วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์ เดอ ปีนา)


ท้าวทองกีบม้า
มารี กีมาร์ เดอ ปีนา
Marie Guimar de Pinha


ท้าวทองกีบม้า.JPG
ท้าวทองกีบม้า: ภาพจากปกหนังสือเรื่อง "ท้าวทองกีบม้า" โดยคึกเดช กันตามระ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกิด

ดอญา มารี กีมาร์ เดอ ปีนา
ประมาณปี
พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา

เสียชีวิต

พ.ศ. 2265
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา

รู้จักในฐานะ

ผู้ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำหรับขนมไทย และได้รับการยอมรับเป็น ราชินีขนมไทย

อาชีพ

หัวหน้าห้องเครื่องต้นในราชสำนักสมัยอยุธยา

ศาสนา

คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก

คู่สมรส

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)

บุตร

จอร์จ ฟอลคอน
ฮวน ฟอลคอน

บิดา มารดา

นายฟานิก กูโยมา
นางเออร์ซูลา ยามาดะ


ขนมหม้อแกง

ฝอยทอง

บ้านวิชาเยนทร์ หรือบ้านหลวงรับราชทูต ที่พำนักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ และท้าวทองกีบม้า ในเมืองลพบุรี

ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (Marie Guimar de Pinha) (พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 - พ.ศ. 2265) ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)[1] เธอเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับทำขนมไทย ประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิเสท ซึ่งได้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่มาเยือนในสมัยนั้น มีผู้ยกย่องว่าท้าวทองกีบม้าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย"


เนื้อหา

 ประวัติ

ท้าวทองกีบม้าคนนี้เกิดที่กรุงศรีอยุธยา ชื่อจริงว่า ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ดอนญ่า ในภาษาสเปนหรือโปรตุเกสแปลว่า คุณหญิง) หรือตองกีมาร์ (Tanquimar) เป็นลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอล[2] โดยมารดาของท้าวทองกีบม้าชื่อ เอิลร์สุลา ยามาดา (Ursula Yamada) หรือหนังสือบางเล่มเรียกว่า เออร์ซูลา ยามาดะ ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพลี้ภัยทางศาสนาเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา [3] ส่วนบิดาชื่อ ฟานิก กูโยมา (Phanick Guimar หรือ Fanik Guyomar) ที่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอลและโปรตุเกสจากอาณานิคมกัว[3] (ปัจจุบันคือรัฐกัว ประเทศอินเดีย)

ครอบครัวของยามาดะเป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนามาก เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ ยายของท้าวทองกีบม้า เคยเล่าว่า เขาเป็นหลานสาวของนักบุญฟรังซิส ซาเวียร์ (Saint Francis Xavier) คริสต์ศาสนิกชนคนแรกของประเทศญี่ปุ่น และนักบุญชื่อดัง โดยได้ประทานศีลล้างบาปและตั้งนามทางศาสนาให้[4]

ราวปี พ.ศ. 2135 ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi, 豊臣 秀吉) ผู้สำเร็จราชการของญี่ปุ่น ต้องการล้มล้างวัฒนธรรมตะวันตก จึงออกพระราชฎีกาในนามของพระจักรพรรดิ์ให้จับกุม ลงโทษ และริบสมบัติชาวคริสต์ ยายของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นชาวคริสต์จึงถูกลงโทษด้วย นางถูกจับยัดใส่กระสอบนำลงเรือมาที่นางาซากิ เพื่อเนรเทศไปยังเมืองไฟโฟ (Faifo) ปัจจุบันคือ ฮอยอัน ในประเทศเวียดนามเพราะมีชาวคริสต์อยู่มาก บนเรือนี่เองที่ทำให้ยายของท้าวทองกีบม้า พบกับตาของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ทั้งสองคนจึงมาตั้งหลักปักฐานที่กรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นประเทศที่ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ และไม่รังเกียจคนต่างศาสนา

