้งในเวลากระชั้นชิด คือคุณลักษณะสำคัญของปฏิบัติการครั้งนี้” ไมเคิล เลนนาร์ด ผู้นำฝูงบินของ RAAF นักบินเครื่องบินแบบเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท จากฝูงบินที่ 77 กล่าวกับไอเอชเอส เจดีดับเบิลยู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น