ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ Thailand > เรื่องทั่วๆไปที่คนไทยควรรู้ >
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เป็ดน้อยเตือนภัย : เตือนไว้ก่อนไฟดูด
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก FloodDuck
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่แผ่ขยายวงกว้างไปทุกขณะ ครอบคลุมพื้นที่ในหลาย ๆ จังหวัดในเขตภาคกลาง ทำให้มีข่าวเกี่ยวกับคนที่จมน้ำตายในน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง แต่ส่วนหนึ่งของคนที่จมน้ำเหล่านั้นเกิดเพราะโดนไฟดูดก่อน
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากไฟดูดมีมากถึง 36 ราย ใน 15 จังหวัด แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจมีมากกว่านั้นถึง 2 เท่า นั่นจึงเป็นสาเหตุให้มีการประดิษฐ์คิดค้น "เป็ดน้อยเตือนภัย" ขึ้นมา ซึ่งสามารถนำไปลอยน้ำเพื่อตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่ว ก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม
อ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง คือผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็ดน้อยเตือนภัย ซึ่งมีที่มาจากการคิดว่า นอกจากไขควงเช็คไฟฟ้าแล้ว น่าจะมีอุปกรณ์อย่างอื่นที่มีคุณสมบัติทำได้เช่นกัน และเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันด้วย เมื่อมองไปในอ่างเห็นเป็ดลอยอยู่ ดังนั้น เจ้าเป็ดน้อยเตือนภัยตัวแรกจึงถูกประดิษฐ์ขึ้นมา
หลักการทำงานของเป็ดน้อยเตือนภัยอยู่ที่แท่งตัวนำจำนวน 2 แท่งด้านล่าง ใช้สายไฟหุ้มปลายทองแดงมีลักษณะเหมือนตะเกียบวางห่างกัน และใส่แบบวงจรการตรวจจับกระแสไฟใส่ลงไป โดยรุ่นแรกจะมีเพียงไฟเตือนเท่านั้น ส่วนรุ่นต่อมามีการใช้เครื่องมือวัดเพื่อตรวจสอบไฟในระดับ 1 ใน1000 แอมป์ เมื่อมีแรงดันประมาณ 40 โวลต์ ไฟก็จะสว่างขึ้น แต่หากมีการเพิ่มแรงดันเข้าไปแสงก็จะสว่างขึ้นอีก ทำให้เป็ดน้อยเตือนภัยตัวนี้สามารถตรวจสอบหาแหล่งจ่ายไฟได้ด้วย
ส่วนวิธีใช้เป็ดน้อยก็ง่ายมาก เพียงทำที่แขวนถือไปยังจุดที่จะลุยน้ำไป เป็ดน้อยก็จะสว่างขึ้นเมื่อมีกระแสไฟรั่วไหล หากใช้เสร็จก็หมั่นเช็ดให้แห้ง คอยตรวจสอบรอยน้ำรั่วและแบตเตอรี่ว่ายังคงเหลืออยู่หรือไม่
ขณะนี้ นายกิติพล เชิดชูกิจกุล ส.ก.เขตประเวศ ได้ส่งมอบเป็ดน้อยเตือนภัยให้แก่ กทม. จำนวน 50 ตัว และจะมีการดำเนินงานส่งมอบเป็ดน้อยเตือนภัยจำอีกจำนวน 1,000 ตัว ในโอกาสต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากเกิดน้ำท่วม เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงเข้าไปใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้า และตัดไฟหากเห็นว่าน้ำเริ่มท่วมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะไม่ว่าจะมีเครื่องเตือนภัยที่ดีแค่ไหน แต่เครื่องเตือนภัยที่ดีที่สุดคือ ความไม่ประมาท นั่นเอง
ข่าวน้ำท่วม บริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วม คลิกเลยค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น