แต่จะมีใครรู้บ้างว่า ลูกชิดที่รับประทานกันมาแต่ตั้งแต่เด็กๆ นี้ จริงๆแล้ว มันเป็นผลไม้ ที่ชื่อว่า ลูกชิดหรือ ว่ามันมาจากต้นอะไรกันแน่ เฉลยเลยละกัน ลูกชิด เป็นผลไม้ ที่ได้มาจากต้นไม้ ที่ชื่อว่า “ต๋าว” หรือ “มะต๋าว”
“ต๋าว” เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่ง เป็นพืชดึกดำบรรพ์ตระกูลปาล์ม ลำต้นสูง ใบเป็นแพกว้าง ให้ความชุ่มเย็น ออกลูกเป็นทะลาย ในแต่ละผลมีเมล็ดใสๆ เรียงชิดกันอยู่ 3 เมล็ด ด้วยเหตุนี้ คนจึงเรียกลูกต๋าวว่า “ลูกชิด” กว่าต้นต๋าวจะเจริญเติบโตออกลูกได้ ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี และเก็บเกี่ยวผลได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ที่สำคัญ พืชชนิดนี้ ไม่สามารถปลูกได้ จะขึ้นเองตามธรรมชาติในป่าดิบชื้นเท่านั้น ลักษณะทางอนุกรมวิธาน ของต๋าว คือ ต๋าวเป็นไม้ป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อะเร็นกา พินนาตา ( ArengapinnataMerr) อยู่ในวงศ์ Palmae พวกเดียวกับมะพร้าว ต้นตาล หรือปาล์มต่างๆ ต้นต๋าว มีถิ่นกำเนิด ดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศอินเดีย ต๋าว มีลักษณะลำต้นตรง ขนาดโตกว่าต้นตาล ใช้ประโยชน์จากทุกส่วน เช่นใบ มีลักษณะเดียวกับมะพร้าว แต่โตและแข็งแรงกว่า นิยมใช้มุงหลังคา กั้นฝาบ้าน ก้านใบนำมาเหลารวมทำไม้กวาด เส้นใยที่ลำต้นใช้ทำแปรง ยอดอ่อนที่ขั้วหัวใช้รับประทานแบบผักสด หรือดองเปรี้ยว เก็บไว้แกงส้ม แกงกะทิ ส่วนผล นำเนื้อในเมล็ดมารับประทาน สด หรือนำไปเชื่อมกับน้ำตาล เพื่อให้ได้รสอร่อยขึ้น
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น