วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำท่วมนาน ระวังยุง! หวั่นไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุุกดอทคอม

กระทรวงสาธารณสุข เตือนภาวะน้ำท่วมขังต่อเนื่องนาน ระวังยุงลาย-ยุงรำคาญ ด้าน ผอ.โรคทางสมอง จุฬาฯ หวั่นไวรัสไข้สมองอักเสบ-ไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่แพร่เข้าไทย


เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งประชาชนต้องประสบกับภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้ทุกพื้นที่ในขณะนี้เกิดปัญหายุงแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว และสร้างความดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ ประชาชนจึงต้องระวังยุงลาย ซึ่งก่อโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะในศูนย์พักพิงที่หากมีผู้ป่วยติดเชื้อ อาจแพร่ไปยังคนอื่นได้ ดังนั้น จึงต้องนอนในมุ้ง ทายากันยุงป้องกัน นอกจากนี้ ต้องระวังยุงรำคาญด้วยเช่นกัน เนื่องจากโรคจากยุงรำคาญจะเป็นไข้สมองอักเสบ เท้าช้าง แต่น้อยมาก อย่างไข้สมองอักเสบ ไม่ต้องกังวล เพราะมีการฉีดวัคซีนป้องกันแต่เด็กๆ แล้ว

ณะที่ทางด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สิ่งที่เป็นกังวลมากในเวลานี้ คือ เรื่องของเชื้อโรคที่มียุงเป็นพาหะ โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบที่เกิดจากยุงรำคาญ และไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ ล่าสุด มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการของวงการแพทย์ของแอฟริกาและมาเลเซียว่าพบคนไข้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากยุงลายที่มีสายพันธุ์มาจากป่า (sylvatic) เดิมยุงชนิดนี้จะกัดและปล่อยเชื้อเฉพาะในสัตว์ป่า เช่น ลิง เท่านั้น แต่ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า ผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจากยุงที่มีสายพันธุ์จากป่า ได้อย่างไร เป็นเรื่องของวิวัฒนาการของยุงที่กลายพันธุ์หรือไม่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งค้นคว้าหาข้อมูลอยู่

ส่วนไวรัสไข้สมองอักเสบพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากยุงรำคาญที่ชื่อ เวสต์ ไนล์ ไวรัส (west nile virus) เริ่มระบาดครั้งแรกประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1999 และหลังจากนั้นภายในเวลา 3 ปี ก็ลุกลามทั่วสหรัฐ กระทั่งเวลานี้ได้เริ่มระบาดเข้ามาในภูมิภาคเอเชียแล้ว กลัวว่าช่วงเวลาที่จำนวนยุงรำคาญเพิ่มขึ้นสูง อาจจะมีกลไกบางอย่าง ทำให้ไข้สมองอักเสบพันธุ์ใหม่ระบาดเข้ามาในไทยช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมองได้เตรียมแผนเพื่อรองรับการระบาดของทั้งสองโรคนี้เอาไว้แล้ว


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น