ท้าวทองกีบม้า เป็นหญิงสาวที่มีนิสัยเรียบร้อย ซื่อสัตย์ และเคร่งครัดในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะมีเรื่องของมารดาเธอที่ถูกกล่าวหาโดยบาทหลวงชาวอังกฤษผู้หนึ่งว่า ยามาดะ (มารดาของท้าวทองกีบม้า) เป็นสตรีที่ประพฤติไม่เรียบร้อย ชอบคบผู้ชายไม่เลือกหน้า แม้จะแต่งงานกับฟานิกแล้ว ยังแอบปันใจให้ชายอื่นเสมอ โดยเฉพาะหนุ่มโปรตุเกสในค่ายที่ยามาดะอาศัยอยู่ แต่ฟานิกผู้เป็นบิดาของท้าวทองกีบม้ามีผิวดำ แต่มีลูกผิวขาวหลายคนรวมทั้งท้าวทองกีบม้า และทำให้ฟานิกบิดาของท้าวทองกีบม้าถูกชาวยุโรปดูถูกดูแคลนเสมอ อย่างไรก็ตามท้าวทองกีบม้าก็ได้แต่งงานตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี กับคอนสแตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่นิสัยต่างกันมาก ก่อนที่จะแต่งงานกับฟอลคอน ฟอลคอนเคยมีภรรยามาแล้วหลายคน แต่ส่งไปอยู่เมืองพิษณุโลก ส่วนลูกนั้นมารี กีมาร์นำมาเลี้ยงเองเนื่องจากเธอเป็นคนใจบุญสุนทาน เธอรับเลี้ยงเด็กสาวที่ยากจน และเด็กที่มีบิดาเป็นชาวยุโรป และมีมารดาเป็นชาวไทยแต่ถูกทอดทิ้ง เธอนำมาเลี้ยงดูมากมายหลายคน แม้เธอจะมีปัญหาระหองระแหงกับฟอลคอน แต่ก็ยังประคองความรักจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนได้แก่ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2227 และฮวน ฟอลคอน (Juan Phaulkon) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2231 ต่อมาเมื่อสามีนางถูกลงโทษข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และถูกประหารชีวิต ท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวัง และได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวัง ท้าวทองกีบม้าได้ประดิษฐ์ขนมขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา โดยดัดแปลงตำรับเดิมโปรตุเกส และเอาวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีในสยามเข้ามาผสมผสาน ซึ่งหลักๆได้แก่ มะพร้าว แป้งและน้ำตาล จนทำให้เกิดขนมใหม่ที่มีรสชาติอร่อย พระราชวังก็ได้ให้ความชื่นชมมากและถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น

บั้นปลายชีวิต

แม้ท้าวทองกีบม้าจะมีชีวิตในระยะแรกๆ ค่อนข้างลำบาก สามีถูกประหาร ต้องมีชีวิตระหกระเหิน ถูกส่งตัวไปเป็นคนรับใช้ แต่ด้วยความสามารถ และอุปนิสัยดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บั้นปลายชีวิตของเธอจึงสุขสบายและได้รับการยกย่องตามควร ท้าวทองกีบม้ามีอายุยืนถึง 4 รัชกาล คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือและสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สันนิษฐานว่าชื่อตำแหน่ง ทองกีบม้า เพี้ยนมาจากชื่อ ตองกีมาร์ นั้นเอง มีหลักฐานบ่งว่าท้าวทองกีบม้าถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 66 ปี

 ขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าทำขึ้น

ท้าวทองกีบม้า เมื่อเข้าไปรับราชการในพระราชวังได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปรตุเกส ให้เป็นขนมหวานของไทย และเผยแพร่ไปโดยทั่วไป ท้าวทองกีบม้าจึงได้ชื่อเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น มีดังต่อไปนี้

 หมายเหตุ

 ลำดับตระกูล


ฟานิก กูโยมา
ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)
เชื้อพระวงศ์ญี่ปุ่นไม่ปรากฏพระนาม
เออร์ซูลา ยามาดะ
เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์

อ้างอิง

  • คึกเดช กันตามระ. ท้าวทองกีบม้า. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.
  • วรวิทย์ วงศ์สุวรรณ์, ที่นี่เมืองลพบุรี, ปากเพรียวการช่าง : สระบุรี หน้า 167-168
  • ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย, ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก, ศิลปวัฒนธรรม, 2550, ISBN 978-974-323-989-2

 แหล่งข้อมูลอื่น


ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/w


กะหรี่ปั๊บ

กะหรี่ปั๊บ [1] เป็นอาหารสไตล์ตะวันตกผสมกับอินเดีย เริ่มเป็นที่นิยมโดยชาวมุสลิมในประเทศไทย คาดว่าเป็นอาหารที่ถูกคิดค้นโดยโดยท้าวทองกีบม้า โดยตอนแรกชื่อว่า curry puff (พัฟฟ์ผงกะหรี่) ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็น กะหรี่พัฟฟ์ และเพี้ยนเป็นกะหรี่ปั๊บในที่สุด

