ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ Thailand > เรื่องทั่วๆไปที่คนไทยควรรู้ >
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เหนื่อย คลื่นสูง 40 ซม. ตีโต้ ทำน้ำเหนือระบายลงทะเลได้ช้า
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ดร.รอยล เผยเพราะมีคลื่นทะเลตีกลับสูง 40 ซม. กระทบการระบายน้ำจ่อช้ากว่าเดิม 2-3 อาทิตย์ ด้านผอ.ชลสมุทรสาคร รับข่าวคลื่นสูงกระทบต่อภาคการลงทุน-อุตสาหกรรม
วานนี้ (22 พฤศจิกายน) มีการจัดงานเสวนาธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการน้ำ โดยได้เชิญผู้เข้าร่วมเสวนา เช่น นายรอยล จิตรดอน กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) นายพิสิษฐ์ พิบูลย์ศิริ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสมุทรสาคร และตัวแทนภาคประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน อาทิ นายสุพจน์ ภูมิใจกุลวัฒน์ ประธานสภาพัฒนาสังคมภาคประชาชน กทม. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ตัวแทนภาคประชาชนใน จ.นนทบุรี ร่วมพูดคุยปัญหาน้ำท่วมและแนวทางแก้ไข
ในการเสวนานี้ นายรอยลได้เสนอข้อแนะนำ จากปัญหาน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ที่ย้อนกลับเข้าท่วมพื้นที่แม้ว่าจะมีการระบายน้ำออกแล้วก็ตาม จึงอยากเสนอให้ชาวบ้านใช้วิธีแก้ปัญหาเหมือนที่เคยใช้กับน้ำในคลองบางเขน คือ การทำหูช้าง ด้วยการใช้เรือขนาดใหญ่ปิดปากคลองบางกอกน้อย เมื่อน้ำทะเลลงก็จะเปิดทางให้น้ำไหล เมื่อน้ำทะเลหนนุนสูงก็จะนำเรือขนาดใหญ่นั้นเคลื่นมาปิดกั้นทางน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำทะเลไหลเข้าสู่พื้นที่ ซึ่งหากทำได้ก็จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เช่น อ.บางบัวทอง และพื้นที่ผั่งตะวันตกของกทม.
นอกจากนี้ นายรอยลยังได้แสดงความเป็นห่วงถึงอาจจะมีปัจจัยที่จะซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลง เพราะขณะนี้ปริมาณน้่ำเหนือยังมากอยู่ แต่ก็กำลังจะมีคลื่นกระฉอก หรือ ปรากฏการณ์คลื่นเซซ (คลื่นในทะเล) ขึ้นมาสูงกว่า 40 ซม. ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะลม ที่สมัยก่อนเรียกว่า ลมสลาตัน เดิมคิดว่าหากลมหนาวมาน้ำทะเลจะลด แต่ข้อเท็จจริงพบว่า โต้ลมหนาวกลับคืนไป ทำให้น้ำทะเลยังไม่ลดลง นอกจากนี้ลมสลาตันที่พบ ถือว่าเกิดขึ้นเป็นปีแรก และจะสร้างผลกระทบหนักในบางพื้นที่ที่ไม่มีป่าชายเลน เช่น ในบางจุดของเขตบางขุนเทียน เพราะป่าชายเลนนั้นสามารถเป็นตัวหน่วงน้ำทะเลช่วงน้ำขึ้นได้
นายรอยล ยังกล่าวต่อว่า ข้อมูลที่กล่าวมานี้สามารถพูดในที่เสวนานี้ได้ แต่หากพูดออกไปสาธารณะ อาจทำให้ทุกคนตระหนก แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทำไมถึงระบายน้ำไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ได้ตั้งเป้าหมายในการระบายน้ำท่วมไว้ว่า จะเปิดประตูระบายน้ำออกไปทะเล แต่อยู่ดี ๆ ก็มีลมทางอ่าวไทยได้ตีโต้ และหนุนน้ำทะเลขึ้นมาอีก 40 ซม. ซึ่งจากเดิมที่คาดว่าประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนจะระบายน้ำออกไปได้หมด แต่เมื่อมีคลื่นเซซเข้ามา อาจทำให้การระบายน้ำเหนือที่ค้างอยู่ได้ทั้งหมด ช้าสุด สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ธันวาคม
อย่างไรก็ตาม ก็มีส.ว.หลายคนที่เข้าร่วมเสวนาท้วงถามว่า ทำไมถึงไม่เผยแพร่ข้อมูลเช่นนี้ ทำให้ นายพิสิษฐ์ พิบูลย์ศิริ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสมุทรสาคร กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรมได้ เพราะขณะนี้นักลงทุนมาดูพื้นที่ของประเทศไทยเสมอ ซึ่งหากพบว่ามีคลื่นสูงอาจทำให้เกิดปัญหาต่อภาคอุตสาหกรรมได้
ทางด้านายสรรเสริญ เรืองฤทธิ์ ผู้แทนสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นไปได้ว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงที่สุดอีกครั้งช่วงวันที่ 27-28 พฤศจิกายนนี้ จึงไม่สามารถที่จะระบายน้ำออกไปจากพื้นที่ได้รวดเร็ว ส่วนปัญหาของพื้นที่ จ.นนทบุรีนั้น ต้องยอมรับว่า จ.นนทบุรีไม่ได้มีการวางแผนรับมือกับน้ำท่วมเหมือน กทม. ดังนั้นอยากขอให้ชาวนนทบุรีอดทน เพราะขณะนี้ทางหน่วยงานได้เร่งหาทางบรรเทาปัญหาอย่างเร่งด่วนแล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น