ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ Thailand > เรื่องทั่วๆไปที่คนไทยควรรู้ >
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ถาม-ตอบเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5,000 บาท
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
จากเหตุอุทกภัย 54 ได้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมาก ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นการนำถุงยังชีพไปแจกจ่าย หรือการให้ความช่วยเหลือในการเดินทาง ที่พักพิง และอีกหนึ่งของการให้ความช่วยเหลือนั่นคือ เงินช่วยผู้ประสบภัยจำนวน 5,000 บาท แต่ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือดังกล่าวขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ทางรัฐบาลและจังหวัดได้กำหนดไว้ ซึ่งอาจทำให้หลายคนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือ หรือการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือ ... วันนี้ทีมงานกระปุกดอทคอม จึงขอรวมข้อสงสัย และหาคำตอบมาเฉลยค่ะ
1. ถ้าบ้านน้ำท่วมต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน?
ตอบ : ผู้ประสบภัยน้ำท่วมสามารถยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานเขต ในเขตที่พักอาศัยที่ถูกน้ำท่วมเท่านั้น ไม่สามารถยื่นข้ามเขตได้ ในกรณีอยู่ต่างจังหวัด ให้ยื่นที่ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้วแต่พื้นที่
2. ในกรณีที่บ้านอยู่ในพื้นที่เขตน้ำท่วม จะต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน หรือสามารถรอจนกว่าน้ำจะลดจึงไปขอยื่นเรื่องได้
ตอบ : ในกรณีที่อยู่ในบริเวณน้ำท่วมสามารถโทรสอบถามกับสำนักงานเขต ว่าเขตเปิดทำการหรือไม่ ถ้าสำนักงานเขตนั้นน้ำท่วม จะมีการย้ายที่ทำการชั่วคราวไปเขตอื่น โดยสามารถไปยื่นเรื่องตามเขตที่ทำการชั่วคราวได้
3. มีกำหนดระยะในการยื่นเอกสารหรือไม่ และถ้ามีถึงเมื่อไหร่
ตอบ : ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดปิดการยื่นเอกสาร หรือกำหนดระยะการช่วยเหลือ แต่ทั้งนี้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยงวดแรกจะออกวันที่ 20 ธันวาคม 2554 หากเขตไหนที่มีผู้ยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก อาจจะทำให้จำเป็นต้องจ่ายเงินในงวดถัดไป ซึ่งขึ้นอยู่กับการดำเนินเรื่องของเขตที่อาศัย ทั้งนี้ หากมีการดำเนินการยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร ภายใน 45 วัน
4. เอกสารและหลักฐานในการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือน้ำท่วม
ตอบ : 1.สำเนาทะเบียนบ้าน 2.สำเนาบัตรประชาชน 3.รูปถ่ายบ้านที่ถูกน้ำท่วม โดยให้เจ้าบ้านเป็นผู้ไปยื่น ถ้าเจ้าบ้านไม่สะดวกให้เขียนใบมอบอำนาจ ให้ญาติ หรือลูกหลาน ไปยื่นแทนได้ หลักฐานเพิ่มเติมการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือแยกเป็นกรณี ๆ ดังนี้
1. กรณีบ้านเช่า ให้ใช้สัญญาเช่า หรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. บ้านพักอาศัยที่ประสบอุทกภัยนอกเหนือจากบ้านเช่าและบ้านที่มีทะเบียนบ้าน
- ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่นร่วมกับผู้นำชุมชนตรวจสอบข้อเท็จจริง
- ให้ (1) กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน (2) ผู้บริหารท้องถิ่น
