ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ Thailand > เรื่องทั่วๆไปที่คนไทยควรรู้ >
วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
กางเกงแก้ว ป้องกันโรค เมื่อต้องลุยน้ำท่วม
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
จากสภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน ทำให้มีโรคต่าง ๆ ที่มากับน้ำสกปรกมากมาย โดยเฉพาะประชาชนที่ต้องลุยน้ำไปมาบ่อย ๆ หรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติหน้างานในสภาวการณ์เช่นนี้ ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการติดโรคได้สูง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ไทย ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้ในสภาวะน้ำท่วมนี้โดยเฉพาะ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดอัตราเสี่ยงการติดโรคที่มากับน้ำ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ได้ประดิษฐ์คิดค้น "กางเกงแก้ว" (Magic pants) ขึ้น โดยลักษณะของกางเกงแก้วนี้ คือ เป็นกางเกงที่มีขนาดใหญ่ สวมใส่ได้จากเอวถึงอก ช่วยป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ที่มาจากน้ำท่วม เช่น โรคเท้าเปื่อยหรือโรคติดเชื้ออื่น ๆได้ ทั้งยังมีราคาถูก สะดวก สามารถบรรจุในหีบห่อขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา
ส่วนวิธีใช้ก็เพียงแค่สวมใส่เหมือนกางเกง แล้วไล่ลมจากเท้าขึ้นมาถึงเอวโดยให้กางเกงแนบเนื้อ จากนั้นก็ใช้สายรัดเอวผูกให้กระชับกับเอว โดยกางเกงควรใช้ร่วมกันกับรองเท้าบู๊ท เมื่อใช้เสร็จแล้วเพียงผึ่งแดดให้แห้ง ก็จะสามารถนำกางเกงกลับมาใช้ใหม่ได้
อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังในการใช้กางเกงแก้วก็มีอยู่บ้าง คือ ต้องใช้กางเกงแก้วร่วมกับรองเท้าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าบู๊ต รองเท้ายาง หรือรองเท้าแตะ แต่หากสวมใส่กางเกงแก้วกับรองเท้าแตะ ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการเดินในโคลนตม เพราะจะทำให้ยกเท้าไม่ขึ้น ส่งผลให้กางเกงแก้วฉีกขาดได้ และที่สำคัญคือ เมื่อต้องการนำกางเกงแก้วมาใช้ใหม่ ควรแน่ใจว่ากางเกงไม่มีรอยรั่วซึมใด ๆ เพราะหากกางเกงมีรอยรั่วแล้ว กางเกงก็จะหมดสภาพไปในทันที
ทั้งนี้ ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดส่งกางเกงแก้วจำนวน 1,000 ตัว ให้ทางจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่น้ำท่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกางเกงแก้วแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญคือการพยายามหลีกเลี่ยงน้ำสกปรกให้ได้มากที่สุด แต่หากจำเป็นต้องลุยน้ำจริง ๆ ก็ควรแน่ใจว่า เครื่องแต่งกายที่มีอยู่เตรียมพร้อมสำหรับลุยน้ำท่วม เพื่อที่จะไม่ต้องมาติดโรคในภายหลังนั่นเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น