สถานที่ที่ขึ้นชื่อเรื่องกะหรี่ปั๊บที่มีชื่อเสียง คือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จนกลายเป็นคำขวัญของอำเภอ ที่ว่า "เนื้อนุ่ม นมดี กะหรี่ดัง"[2] และนอกจากนี้ยังมีการทำกระหรี่ปั่บที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย หนัก300 กิโลกรัม โดยใช้เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ลึก 80 เมตร ใช้คนทำ 20 คน และใช้นำมันพืชในการทำ ถึง 2,000 ลิตร ในงานมหกรรมสินค้าราคาถูกและงานกาชาดสระบุรี เมื่อ 28-31 ธันวาคม พ.ศ.2540

 อ้างอิง

ขนมหม้อแกง



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น


ประวัติ

ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่าเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของราชอาณาจักรอยุธยา เพราะเป็นยุคที่ไม่มีศึก สงคราม อีกทั้งยังมีคณะทูต และบาทหลวงจากประเทศต่างๆ เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรอยุธยาเป็นจำนวนมาก ในเวลานี้เองมีขุนนางผู้หนึ่งชื่อคอนสแตนติน ฟอลคอน ผู้ซึ่งเป็นคนฉลาด หลักแหลม และมีไหวพริวในด้านการค้ามากกว่าพ่อค้าใดๆทั้งหมด จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ดำรงตำแหน่ง พยุหเสนา และเป็นตัวกลางทางด้านการค้าของอาณาจักรอยุธยาและประเทศฝรั่งเศส ต่อมาได้แต่งงานกับนางมารี กีมาร์ หรือ ท้าวทองกีบม้า หลังจากที่พระเพทราชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีอาการประชวนหนัก พระเพทราชาจึงได้สั่งประหารชีวิตพระยาวิชาเยนทร์ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ทำให้ท้าวทองกีบม้าถูกนำตัวไปจำคุกเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี จึงถูกปล่อยตัว แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องทำขนมหวานมาส่งในวังตามอัตราที่กำหนดไว้ ด้วยเหตุที่ว่าท้าวทองกีบม้ามีชื่อเสียงในด้านการทำอาหารคาวหวาน เหตุการณ์ในครั้งนี้นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนโฉมหน้าของขนมไทยครั้งสำคัญ เพราะท้าวทองกีบม้าได้เริ่มทำขนมที่ใช้ไข่มาเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมผิง ขนมพล ขนมโปร่ง ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี และ'[[สื่อ:ขนมหม้อแกง]]'ตัวหนา' ด้วยรสชาติของไข่และน้ำตาลซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงได้รับความนิยมชมชอบจากชนชั้นสูงในวัง และได้รับการขนานนามว่า สื่อ:ขนมกุมภมาส'[[ไฟล์:]]ต่อมาเมื่อลูกมือในบ้านของท้าวทองกีบม้าได้แต่งงาน ก็ได้นำสูตรและวิธีการทำขนมหม้อแกงออกมาถ่ายทอด ทำให้ชาวบ้าน คนธรรมดา ได้มีโอกาสรู้จักกับขนมหม้อแกง

เมื่อปีพ.ศ. 2529 จังหวัดเพชรบุรี ได้มีการบูรณะพระนครคีรีให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นทำขนมหม้อแกงที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นออกมาจำหน่าย ทำให้ขนมหม้อแกงเป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี

 ขนมหม้อแกงสมัยก่อน

ขนมหม้อแกงสมัยก่อนจะทำกินกันเฉพาะในงานสำคัญ เช่น งานบวช หรืองานแต่งงาน ซึ่งขนมหม้อแกงนั้นจะถูกอบในเตาถ่านที่ใช้แผ่นสังกะสีมาคลุมบนถาดขนม แล้วใช้ถ่านหรือกาบมะพร้าวจุดไฟ แล้วเกลี่ยให้ทั่วสังกะสี ขนมหม้อแกงจะได้รับความร้อนทั้งด้านบน และด้านล่าง ทำให้หน้าของขนมหม้อแกงมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลทอง

 อ้างอิง



ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org

ฝอยทอง (โปรตุเกส: fios de ovos) [1] เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก [2] โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่ (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส

ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น

 อ้างอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

1 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