และ (3) ผู้นำชุมชน ลงนามรับรองความเป็นผู้ประสบภัย อย่างน้อย 2 ใน 3
3. กรณีอื่น ๆ เช่น บ้านพักคนงานให้ดำเนินการและใช้หนังสือรับรอง เช่นเดียวกับข้อ 2 การรับรองการเช่าบ้านตามข้อ 1 หรือที่อยู่อาศัยตามข้อ 2 และ 3 ให้พิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่หรือตามข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็นหนังสือและมีผู้รับรองตามที่กำหนด จัดเก็บไว้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นหลักฐานพร้อมรับการตรวจสอบ
5. กรณีที่ไม่มีหลักฐาน หรือเอกสารมาแสดง สามารถไปกรอกแบบฟอร์มการรับเงินก่อนได้หรือไม่
ตอบ : สอบถามรายละเอียดได้ที่เขตที่ท่านอาศัยอยู่ได้โดยตรง ว่าสามารถแก้ไขปัญหาอย่างไรได้บ้าง
6. ในส่วนของรูปถ่าย ถ้าไม่มีเนื่องจากไม่ได้ทำการถ่ายไว้ก่อนอพยพ หรือในช่วงน้ำท่วม จะได้รับเงินช่วยเหลือหรือไม่
ตอบ : กรณีที่ไม่มีรูปถ่ายบ้านน้ำท่วม เจ้าบ้านสามารถมากรอกเอกสารที่เขตไว้ก่อน โดยทางเจ้าหน้าที่จากเขตจะลงพื้นที่สำรวจถ่ายรูปความเสียหายเพิ่มเติมให้ ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เขตที่อาศัยของท่านได้โดยตรง
7. สำนักงานเขตสามารถให้ยื่นเรื่องในเวลาทำการเท่านั้นหรือไม่ หรือสามารถยื่นนอกเวลาทำการได้
ตอบ : ยื่นในเวลาทำการเท่านั้น
8. ในกรณีถ้าอยู่หอพัก และพักอยู่ชั้น 1 และน้ำท่วมห้องพัก กรณีนี้จะได้เงินชดเชยหรือไม่
ตอบ : หอพักที่อาศัยต้องจดสัญญาห้องเช่า หากน้ำท่วมห้องพักไม่ว่าจะอยู่ชั้นใดก็ตาม ก็สามารถรับเงินช่วยเหลือได้ แต่ถ้าในกรณีที่ห้องพัก หรือห้องเช่านั้นไม่ได้จดทะเบียน ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือแค่อาคารนั้น 1 สิทธิ์ เท่านั้น ไม่สามารถแยกขอเป็นกรณีห้องพักได้
9. กรณีที่หอหัก หรืออพาร์ทเมนท์น้ำท่วม แต่ที่ห้องน้ำไม่ท่วม แต่เดือดร้อนเหมือนกัน จะได้รับเงินชดเชยหรือไม่
ตอบ : กรณี้นำท่วมหอพัก แต่ไม่ท่วมห้องพัก จะไม่ได้รับเงินชดเชย ต้องน้ำท่วมเท่านั้นถึงสามารถทำเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า หอพักนั้นได้จดสัญญาเป็นห้องเช่าหรือไม่ (ดังข้อ 7 ค่ะ)
10. พื้นที่น้ำท่วมในแต่ละจังหวัดได้เงินชดเชยเท่ากันหรือไม่ ทั้งนี้เห็น กทม. ได้ 6,500 บาท แล้วกรณีต่างจังหวัดอย่างนครสวรรค์ อยุธยา ปทุมธานี หรือจังหวัดอื่น ๆ จะได้เงินชดเชยเท่าไหร่
ตอบ : ในกรณีของ กทม. ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็น 6,500 บาท เพราะเงินส่วนต่างที่ได้มากกว่าต่างจังหวัดเป็นงบประมาณของ กทม. เอง ซึ่งจะช่วยผู้ประสบภัยเพิ่มสิทธิ์ละ 1,500 บาท แต่ทั้งนี้ ทาง กทม. เองก็ต้องรอผ่านการประชุมของผู้บริหาร กทม. ว่าจะอนุมัติเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ในส่วนของต่างจังหวัดก็จะได้รับเงินช่วยเหลือตามเกณฑ์ที่ระบุไว้คือ 5,000 บาท
11. พื้นที่ประสบภัยจังหวัดไหนบ้าง ที่ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท
ตอบ : บ้านเรือนของราษฎรและทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย ตาก น่าน นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร พะเยา เพชรบูรณ์ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย บึงกาฬ สกลนคร หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครปฐม สระบุรี จันทบุรี ระยอง สระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และ กทม.
12. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมมีอะไรบ้าง
ตอบ : หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยต้องเป็นบ้านเรือนที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ใน 3 กรณี ดังนี้
1. น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- บ้านพักอาศัยจะต้องถูกน้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน
- บ้านพักอาศัยจะต้องทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- บ้านพักอาศัยจะต้องอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
2. บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- บ้านพักอาศัยจะต้องถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน
- บ้านพักอาศัยจะต้องทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- บ้านพักอาศัยจะต้องอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
3. บ้านพักอาศัยได้รับความเสียหายจากอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม
- บ้านพักอาศัยจะต้องได้รับความเสียหายจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม
- อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
ทั้งนี้ 3 กรณี ต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่ท้องถิ่นออกให้เท่านั้น
หมายเหตุ : กรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้าซ้อนทั้ง 3 กรณี ให้ได้รับการช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว
13. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยเป็นประจำที่จะได้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีลักษณะอย่างไร
ตอบ : ลักษณะของบ้านพักที่ผู้ประสบภัยจะได้รับเงินช่วยเหลือมีดังนี้
1. บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและถูกน้ำท่วม
2. บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ ในกรณีบ้านพักอาศัย / บ้านเช่ามีหลายชั้น ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเฉพาะชั้นที่น้ำท่วมถึงเท่านั้น โดยบ้านเช่านั้นอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้องหรือเช่าทั้งหลัง มีทะเบียนบ้าน หรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้
3. อื่น ๆ เช่น ที่พักอาศัยซึ่งประสบอุทกภัยนอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 เช่น ที่อยู่อาศัยที่เป็นสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีลักษณะถาวรหรือชั่วคราวที่ครัวเรือนใช้เป็นที่พักอาศัยอยู่เป็นประจำโดยไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน
14. รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือผ่านทางธนาคารออมสิน ในกรณีที่ไม่มีบัญชีที่ธนาคารออมสินผู้ประสบภัยต้องไปทำเรื่องเปิดบัญชีก่อนหรือไม่
ตอบ : ประชาชนสามารถรับเป็นเงินสดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชี โดยการยื่นสำเนาบัตรประชาชนแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารในวันรับเงิน
15. อยากทราบเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยของธนาคารออมสินว่ามีขั้นตอนการจ่ายเงินอย่างไร
ตอบ : เมื่อมีการโอนเงินให้ธนาคารออมสินในสาขาจังหวัดใดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดนั้น ๆ จัดทำแผนการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยด่วนที่สุด หลังจากได้รับการโอนเงิน และธนาคารออมสินจะทาการจ่ายเงิน ณ ที่ทำการสาขา และจัดหน่วยเคลื่อนที่เพื่อไปจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิ โดยผู้รับเงินจะต้องนาเอกสารไปแสดง ดังนี้
1. กรณีมารับด้วยตนเอง ให้นำบัตรประจาตัวประชาชนฉบับจริงไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน และให้ลงลายมือชื่อรับเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน ประกอบกันด้วย กรณีไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง
2. หนังสือมอบฉันทะ (ผู้รับมอบฉันทะสามารถรับมอบได้เพียงรายเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถมอบฉันทะต่อได้)
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ กรณีบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ให้ไปขอสำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชนที่สำนักทะเบียนทุกแห่ง เพื่อใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน หรือใช้หลักฐานการแจ้งความกรณีบัตรประจำตัวประชาชน สูญหายมาแสดงได้ หากผู้มีสิทธิไม่สามารถมารับเงินช่วยเหลือได้ในวันที่กำหนด ให้ไปยื่นขอรับเงินได้ ณ ที่ทำการธนาคารออมสินทุกสาขาในวันและเวลาเปิดทาการ
หมายเหตุ : ในการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามแผนการจ่ายเงินที่จังหวัดได้ประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสินสาขาจังหวัดและตำรวจภูธรจังหวัด และให้ธนาคารออมสินจัดทำรายงานการจ่ายเงินที่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในแต่ละวันส่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อรายงาน คอส. ต่อไป
16. การจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม มีการสัดสรรหรือแบ่งการให้ความช่วยเหลืออย่างไร แล้วผู้ประสบภัยสามารถติดตามเรื่องการรับเงินช่วยเหลือได้ที่ไหน อย่างไร
ตอบ : การจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จะมีการจ่ายตามทะเบียนบ้าน โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร การให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านของท่าน
ทั้งนี้ สามารถสอบถามเกี่ยวกับความช่วยเหลือเงินช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่สายด่วน ศปภ. 1111 กด 5 หรือ สายด่วน มหาดไทย 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น