อย่างที่รู้กันแล้วว่า โรคเก๊าท์ เกิดจากการเผาผลาญพิวรีนในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกรดยูริคคั่งในเลือดสูง ตามข้อเล็กๆ และอวัยวะบางแห่ง
ที่อาจมีเกลือโซเดียมยูเรตเกาะอยู่ ทำให้เกิดอาการปวดที่อวัยวะนั้นๆ โดยส่วนมากอาการจะเกิดเป็นครั้งคราว และมักกำเริบมากขึ้น เมื่อบริโภคอาหารพวก นิวคลีโอโปรตีนและไขมันมาก หรือขณะดื่มแอลกอฮอล์และการออกกำลังกาย ก็ทำให้กรดยูริคมากขึ้น ดังนั้น เราจะมาดูกันว่า ถ้าคุณเป็นเก๊าท์ควรจะทานอาหารอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ
ในการรักษาโรคเก๊าท์ จำเป็นต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหาร โดยอาหารที่มีพิวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
-อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
1.นมและผลิตภัณฑ์จากนม
2.ไข่
3.ธัญญพืชต่างๆ
4.ผักต่างๆ
5.ผลไม้ต่างๆ
6.น้ำตาล
7.ผลไม้เปลือกแข็ง (ทุกชนิด)
8.ไขมัน
-อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
1.เนื้อหมู
2.เนื้อวัว
3.ปลากระพงแดง
4.ปลาหมึก
5.ปู
6.ถั่วลิสง
7.ใบขี้เหล็ก
8.สะตอ
9.ข้าวโอ๊ต
10.ผักโขม
11.เมล็ดถั่วลันเตา
12.หน่อไม้
-อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป) *อาหารที่ควรงด
1.หัวใจไก่
2.ไข่ปลา
3.ตับไก่
4.มันสมองวัว
5.กึ๋นไก่
6.หอย
7.เซ่งจี้ (หมู)
8.ห่าน
9.ตับหมู
10.น้ำต้มกระดูก
11.ปลาดุก
12.ยีสต์
13.เนื้อไก่, เป็ด
14.ซุปก้อน
15.กุ้งชีแฮ้
16.น้ำซุปต่างๆ
17.น้ำสกัดเนื้อ
18.ปลาไส้ตัน
19.ถั่วดำ
20.ปลาขนาดเล็ก
21.ถั่วแดง
22.เห็ด
23.ถั่วเขียว
24.กระถิน
25.ถั่วเหลือง
26.ตับอ่อน
27.ชะอม
28.ปลาอินทรีย์
29.กะปิ
30.ปลาซาดีนกระป๋อง
กำหนดอาหาร
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ โดยควรประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้ สารอาหารครบถ้วน และงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากดังกล่าว
1.พลังงาน ผู้ป่วยที่อ้วน จำเป็นต้องจำกัดพลังงานในอาหาร เพื่อให้น้ำหนักลดลงทั้งนี้ เนื่องจากความอ้วน ทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น แต่ต้องระมัดระวังในระยะที่มีอาการรุนแรง ไม่ควรให้อาหารที่มีพลังงานต่ำเกินไป เพราะอาจทำให้มีการสลายของไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะทำให้สารยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้น้อย และอาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ควรอดอาหาร และควรได้พลังงานประมาณวันละ 1,200-1,600 แคลอรี่
2.โปรตีน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารโปรตีนตามปรกติ ไม่เกิน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก
3.ไขมัน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่มีไขมันให้น้อยลง โดยจำกัดให้ได้รับประมาณวันละ 60 กรัม เพื่อให้น้ำหนักลดลง การได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมสารไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ซึ่งการมีสารไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น จะทำให้ขับถ่ายสารยูนิคได้ไม่ดี และพบว่า ผู้ป่วยที่อ้วน และมียูริคในเลือดสูง เมื่อลดน้ำหนักลง กรดยูริคในเลือดจะลดลงด้วย
4.คาร์โบไฮเดรต ควรได้รับให้พอเพียงในรูปของข้าว แป้งต่างๆ และผลไม้ ส่วนน้ำตาลไม่ควรกินมาก เพราะการกินน้ำตาลมากๆ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขับถ่ายสารยูริคด้วย
5.แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้ามากๆ เพราะการเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกรดแลคติคเกิดขึ้น และมีการสะสมแลคเตตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กรดยูริคถูกขับถ่ายได้น้อยลง
การจัดอาหาร
การจัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่แพทย์ให้จำกัดสารพิวรีนอย่างเข้มงวด ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งในด้านโภชนาการ รสชาติ และลักษณะอาหาร เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ตามที่กำหนด และได้รับสารอาหารเพียงพอ
1.ในระยะที่มีอาการรุนแรง ควรงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก ในระหว่างมื้ออาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มากๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไตและป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่ว
2.งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่างๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด และขนมหวาน ที่มีน้ำตาล และไขมันมาก
3.จัดอาหารที่มีใยอาหารมากแก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง
4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้ามีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น
5.อาหารที่มีไขมันมาก จะทำให้ขับกรดยูริคน้อยลง ทำให้มีการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น
ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น